Interdisciplinary Academic and Research Journal最新文献

筛选
英文 中文
แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-07-22 DOI: 10.60027/iarj.2024.276855
จันทประภา ปะกายะ, ทวีศิลป์ กุลนภาดล
{"title":"แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู","authors":"จันทประภา ปะกายะ, ทวีศิลป์ กุลนภาดล","doi":"10.60027/iarj.2024.276855","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276855","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: โรงเรียนเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการจัดการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้แก่ผู้เรียน โดยมุ่งหวังให้บุคลากรทำงานอย่างมีความสุข ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและบรรยากาศองค์องค์การในสถานศึกษาจึงมีส่วนสำคัญในการเสริมความสุขในองค์การสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา บรรยากาศองค์การในสถานศึกษา และความสุขในการทำงานของครู 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและบรรยากาศองค์การในสถานศึกษากับความสุขในการทำงานของครู 3) เพื่อศึกษาแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 191 คน โดยได้จากการเปิดตารางสำเร็จรูปเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970) โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยใช้ขนาดโรงเรียนเป็นระดับชั้น (Strata) แล้ววิธีจับสลากจำนวนครูตามสัดส่วนของโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการถดถอยพหุคูณแบบวิธีการนำตัวแปรเข้าทั้งหมด\u0000ผลการวิจัย: 1) ระดับแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ระดับบรรยากาศองค์การในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และระดับความสุขในการทำงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและบรรยากาศองค์การในสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของครู ในภาพรวมพบว่า ตัวแปรทั้งหมดมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ระหว่าง -.087 ถึง .635 3) แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาร่วมกันพยากรณ์ตัวแปรความสุขในการทำงานของครู ได้ร้อยละ 37.30 (R2 = .373)\u0000สรุปผล : ผลวิจัยสรุปว่า ระดับแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับบรรยากาศองค์การในสถานศึกษา และระดับความสุขในการทำงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและบรรยากาศองค์การในสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของครู และแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาร่วมกันพยากรณ์ตัวแปรความสุขในการทำงานของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"5 3","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-07-22","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141816002","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การเสริมสร้างพลังแห่งการฟื้นตัวจากภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาด้วยการฝึกเมตตาภาวนา ตามหลักพระพุทธศาสนา การเสริมสร้างพลังแห่งการฟื้นตัวจากภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาด้วยการฝึกเมตตาภาวนา ตามหลักพระพุทธศาสนา
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-07-22 DOI: 10.60027/iarj.2024.277226
ปริยา ศุภวงศ์, ธนภณ สมหวัง
{"title":"การเสริมสร้างพลังแห่งการฟื้นตัวจากภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาด้วยการฝึกเมตตาภาวนา ตามหลักพระพุทธศาสนา","authors":"ปริยา ศุภวงศ์, ธนภณ สมหวัง","doi":"10.60027/iarj.2024.277226","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277226","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: เมื่อนักศึกษากำลังเติบโตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ วัยที่เต็มไปด้วยความรับผิดชอบและความคาดหวัง การเติบโตนี้จึงมาพร้อมกับจำนวนปัญหาที่มากขึ้นและขนาดของอุปสรรคที่ใหญ่ขึ้น นักศึกษาหลายคนไม่สามารถปรับตัวได้ หรืออาจปรับตัวได้ช้าจนก่อให้เกิดความเครียดเรื้อรังและกลายเป็นภาวะซึมเศร้าในที่สุด บทความนี้จึงเป็นการนำเสนอวิธีการเสริมสร้างพลังแห่งการฟื้นตัว (Resilience) ด้วยการฝึกเมตตาภาวนาตามหลักพุทธศาสนา เพื่อป้องกันภาวะอาการซึมเศร้าที่เมื่อนานวันไปจะกลายเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งพบเพิ่มมากขึ้นทุกปีจากใบลาป่วยของนักศึกษาที่วินิจฉัยรับรองโดยแพทย์เฉพาะทาง  \u0000ระเบียบวิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง จากนั้นทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามประเด็นวัตถุประสงค์การศึกษาและใช้วิธีการนำเสนอเชิงพรรณนาความ\u0000สรุปผล: ด้วยการฝึกสมาธิด้วยความเมตตาและปฏิบัติตามหลักคำสอนของพุทธศาสนา นักเรียนสามารถเสริมสร้างความยืดหยุ่นและเอาชนะภาวะซึมเศร้าได้ ลักษณะเชิงบวก เช่น การตระหนักรู้ในตนเอง ความพึงพอใจ และความขอบคุณ ได้รับการส่งเสริมโดยการฝึกฝนนี้ และจะปรับปรุงความสามารถในการปรับตัวและมนุษยสัมพันธ์ซึ่งมีความสำคัญต่อความยืดหยุ่น","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"10 12","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-07-22","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141816450","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ของชุมชนในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ของชุมชนในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-07-22 DOI: 10.60027/iarj.2024.276931
วีระ วีระโสภณ, บัว ศรีคช
{"title":"การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ของชุมชนในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี","authors":"วีระ วีระโสภณ, บัว ศรีคช","doi":"10.60027/iarj.2024.276931","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276931","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ณ อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี (2) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วม และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารกับการมีส่วนร่วมของชุมชน\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยเชิงปริมาณนี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน จากประชากร 6,260 คน ในอำเภอบ้านแหลม ได้มาจากการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือคือแบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่น 0.879 ข้อมูลถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน ได้แก่ t-test และ ANOVA\u0000ผลการวิจัย: พบว่าระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยชุมชนมีส่วนร่วมมากในการหาสาเหตุปัญหา แต่ระดับการมีส่วนร่วมในขั้นตอนอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่า ลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ อายุและอาชีพ ในขณะที่การรับรู้ข่าวสารไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ\u0000สรุปผล: ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนนั้น ไม่เพียงแต่ต้องให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลข่าวสารเท่านั้น แต่ยังต้องสร้างความตระหนัก จิตสำนึก แรงจูงใจ และเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ชุมชน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อายุและอาชีพ เพื่อให้ทุกภาคส่วนในชุมชนสามารถมีบทบาทได้อย่างเหมาะสมและใช้ศักยภาพได้อย่างเต็มที่ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนในระยะยาว","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"13 4","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-07-22","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141817144","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
ความพร้อมในการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามกรอบการประเมิน PISA 2025 ของครูสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ความพร้อมในการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามกรอบการประเมิน PISA 2025 ของครูสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-07-22 DOI: 10.60027/iarj.2024.276485
อุลัยวรรณ์ สีอ่อน, จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ, ดารุณี ทิพยกุลไพโรจน์
{"title":"ความพร้อมในการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามกรอบการประเมิน PISA 2025 ของครูสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร","authors":"อุลัยวรรณ์ สีอ่อน, จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ, ดารุณี ทิพยกุลไพโรจน์","doi":"10.60027/iarj.2024.276485","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276485","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การเตรียมความพร้อมของครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อปรับตัวตามกรอบการประเมิน PISA 2025 เป็นกระบวนการที่สำคัญและน่าสนใจอย่างมาก เพื่อให้ครูมีความพร้อมที่จะสอนและสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนในโลกดิจิทัล การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความพร้อมของครูสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ในการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ตามกรอบการประเมิน PISA 2025 และ (2) เปรียบเทียบความพร้อมของครูสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ในการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ตามกรอบการประเมิน PISA 2025 ระหว่างครูที่มีวิชาที่สอนแตกต่างกัน\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: ประชากร คือ ครูที่สอนวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.963 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน\u0000ผลการศึกษา: (1) ในภาพรวมครูสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร มีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ตามกรอบการประเมิน PISA 2025 อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยคะแนนคิดเป็นร้อยละ 76.16 ของคะแนนเต็ม) (2) ความพร้อมของครูสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ที่มีวิชาที่สอนแตกต่างกัน พบว่า ครูที่สอนวิชาคอมพิวเตอร์ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความพร้อมในการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ตามกรอบการประเมิน PISA 2025 สูงกว่าครูที่สอนวิชาอื่นๆ ซึ่งถือว่ามีความพร้อมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยคะแนนคิดเป็นร้อยละ 83.56 ของคะแนนเต็ม)\u0000สรุปผล: ด้วยคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 76.16 การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าครูมีความพร้อมเพียงปานกลางเท่านั้นในการนำการศึกษา STEM ไปปฏิบัติภายในกรอบการประเมิน PISA 2025 ในทางกลับกัน ผู้ที่สอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ได้คะแนน 83.56 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าอย่างเห็นได้ชัดและบ่งชี้ถึงระดับความสามารถที่โดดเด่นซึ่งเอื้ออำนวยต่อความสำเร็จในการบูรณาการ STEM ในการสอน","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"29 50","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-07-22","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141813915","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์ สื่อสร้างสรรค์จากวัสดุภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์ สื่อสร้างสรรค์จากวัสดุภูมิปัญญาท้องถิ่น
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-07-22 DOI: 10.60027/iarj.2024.276823
ทิพย์อักษร พุทธสริน
{"title":"การพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์ สื่อสร้างสรรค์จากวัสดุภูมิปัญญาท้องถิ่น","authors":"ทิพย์อักษร พุทธสริน","doi":"10.60027/iarj.2024.276823","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276823","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การส่งเสริมรากฐานของการพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) กับเด็กปฐมวัยให้เกิดการพัฒนาศักยภาพในการเจริญเติบโตและเรียนรู้อย่างเหมาะสม โดยมีการซึมซับภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมให้สืบทอดต่อไป การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์สื่อสร้างสรรค์จากวัสดุภูมิปัญญาท้องถิ่น\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: ผู้วิจัยได้ใช้แบบแผนการวิจัย One - Group Pretest -Posttest Design กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ เด็กปฐมวัยโรงเรียนเทศบาล 1 (วิทยานารี) อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สื่อสร้างสรรค์จากวัสดุภูมิปัญญาท้องถิ่น และแบบสังเกตทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือโดยค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างลักษณะพฤติกรรมกับจุดประสงค์ จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ซึ่งได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.96  และวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test dependent\u0000ผลการวิจัย: กลุ่มทักษะพื้นฐานก่อน/หลังจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ระดับปานกลาง/ระดับมากที่สุด  กลุ่มทักษะกำกับตัวเองก่อน/หลังจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ระดับปานกลาง/ระดับมากที่สุด กลุ่มทักษะปฏิบัติก่อน/หลังจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ระดับปานกลาง/ระดับมากที่สุด หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\u0000สรุปผล:  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการกิจกรรมเสริมประสบการณ์สื่อสร้างสรรค์จากวัสดุภูมิปัญญาท้องถิ่นมีทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ที่สูงขึ้น","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"18 6","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-07-22","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141814575","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-07-05 DOI: 10.60027/iarj.2024.279211
นิฟาตีฮะ ปัตนวงศ์, เนตรวดี เพชรประดับ, นันทิกานต์ ประสพสุข
{"title":"ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์","authors":"นิฟาตีฮะ ปัตนวงศ์, เนตรวดี เพชรประดับ, นันทิกานต์ ประสพสุข","doi":"10.60027/iarj.2024.279211","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.279211","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์ : การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สามารถแก้ปัญหาแนวโน้มจำนวนนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 – 2566 ในหลักสูตรลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีหลัง จำนวน 70 คน, 56 คน, 48 คน และ 48 คน ตามลำดับ และสามารถพัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษาและเพิ่มจำนวนผู้เข้าศึกษาในอนาคตได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2) เพื่อเป็นแนวทางในการรับนักศึกษาของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาใหม่ชั้นปีที่ 1 และนักศึกษาปัจจุบันชั้นปีที่ 1-4 หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 166 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ใช้แบบสอบถาม 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป, ปัจจัยการตัดสินใจ, ข้อเสนอแนะ และใช้มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น การเก็บข้อมูล เป็นการชี้แจงวัตถุประสงค์ เก็บแบบสอบถามครบ 166 ชุด ประเมินผลปัจจัยการตัดสินใจเลือกเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรม Jamoviวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน\u0000นำผลวิเคราะห์ไปใช้หาแนวทางในการรับนักศึกษาต่อไป\u0000ผลการศึกษา : วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อหาแนวทางในการรับนักศึกษา ปัจจัยสำคัญที่พบ\u0000ด้านสิ่งสนับสนุนและสิ่งอำนวยความสะดวก คือการมีทุนสนับสนุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีฐานะยากจน ด้านภาพลักษณ์และชื่อเสียง คืออาจารย์ผู้สอนมีวุฒิการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับ ความสามารถในการพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้นักศึกษา และแนวทางในการรับนักศึกษา ควรจัดสรรทุนการศึกษาเพิ่มเติมสำหรับนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อจัดหาทุนการศึกษาเพิ่มเติม จัดโครงการทุนทำงานระหว่างเรียนภายในมหาวิทยาลัย เพิ่มโอกาสการฝึกงานและสหกิจศึกษาที่มีค่าตอบแทน สนับสนุนการทำธุรกิจขนาดเล็กของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย\u0000สรุปผล : แนวทางในการรับนักศึกษาที่นำเสนอมุ่งเน้นการแก้ปัญหาด้านการเงินและการสนับสนุนทุนการศึกษา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกเรียน โดยยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านอุปกรณ์การเรียนการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ควบคู่กันไป","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":" 2","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-07-05","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141674428","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
ผลของการสอนโดยใช้วิธีสอน OK5R ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลของการสอนโดยใช้วิธีสอน OK5R ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-07-05 DOI: 10.60027/iarj.2024.276858
ใจฝัน ศิลปศร
{"title":"ผลของการสอนโดยใช้วิธีสอน OK5R ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6","authors":"ใจฝัน ศิลปศร","doi":"10.60027/iarj.2024.276858","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276858","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การอ่านเพื่อความเข้าใจเป็นการอ่านที่มีความสำคัญสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เนื่องจากช่วยให้นักเรียนสามารถแปลตัวอักษร คำ ข้อความ และประโยคอย่างเข้าใจ จนสามารถจับใจความของเรื่องที่อ่านได้ รวมถึงสามารถสรุปสาระสำคัญในแง่มุมต่าง ๆ เช่น การเปรียบเทียบ คาดเดาเหตุการณ์ วิเคราะห์เจตนาของผู้เขียน และข้อคิดที่ได้รับจากเรื่องที่อ่าน ทั้งนี้ วิธีสอน OK5R เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้นักเรียนได้เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ ทำให้สามารถเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการสอนโดยใช้วิธีสอน OK5R\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแสนรัก (นามสมมติ) อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test (Dependent Samples) ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีสอน OK5R หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01\u0000ผลการวิจัย: ผลการสอนโดยใช้วิธีสอน OK5R มีผลต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทำให้ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าวิธีสอน OK5R สามารถนำมาใช้พัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนได้ เพราะมีลำดับขั้นตอนการจัดกิจกรรมที่ชัดเจน อีกทั้ง มีความน่าสนใจ ประกอบกับความหลากหลายของกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาความสามารถในการอ่านของนักเรียนได้เป็นอย่างดี\u0000สรุปผล: การศึกษาแสดงให้เห็นว่าทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จะดีขึ้นอย่างมากเมื่อใช้วิธีการสอน OK5R สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าแนวทางดังกล่าวทำงานได้ดีเพียงใดในการส่งเสริมการพัฒนาทักษะผ่านกิจกรรมที่วางแผนไว้และน่าสนใจ","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":" 12","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-07-05","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141675239","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับห้องเรียนโรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับห้องเรียนโรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-07-02 DOI: 10.60027/iarj.2024.276197
วัชระ คงแสนคำ
{"title":"รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับห้องเรียนโรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น","authors":"วัชระ คงแสนคำ","doi":"10.60027/iarj.2024.276197","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276197","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การวิจัยรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ระดับห้องเรียน โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น เพื่อนำมาใช้ในพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน พร้อมการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ และมีมาตรฐานการจัดการศึกษา ระดับห้องเรียน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนแวงใหญ่ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ระดับห้องเรียน โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม 3) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ระดับห้องเรียน โรงเรียนแวงใหญ่ และ 4) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ระดับห้องเรียน โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ (Operations Research) ประชากร ได้แก่ ครู จำนวน 41 คน และนักเรียน จำนวน 603 คน โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 3) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการ 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ 5) คู่มือการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ระดับห้องเรียน 6) แบบประเมินผลการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน\u0000ผลการวิจัย: (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำ โดยแนวทางแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ประกอบด้วยการส่งเสริมด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาครูและบุคลากร ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และด้านการบริหารจัดการและการนำองค์กรแบบมีส่วนร่วม (2) สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ระดับห้องเรียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ระดับห้องเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ระดับห้องเรียน คือ 0.55 (PNImodified= 0.55) (3) รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) องค์ประกอบการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา 4) วิธีการดำเนินงานของรูปแบบ 5) การวัดและประเมินผล โดยรูปแบบมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นประโยชน์ของรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ (4) ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา พบว่า 1) ผลการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา หลังการทดลองอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าก่อนการทดลอง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่าหลังการทดลองใช้รูปแบบรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนการทดลอง และ 3) ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด\u0000สรุปผล: ผลการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบและวิธีการดำเนินการเพื่อพัฒนาการบร","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"30 5","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-07-02","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141685493","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-07-02 DOI: 10.60027/iarj.2024.276694
วรินทร แสงแดง, เพ็ญศรี แสวงเจริญ, อรพรรณ บุตรกตัญญู
{"title":"ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย","authors":"วรินทร แสงแดง, เพ็ญศรี แสวงเจริญ, อรพรรณ บุตรกตัญญู","doi":"10.60027/iarj.2024.276694","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276694","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัยคือการพัฒนา และส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกทักษะชีวิตที่จำเป็น ให้เด็กสามารถจัดการกับความต้องการ และสิ่งท้าทายต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะชีวิตยังรวมถึงความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วย การเสริมสร้างทักษะชีวิตให้กับเด็กปฐมวัยจึงควรได้รับการปลูกฝังและสร้างเสริมตั้งแต่เด็ก การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย - หญิง อายุ 4 – 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปฐมวัย) จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแผน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย และแบบประเมินทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ t-test (dependent sample) และการวิเคราะห์เนื้อหา\u0000ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะชีวิตหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง โดยก่อนการทดลองมีคะแนนเฉลี่ย 10.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.81 และหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ย 25.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.04 คะแนนเฉลี่ยทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินรายด้าน คือ ด้านการคิดวิเคราะห์ ด้านการตัดสินใจ ด้านการแก้ปัญหา และด้านการสื่อสาร พบว่าคะแนนเฉลี่ยระดับทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยก่อนการทดลองส่วนใหญ่อยู่ในระดับควรพัฒนา คิดเป็นร้อยละ 80.00 รองลงมา คือ มีทักษะชีวิตระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 20.00 และหลังการทดลองทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 80.00 รองลงมา คือ มีทักษะชีวิตระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 13.33 และระดับดี คิดเป็นร้อยละ 6.67 ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยระดับทักษะชีวิตหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 4 ด้าน ซึ่งจากผลการศึกษาในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้ 1) ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ มีการจัดบรรยากาศในโรงเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย 2) ครูหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และ ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และ 3) โรงเรียนจัดโครงการให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับการฝึกทักษะชีวิต ให้กับเด็กปฐมวัยอย่างสม่ำเสมอเมื่ออยู่ที่บ้าน\u0000สรุปผล: ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการใช้การจัดการเรียนรู้ตามปรากฏการณ์ในวัยเด็กช่วยพัฒนาทักษะชีวิตได้อย่างมาก สิ่งนี้แสดงให้เห็นได้จากคะแนนเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการทดลองในทุกด้านที่ได้รับการประเมิน ขอแนะนำให้สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สนับสนุนในโรงเรียน กิจกรรมสร้างทักษะชีวิตอย่างต่อเนื่อง และจัดโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองเกี่ยวกับการฝึกทักษะชีวิตในวัยเด็กที่บ้านเป็นประจำ","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"24 12","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-07-02","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141685476","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กฎหมายแรงงาน ของนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ระหว่างวิธีการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนกับวิธีการสอนแบบบรรยาย การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กฎหมายแรงงาน ของนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ระหว่างวิธีการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนกับวิธีการสอนแบบบรรยาย
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-07-02 DOI: 10.60027/iarj.2024.276597
ชลิดา แสนวิเศษ
{"title":"การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กฎหมายแรงงาน ของนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ระหว่างวิธีการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนกับวิธีการสอนแบบบรรยาย","authors":"ชลิดา แสนวิเศษ","doi":"10.60027/iarj.2024.276597","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276597","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในเรื่องกฎหมายแรงงานเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย การนำกิจกรรมการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนมาใช้ในการเรียนการสอน จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาและส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นได้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กฎหมายแรงงาน ของนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ระหว่างวิธีการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนกับวิธีการสอนแบบบรรยาย และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 หลังการใช้วิธีการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบแผนการวิจัยแบบสองกลุ่มมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2/2566 รายวิชา รป 2208304 การจัดการแรงงานสัมพันธ์ จำนวน 106 คน 2 ห้องเรียนโดยกำหนดให้ห้องเรียนที่ 1 เป็นกลุ่มทดลอง และกำหนดให้ห้องเรียนที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน แผนการสอนแบบบรรยาย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t แบบ Independent\u0000ผลการวิจัย: 1) นักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนกับนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบบรรยายคะแนนหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 หลังการใช้กิจกรรมแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด\u0000สรุปผล: จากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมแบบเพื่อนช่วยเพื่อนด้วยรูปแบบ (Classwide-peer Tutoring) โดยการการจับคู่ (One-to-One Tutoring) ช่วยให้นักศึกษาพัฒนาการเรียนและส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอีกทั้งจากผลการสอบถามพึงพอใจนักศึกษามีระดับความพึงพอใจระดับมากที่สุดในทุกด้าน","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"47 9","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-07-02","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141688020","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
0
×
引用
GB/T 7714-2015
复制
MLA
复制
APA
复制
导出至
BibTeX EndNote RefMan NoteFirst NoteExpress
×
提示
您的信息不完整,为了账户安全,请先补充。
现在去补充
×
提示
您因"违规操作"
具体请查看互助需知
我知道了
×
提示
确定
请完成安全验证×
相关产品
×
本文献相关产品
联系我们:info@booksci.cn Book学术提供免费学术资源搜索服务,方便国内外学者检索中英文文献。致力于提供最便捷和优质的服务体验。 Copyright © 2023 布克学术 All rights reserved.
京ICP备2023020795号-1
ghs 京公网安备 11010802042870号
Book学术文献互助
Book学术文献互助群
群 号:481959085
Book学术官方微信