Interdisciplinary Academic and Research Journal最新文献

筛选
英文 中文
การใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการร้านขายยาแผนปัจจุบัน การใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการร้านขายยาแผนปัจจุบัน
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-04-08 DOI: 10.60027/iarj.2024.274604
พชร ชัยรัตนประภา, ธนัญชกร ปกิตตาวิจิตร, ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ
{"title":"การใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการร้านขายยาแผนปัจจุบัน","authors":"พชร ชัยรัตนประภา, ธนัญชกร ปกิตตาวิจิตร, ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ","doi":"10.60027/iarj.2024.274604","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274604","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ธุรกิจยาแผนปัจจุบันต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสภาวะที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการบริหารจัดการสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทางธุรกิจ และเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวและปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมยา บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางและวิธีการที่ธุรกิจยาแผนปัจจุบันสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการร้านขายยาแผนปัจจุบันในการบริหารจัดการสต็อก และการตรวจสอบคุณภาพและการประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์และนําเสนอตามประเด็นวัตถุประสงค์การศึกษา\u0000ผลการศึกษา:  การใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการร้านขายยาแผนปัจจุบัน ได้แก่ การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management)  การประมวลผลตามใบสั่งแพทย์ (Prescription Processing) การจ่ายยา (Medication Dispensing) การสื่อสารผู้ป่วย (Patient Communication) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และ การปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Regulatory Adherence)\u0000สรุปผล: ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าการใช้เทคโนโลยีนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ของการจัดการร้านขายยาสมัยใหม่ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงการจัดการสินค้าคงคลัง การประมวลผลตามใบสั่งยา การจ่ายยา การสื่อสารกับผู้ป่วย การวิเคราะห์ข้อมูล และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"24 11‐12","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-04-08","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140729050","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
ความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรกองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรกองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-04-08 DOI: 10.60027/iarj.2024.276382
ณัฐพล ประชุมของ
{"title":"ความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรกองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์","authors":"ณัฐพล ประชุมของ","doi":"10.60027/iarj.2024.276382","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276382","url":null,"abstract":"ประสิทธิผล หากนำมาปรับใช้และพัฒนางานของกองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะเกิดประโยชน์แก่บุคลากรและองค์กร โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรกองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2) ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาล ตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจต่อหลักธรรมาภิบาลกับความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาล และ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการรับรู้หลักธรรมาภิบาล ผ่านสื่อต่าง ๆ กับความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาล\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ได้แก่ บุคลากรกองพัฒนานิสิต จำนวน 127 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test One-Way ANOVA LSD และ Pearson Product Moment Correlation Coefficient โดยกำหนดระดับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05\u0000ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรกองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาล อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกัน ของบุคลากรกองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาลในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับการศึกษา ของบุคลากรกองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาลแตกต่างกัน นอกจากนี้ความรู้ความเข้าใจต่อหลักธรรมาภิบาลมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาล ของบุคลากรกองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในทิศทางตามกันน้อย (r =.36) และการรับรู้หลักธรรมาภิบาลผ่านสื่อต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาล ของบุคลากรกองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในทิศทางตามกันน้อย (r =.39)\u0000สรุปผล: บุคลากรมีความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาลในภาพรวม อยู่ในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านหลักการมีส่วนร่วมของสาธารณชน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ดังนั้น ควรมีการจัดอบรมบุคลากรในประเด็นของ การเปิดโอกาสให้นิสิตเข้ามาแสดงความคิดเห็นและประเมินความพึงพอใจในการรับบริการ ผ่านช่องทางไลน์ เว็บไซต์ ให้มาก รวมถึงการปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานอย่างเท่าเทียมกัน เป็นธรรม สุจริต ยึดความ โปร่งใส จัดเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบเพื่อการตรวจสอบได้ง่าย ส่งผลให้การดำเนินงานต่าง ๆ ของ หน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"9 6","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-04-08","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140729655","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การใช้ทักษะดิจิทัลในการบริหารงานของวิทยาลัยศาสนศาสตร์นครราชสีมา การใช้ทักษะดิจิทัลในการบริหารงานของวิทยาลัยศาสนศาสตร์นครราชสีมา
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-04-08 DOI: 10.60027/iarj.2024.275674
สุพจน์ พิมประสาร, ณรงค์ชัย บุญมั่น, อมรรัตน์ พุทธอริยวงศ์, ชลวัฒน์ กิมซัว, ศักดิ์สิทธิ์ เทียมคำ
{"title":"การใช้ทักษะดิจิทัลในการบริหารงานของวิทยาลัยศาสนศาสตร์นครราชสีมา","authors":"สุพจน์ พิมประสาร, ณรงค์ชัย บุญมั่น, อมรรัตน์ พุทธอริยวงศ์, ชลวัฒน์ กิมซัว, ศักดิ์สิทธิ์ เทียมคำ","doi":"10.60027/iarj.2024.275674","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275674","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ปัจจุบันการใช้ทักษะดิจิทัลสำหรับการบริหารงานระดับอุดมศึกษาถือว่าเป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หัวหน้าผู้บริหารสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีส่วนสำคัญในบริหารคณะทำงานในองค์กรที่ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ดิจิทัลเพื่อที่จะจัดการการบริหารบุคลากรให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการวิจัยในครั้งนี้ วิทยาลัยศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญในเรื่องทักษะการใช้งานดิจิทัลในการบริหารงานด้านการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้ทักษะดิจิทัลสำหรับการบริหารงาน 2) ศึกษาการประเมินการใช้ทักษะดิจิทัลสำหรับการบริหารงาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้ทักษะดิจิทัลสำหรับการบริหารงาน ซึ่งทำการศึกษาที่วิทยาลัยศาสนศาสตร์นครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา\u0000ระเบียบวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนจำนวน 100 คน ได้แก่ อาจารย์ 15 คน บุคลากรสนับสนุนอีก 12 คน และนักศึกษา 72 คน รวม 100 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบ 2 ขั้นตอน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นปีการศึกษา โดยแบ่งตามขนาดจำนวนนักศึกษาแต่ละชั้นปีการศึกษา ภายในวิทยาลัยศาสนศาสตร์นครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ในปีการศึกษา 2023 เครื่องมือวิจัยในครั้งนี้ คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนโดยแบ่งเกณฑ์การวัดผลการประเมินทั้งหมด 5 ระดับ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน\u0000ผลการวิจัย: ศักยภาพในการใช้ทักษะดิจิทัลถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างมากในการบริหารงานของวิทยาลัยศาสนศาสตร์นครราชีมา นอกจากนั้นยังพบว่า (1) ภาพรวมการใช้ทักษะดิจิทัลของบริหารงานอยู่ในระดับสูง (2) การสำรวจความพึงพอใจในการใช้ทักษะดิจิทัลของบริหารงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ประเด็นที่จำเป็นสูงสุดคือการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลโดยการใช้ทักษะดิจิทัลสำหรับการพัฒนาการบริหารงานของวิทยาลัยศาสนศาสตร์นครราชสีมา\u0000สรุปผล: การใช้ทักษะดิจิทัลในการบริหารวิทยาลัยวิทยาลัยศาสนศาสตร์นครราชสีมาอยู่ในระดับที่สูงอย่างมีนัยสำคัญและการประเมินความต้องการเป็นตัวชี้วัดศักยภาพในการใช้ทักษะดิจิทัลเพื่อการพัฒนาการบริหารงานควบคู่กับเทคโนโลยีดิจิทัล","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"60 6","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-04-08","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140730011","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การศึกษาโครงการการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนภายในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาโครงการการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนภายในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-04-08 DOI: 10.60027/iarj.2024.275658
พระครูพิจิตรธรรมปคุณ (จักรกฤษณ์ พุฒบุรี), พระอุดมธีรคุณ (ภาวัต แสวงดี), พระมหาจิณกมล อภิรตโน (จิณกมล เป็นสุข), ประครอง งามชัยภูมิ, ชลวัฒน์ กิมซัว
{"title":"การศึกษาโครงการการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนภายในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา","authors":"พระครูพิจิตรธรรมปคุณ (จักรกฤษณ์ พุฒบุรี), พระอุดมธีรคุณ (ภาวัต แสวงดี), พระมหาจิณกมล อภิรตโน (จิณกมล เป็นสุข), ประครอง งามชัยภูมิ, ชลวัฒน์ กิมซัว","doi":"10.60027/iarj.2024.275658","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275658","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: โครงการการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนภายในอำเภอเมืองนครราชสีมาเป็นส่วนของโครงการบริการวิชาการของวิทยาลัยสนศาสตร์นครราชสีมา โดยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณประจำปี 2566 ซึ่งโครงการ ฯ อยู่ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566 และโครงการการส่งเริมการพัฒนาชุมชนในอำเภอเมืองนครราชสีมามีเป้าหมายสำคัญคือการบริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่ชุมชนอย่างกว้างขวางและเป็นศูนย์กลางแห่งการแสวงหาความรู้วิชาการพระพุทธศาสนา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมการส่งเสริมในการพัฒนาชุมชนของนักศึกษากับชุมชนภายในอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา (2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมการส่งเสริมในการพัฒนาชุมชนของนักศึกษากับชุมชนภายในอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) อธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมการส่งเสริมในการพัฒนาชุมชนของนักศึกษากับชุมชนภายในอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากร คือ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษาช่วงชั้นปีที่ 1 – 4 ภายในวิทยาลัยศาสนศาสตร์นครราชสีมาและหัวหน้าชุมชนที่เป็นชุมชนเป้าหมายในเขตอำเภอเมืองนครราชีมา รวมทั้งหมด 150 คน กลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ภายในวิทยาลัยสนศาสตร์นครราชสีมาและผู้นำชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 60 รูป/คน จากกลุ่มประชากรที่เป็นนักศึกษาภายในวิทยาลัยศาสศาสตร์ทั้งหมด 4 ชั้นปีการศึกษา โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน\u0000ผลการวิจัย: ผลของการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า 1 การมีส่วนร่วมของนักศึกษาวิทยาลัยสนศาสตร์นครราชสีมาเพื่อส่งเสริมในการพัฒนาชุมชนภายในวิทยาลัยสนศาสตร์นครราชสีมาอยู่ในระดับมาก 2 ด้านการมีส่วนร่วมของนักศึกษาวิทยาลัยสนศาสตร์นครราชสีมาเพื่อส่งเสริมในการพัฒนาชุมชนภายในวิทยาลัยสนศาสตร์นครราชสีมา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และ 3 ด้านความสัมพันธ์ที่เป็นปัจจัยต่อการมีส่วนร่วมของนักศึกษาวิทยาลัยสนศาสตร์นครราชสีมาในการพัฒนาชุมชนภายในวิทยาลัยสนศาสตร์นครราชสีมามีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ\u0000สรุปผล: การศึกษาโครงการการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนภายในอำเภอเมืองนครราชสีมา คณะผู้วิจัยพบว่าผู้มีส่วนร่วมในโครงการ ฯ ได้มีส่วนร่วมอย่างมากในการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนในอำเภอเมืองนครราชีมา และอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ที่เข้าไปบริการวิชาการมีความพึงพอใจในโครงการ ส่วนประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการต่างพากันมีความสุข และได้รับความคิดสร้างสรรค์มีจิตใจสาธารณะเพิ่มมากขึ้น","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"47 3","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-04-08","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140731893","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน สำหรับเทคนิค 6Ts เพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน สำหรับเทคนิค 6Ts เพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-04-08 DOI: 10.60027/iarj.2024.275137
ณัฐกานต์ ศรีจันทร์, ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก, ปราโมทย์ พรหมขันธ์
{"title":"การพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน สำหรับเทคนิค 6Ts เพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4","authors":"ณัฐกานต์ ศรีจันทร์, ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก, ปราโมทย์ พรหมขันธ์","doi":"10.60027/iarj.2024.275137","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275137","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน สำหรับเทคนิค 6Ts เพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน สำหรับเทคนิค 6Ts เพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน โดยใช้เทคนิค 6Ts กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปาง ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 8 และห้อง 9 ที่เรียนรายวิชาศิลปศึกษา (ดนตรี) ในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2566 จำนวน 60 คน\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยใช้แบบแผนการทดลองวัดผลหลังการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม (Randommized Control Group Posttest Only Design) เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านโน้ตดนตรีสากล 2) แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน 3) แบบทดสอบประเมินผลระหว่างการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบประเมินผลหลังการเรียนรู้ 5) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากล สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) การทดสอบทีแบบอิสระต่อกัน (t-test independent test)\u0000ผลการวิจัย: 1) การสร้างและหาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน สำหรับเทคนิค 6Ts เพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.55  และมีประสิทธิภาพแบบหนึ่งต่อหนึ่ง แบบกลุ่มเล็ก และแบบภาคสนาม เท่ากับ 86.67/88.89 81.11/86.67 และ 80.83/85.22 ตามลำดับ เป็นไปตามเกณฑ์กำหนด 2) การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า  กลุ่มทดลองมีความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากลได้ดีกว่าควบคุม อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05\u0000สรุปผล: ผลการวิจัยสรุปได้ว่ากลุ่ม แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน สำหรับเทคนิค 6Ts  มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เป็นไปตามเกณฑ์ และเพิ่มความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากลของนักเรียนได้","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"175 S411","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-04-08","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140730982","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การวิเคราะห์สัญญะในการรำบวงสรวงท้าวสุรนารีเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองเมืองนครราชสีมา ครบรอบ 555 ปี การวิเคราะห์สัญญะในการรำบวงสรวงท้าวสุรนารีเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองเมืองนครราชสีมา ครบรอบ 555 ปี
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-04-08 DOI: 10.60027/iarj.2024.275463
วชิรารัตน์ นิรันดร์เตชาภัทร์
{"title":"การวิเคราะห์สัญญะในการรำบวงสรวงท้าวสุรนารีเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองเมืองนครราชสีมา ครบรอบ 555 ปี","authors":"วชิรารัตน์ นิรันดร์เตชาภัทร์","doi":"10.60027/iarj.2024.275463","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275463","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การรำบวงสรวงท้าวสุรนารีเป็นสัญญะทางสังคมเพื่อแสดงพลังความศรัทธาของสตรี ชาวโคราช โดยกิจกรรมดังกล่าวมีกำหนดจัดงานในวันที่ 23 มีนาคมของทุกปี และในปี พ.ศ. 2566 ถือเป็นวาระพิเศษในการฉลองเมืองนครราชสีมา ครบรอบ 555 ปี ผู้จัดงานจึงมีการกำหนดให้มีนางรำบวงสรวง จำนวน 10,555 คน อีกทั้งยังคัดสรรเนื้อร้อง ท่ารำ ทำนองเพลงให้สอดคล้องกับการแสดงครั้งนี้ งานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์สัญญะในการรำบวงสรวงท้าวสุรนารีเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองเมืองนครราชสีมา ครบรอบ 555 ปี” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สัญญะและการประกอบสร้างความหมายเชิงสัญญะที่ปรากฏในการรําบวงสรวงท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม)\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ปี 2566 ทั้งหมด 7 เพลง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากคลิปฝึกซ้อมการรําบวงสรวงท้าวสุรนารีจำนวน 2 คลิปที่เผยแพร่ผ่านช่องทางยูทูป จัดทำโดย เหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา โดยจะศึกษาจากเนื้อเพลงประกอบท่ารำที่สื่อสารออกมาจากผู้ฝึกซ้อมรำ จำนวน 2 ท่าน ซึ่งคลิปการแสดงนี้มีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกให้นางรำฝึกซ้อมเองได้ตามความต้องการมีทั้งแบบที่เห็น ท่ารำด้านหลังและการฝึกซ้อมรำแบบเห็นด้านหน้าแบบกระจก\u0000ผลการวิจัย: สัญญะที่แสดงผ่านเนื้อเพลงเป็นการสื่อสารอำนาจของจังหวัดนครราชสีมาโดยแสดงศักยภาพของท้องถิ่นในทุกด้านต่าง ๆ นอกจากนั้นยังสะท้อนความผูกพันต่อพิธีกรรมรำบวงสรวงท้าวสุรนารีอย่างเหนียวแน่น ทั้งนี้เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อวีรสตรีที่กอบกู้เมืองนครราชสีมาตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ถ่ายทอดผ่าน เนื้อเพลงเนื่องในโอกาสสำคัญ ในแง่สัญญะวิทยาคลิปการรำบวงสรวงที่สื่อสารความหมายโดยอรรถ (Denotative Meaning) และความหมายโดยนัย (Connotative Meaning) ผ่านท่าทางต่าง ๆ ที่ปรากฏในรูปแบบการรำ (Dance Format) มีความซับซ้อนน้อยไปจนถึงมากตามความซับซ้อนของแก่นของเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่บรรยายผ่านของเพลง โดยที่เนื้อเพลงและท่ารำมีความสัมพันธ์กับท่วงทำนองเพลงและองค์ประกอบของเพลง (Elements)\u0000สรุปผล: งานวิจัยนี้เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้ในการวิเคราะห์การรำบวงสรวงท้าวสุรนารีว่าด้วยเรื่องสัญญะวิทยา และเพื่อประยุกต์ใช้ในการศึกษาสหสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมิติทางสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่อไป","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"216 3","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-04-08","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140731017","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการของบริษัทตัวแทนรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการของบริษัทตัวแทนรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-04-07 DOI: 10.60027/iarj.2024.275054
ชิตพงษ์ อัยสานนท์, ชุติเดช มั่นคงธรรม, ชลิตา ตริยาวนิช
{"title":"ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการของบริษัทตัวแทนรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ","authors":"ชิตพงษ์ อัยสานนท์, ชุติเดช มั่นคงธรรม, ชลิตา ตริยาวนิช","doi":"10.60027/iarj.2024.275054","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275054","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การวิจัยนี้มุ่งสำรวจปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของบริษัทตัวแทนรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของบริษัทตัวแทนรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านระบบสารสนเทศ เครือข่ายการให้บริการ และการบริหารลูกค้าสัมพันธ์กับการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของบริษัทตัวแทนรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้บริษัทในอุตสาหกรรมนี้สามารถปรับปรุงและพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยนี้ทำการสำรวจเชิงปริมาณผ่านแบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับประสิทธิภาพการให้บริการของบริษัทขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยใช้ตัวอย่างขนาด 385 คนจากการสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลผ่าน Google Forms และกระจายลิงก์ผ่านเครือข่ายออนไลน์ ค่า IOC คือ 0.67 และ Cronbach's Alpha คือ 0.72 ใช้สถิติเชิงพรรณนาสำรวจลักษณะประชากรศาสตร์และประเมินความสำคัญของปัจจัยในการบริการ ผ่านค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อสรุปข้อมูลพื้นฐาน สถิติเชิงอนุมานเน้นการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และ P-value วิเคราะห์ความสัมพันธ์และนัยสำคัญทางสถิติ ยืนยันบทบาทของระบบสารสนเทศ เครือข่ายการให้บริการ และการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพการให้บริการ\u0000ผลการวิจัย: พบว่า (1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 385 คน ส่วนใหญ่เป็นชาย อายุระหว่าง 21-30 ปี ระดับเจ้าหน้าที่ ธุรกิจบริการ ประเภทอุตสาหกรรมบริการ ขนาดขององค์กรเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ และมีการทำธุรกรรมนำเข้า-ส่งออกเกิน 15 ครั้งต่อเดือน (2) ปัจจัยที่สำคัญต่อประสิทธิภาพการให้บริการของบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ ระบบสารสนเทศ เครือข่ายการให้บริการ และการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งทั้งหมดมีความสำคัญในระดับสูงต่อประสิทธิภาพการให้บริการ (3) ปัจจัยด้านระบบสารสนเทศ เครือข่ายการให้บริการ และการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ\u0000สรุปผล: ผลการวิจัยแสดงว่า ปัจจัยสำคัญในธุรกิจตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้แก่ ระบบสารสนเทศ เครือข่ายการให้บริการ และการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพการให้บริการของบริษัท","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"36 1","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-04-07","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140733130","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การพัฒนาชุดการสอนรายวิชาคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณสำหรับครูโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี การพัฒนาชุดการสอนรายวิชาคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณสำหรับครูโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-04-07 DOI: 10.60027/iarj.2024.275238
ชูชีพ ประทุมเวียง
{"title":"การพัฒนาชุดการสอนรายวิชาคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณสำหรับครูโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี","authors":"ชูชีพ ประทุมเวียง","doi":"10.60027/iarj.2024.275238","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275238","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ เนื่องจากมีรูปแบบการสอนให้เลือกอย่างหลากหลายตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนรายวิชาคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณสำหรับครูโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือให้มีประสิทธิภาพ (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณสำหรับครู และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของชุดการสอนรายวิชาคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณสำหรับครู\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู จำนวน 2 ห้องเรียน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3 ส่วน ได้แก่ ชุดการสอนรายวิชาคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณสำหรับครู จำนวน 6 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถาม ความคิดเห็นของนักศึกษาที่เรียนด้วยการสอนโดยใช้ชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยค่าอำนาจจำแนกและค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ .852 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าดัชนีประสิทธิผล\u0000ผลการวิจัย: (1) ชุดการสอนรายวิชาคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณสำหรับครูโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูชั้นปีที่ 2 ทุกชุดมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.21/84.48 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (2) ดัชนีประสิทธิผลของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา จากการใช้ชุดการสอนรายวิชาคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณสำหรับครูโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีค่าเท่ากับ 0.7242 แสดงว่านักศึกษามีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 72.42 (3) ชุดการสอนรายวิชาคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณสำหรับครูโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทั้งในภาพรวมทุกด้าน ภาพรวมรายด้าน และรายข้อมีความเหมาะสมในระดับมาก\u0000สรุปผล: การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งเป็นลักษณะการรวมกลุ่มอย่างมีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการทํางานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"48 23","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-04-07","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140733589","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภูมิศาสตร์ โดยใช้ชุดสื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภูมิศาสตร์ โดยใช้ชุดสื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-04-07 DOI: 10.60027/iarj.2024.274909
เบญญาภา วงศ์คำ, วรานิษฐ์ ธนชัยวรพันธ์
{"title":"การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภูมิศาสตร์ โดยใช้ชุดสื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์","authors":"เบญญาภา วงศ์คำ, วรานิษฐ์ ธนชัยวรพันธ์","doi":"10.60027/iarj.2024.274909","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274909","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภูมิศาสตร์ โดยใช้ชุดสื่อประสมซึ่งเป็นสื่อกลางในการช่วยให้นักเรียนสามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ภูมิศาสตร์โดยใช้ชุดสื่อประสม จากการเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1) ชุดสื่อประสมมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภูมิศาสตร์ ชั้น ป.4/6 จำนวน 5 แผน ค่าดัชนีสอดคล้องของการจัดการเรียนรู้อยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 และ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ เรื่อง ภูมิศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ ค่าดัขนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-0.89 แบบแผนการทดลองใช้แบบกลุ่มเดียว สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, สถิติทดสอบที\u0000ผลการวิจัย: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ภูมิศาสตร์โดยใช้ชุดสื่อประสม โดยนักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งการใช้ชุดสื่อประสมในการจัดการเรียนรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สามารถส่งเสริมให้นักเรียนได้มีความกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น กล่าวคือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดสื่อประสม มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน\u0000สรุปผล: การศึกษาเน้นย้ำถึงผลกระทบเชิงบวกของการบูรณาการชุดสื่อในการศึกษาภูมิศาสตร์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงผลการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญ การเพิ่มขึ้นของคะแนนหลังการเรียนรู้ที่สังเกตได้ ควบคู่ไปกับความกระตือรือร้นและการมีส่วนร่วมที่เพิ่มขึ้น เน้นย้ำถึงประสิทธิภาพของสื่อในการส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหมู่นักเรียน","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"22 26","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-04-07","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140732885","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การบริหารงานเชิงกลยุทธ์และการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร การบริหารงานเชิงกลยุทธ์และการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-04-07 DOI: 10.60027/iarj.2024.275044
ธัญพร บัวดี, สามารถ อัยกร, ชาติชัย อุดมกิจมงคล
{"title":"การบริหารงานเชิงกลยุทธ์และการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร","authors":"ธัญพร บัวดี, สามารถ อัยกร, ชาติชัย อุดมกิจมงคล","doi":"10.60027/iarj.2024.275044","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275044","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การบริหารงานพัสดุมีความสำคัญต่อการบริหารเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จของการบรรลุวิสัยทัศน์ (Vision) ขององค์การ ทั้งในองค์การขนาดเล็กจนถึงองค์การขนาดใหญ่ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการบริหารงานพัสดุที่มี ประสิทธิภาพ ดังนั้นแล้วผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีคุณสมบัติและมีความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับพัสดุโดยตรง จึงจะทำให้งานสำเร็จลุล่วงและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล และประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร 2) ศึกษาอิทธิพลของการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ และการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร จำนวน 283 คน โดยการเทียบตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan ทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ\u0000ผลการวิจัย: (1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) บริหารงานเชิงกลยุทธ์ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (β=.403) ด้านการกำหนดกลยุทธ์ (β=.274) การตรวจสอบภาพแวดล้อม (β=.167) และการควบคุมและประเมินผลกลยุทธ์ (β=.133) มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุได้ร้อยละ 89.30 (R2Adj=.893) (3) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ด้านหลักความรับผิดชอบ (β=.304) หลักคุณธรรม (β=.241) หลักนิติธรรม (β=.232) และหลักความคุ้มค่า (β=.131) มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ ได้ร้อยละ 89.70 (R2Adj=.897) ยกเว้นหลักความโปร่งใส และหลักการมีส่วนร่วม\u0000สรุปผล: ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าการจัดการเชิงกลยุทธ์และแนวปฏิบัติธรรมาภิบาลภายในสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพการจัดการอุปทานโดยรวม ปัจจัยสำคัญ เช่น การดำเนินกลยุทธ์ การกำหนด การติดตามด้านสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบ/ความรับผิดชอบ คุณธรรม หลักนิติธรรม และความคุ้มค่าของเงิน มีบทบาทสำคัญในการทำนายและปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการอุปทาน แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งระหว่างการจัดการเชิงกลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติด้านธรรมาภิบาลที่ดีกับอุปทาน ผลลัพธ์ของการจัดการ","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"49 12","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-04-07","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140733446","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
0
×
引用
GB/T 7714-2015
复制
MLA
复制
APA
复制
导出至
BibTeX EndNote RefMan NoteFirst NoteExpress
×
提示
您的信息不完整,为了账户安全,请先补充。
现在去补充
×
提示
您因"违规操作"
具体请查看互助需知
我知道了
×
提示
确定
请完成安全验证×
相关产品
×
本文献相关产品
联系我们:info@booksci.cn Book学术提供免费学术资源搜索服务,方便国内外学者检索中英文文献。致力于提供最便捷和优质的服务体验。 Copyright © 2023 布克学术 All rights reserved.
京ICP备2023020795号-1
ghs 京公网安备 11010802042870号
Book学术文献互助
Book学术文献互助群
群 号:481959085
Book学术官方微信