Suranaree Journal of Social Science最新文献

筛选
英文 中文
ความสัมพันธ์ระหว่างมิติทางบุคลิกภาพและความก้าวร้าวทางไซเบอร์: บทบาทการเป็นตัวแปรสื่อกลาง ของการติดไซเบอร์ และการเป็นตัวแปรกำกับของอารมณ์ทางจริยธรรม 人格维度和网络攻击性之间的关系:角色扮演、网络成瘾的媒介变量和道德情感的指导变量。
Suranaree Journal of Social Science Pub Date : 2022-05-12 DOI: 10.55766/mhzf4416
วิไลวรรณ ศรีสงคราม
{"title":"ความสัมพันธ์ระหว่างมิติทางบุคลิกภาพและความก้าวร้าวทางไซเบอร์: บทบาทการเป็นตัวแปรสื่อกลาง ของการติดไซเบอร์ และการเป็นตัวแปรกำกับของอารมณ์ทางจริยธรรม","authors":"วิไลวรรณ ศรีสงคราม","doi":"10.55766/mhzf4416","DOIUrl":"https://doi.org/10.55766/mhzf4416","url":null,"abstract":"การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมิติทางบุคลิกภาพและความก้าวร้าวทางไซเบอร์โดยมีการติดไซเบอร์เป็นตัวแปรสื่อกลางและมีอารมณ์ทางจริยธรรมเป็นตัวแปรกำกับ  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา 870 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบทดสอบมิติทางบุคลิกภาพ 3 มิติ ได้แก่ ลักษณะความเป็นชาย  ลักษณะความเป็นหญิง และความหุนหันพลันแล่น  แบบวัดการติดไซเบอร์  แบบวัดความก้าวร้าวทางไซเบอร์ และแบบวัดอารมณ์ทางจริยธรรม ใช้การวิเคราะห์ตัวแปรสื่อกลางและตัวแปรกำกับด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS Process  ผลพบว่า    (1) ความสัมพันธ์ระหว่างมิติทางบุคลิกภาพและความก้าวร้าวทางไซเบอร์มีตัวแปรสื่อกลาง คือ การติดอินเทอร์เน็ตและการติดเกม  (2) ความสัมพันธ์ระหว่างความหุนหันพลันแล่นและความก้าวร้าวทางไซเบอร์ในเพศชายและเพศหญิงมีตัวแปรกำกับคือ ความรู้สึกผิด  แต่มีทิศทางที่ตรงกันข้ามกัน  (3) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะความเป็นชายและความก้าวร้าวทางไซเบอร์ มีความละอายแก่ใจเป็นตัวแปรกำกับเฉพาะในเพศหญิง  (4) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะความเป็นหญิงและความก้าวร้าวทางไซเบอร์  มีทั้งความรู้สึกผิดและความละอายแก่ใจเป็นตัวแปรกำกับเฉพาะในเพศชาย  ผลลัพธ์เหล่านี้ได้เสนอแนะว่าความสัมพันธ์ระหว่างความหุนหันพลันแล่นและความก้าวร้าวทางไซเบอร์ของเพศหญิงจะลดลงได้เมื่อมีการกำกับจากความรู้สึกผิด  นอกจากนี้  ลักษณะความเป็นหญิงยังเป็นตัวหน่วงเหนี่ยวทั้งการติดไซเบอร์และความก้าวร้าวทางไซเบอร์ได้มากกว่าอารมณ์ทางจริยธรรม  ซึ่งสะท้อนว่า  อารมณ์ทางจริยธรรมมีความสามารถที่จำกัดในการลดความก้าวร้าวทางไซเบอร์ในระหว่างเส้นทางลักษณะความเป็นชาย-ความก้าวร้าวทางไซเบอร์ และลักษณะความเป็นหญิง-ความก้าวร้าวทางไซเบอร์","PeriodicalId":145995,"journal":{"name":"Suranaree Journal of Social Science","volume":"47 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2022-05-12","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"133821042","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ 影响老年人睡眠质量的因素。
Suranaree Journal of Social Science Pub Date : 2022-05-09 DOI: 10.55766/wstu1754
วิทมา ธรรมเจริญ, นิทัศนีย์ เจริญงาม, ญาดาภา โชติดิลก, นิตยา ทองหนูนุ้ย
{"title":"ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ","authors":"วิทมา ธรรมเจริญ, นิทัศนีย์ เจริญงาม, ญาดาภา โชติดิลก, นิตยา ทองหนูนุ้ย","doi":"10.55766/wstu1754","DOIUrl":"https://doi.org/10.55766/wstu1754","url":null,"abstract":"การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี สุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นแบบหลายขั้น ได้ตัวอย่างผู้สูงอายุที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน 2563 ค่าความตรงเชิงเนื้อหาประเมินโดยใช้ค่า IOC  ซึ่งผลการหาค่า IOC พบว่าทุกข้อมีค่าตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป แสดงว่ามีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ค่าความเชื่อมั่นประเมินโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นมากกว่า 0.8 ดังนั้นเครื่องมือที่ใช้มีความคงเส้นคงวา วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณโดยวิธีขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับในระดับดี ร้อยละ 61.10 และมีคุณภาพการนอนหลับในระดับไม่ดี ร้อยละ 39.90 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยด้านการใช้ยานอนหลับ ด้านภาวะซึมเศร้า ด้านจิตใจและอารมณ์ (ความเครียด) ด้านแหล่งที่มาของรายได้ มาจากญาติพี่น้อง การดื่มสุรา และด้านประวัติการป่วยทางจิตเวชในครอบครัว ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ได้ร้อยละ 23.60 (R square) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05","PeriodicalId":145995,"journal":{"name":"Suranaree Journal of Social Science","volume":"33 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2022-05-09","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"123537390","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การวิเคราะห์ความไม่เท่าเทียมของการถือครองที่ดินทำการเกษตรกับความสัมพันธ์ของจำนวนสมาชิก และรายได้ครัวเรือน บ้านห้วยปูน้อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ 对农业土地所有权的不平等与家庭成员数量和收入的关系进行了分析。
Suranaree Journal of Social Science Pub Date : 2022-05-09 DOI: 10.55766/bshu1036
สืบพงษ์ พงษ์สวัสดิ์, จารุณี ภัทรวงษ์ธนา, ธรรมพร หาญผจญศึก
{"title":"การวิเคราะห์ความไม่เท่าเทียมของการถือครองที่ดินทำการเกษตรกับความสัมพันธ์ของจำนวนสมาชิก และรายได้ครัวเรือน บ้านห้วยปูน้อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่","authors":"สืบพงษ์ พงษ์สวัสดิ์, จารุณี ภัทรวงษ์ธนา, ธรรมพร หาญผจญศึก","doi":"10.55766/bshu1036","DOIUrl":"https://doi.org/10.55766/bshu1036","url":null,"abstract":"การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจขอบเขตการถือครองที่ดินและจัดทำฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 2) วิเคราะห์ความไม่เท่าเทียมของการถือครองที่ดินและรายได้ของครัวเรือน และ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเนื้อที่ถือครองที่ดินกับจำนวนสมาชิกในครัวเรือนและรายได้ของครัวเรือน ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ได้เจาะจงศึกษาครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมด 19 ครัวเรือนของบ้านห้วยปูน้อย ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แผนที่ข้อมูลดาวเทียมรายละเอียดสูงเป็นเครื่องมือ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรมีความเข้าใจแผนที่ข้อมูลดาวเทียมรายละเอียดสูง สามารถเชื่อมโยงกับพื้นที่จริง ทำให้ลากขอบเขตแปลงที่ดินของเกษตรกรได้ จากการวิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์พบว่าพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด 1,757.54 ไร่ แบ่งเป็นแปลงถือครองทั้งหมด 92 แปลง ถือครองโดยเกษตรกร 17 ครัวเรือน โดยมี 2 ครัวเรือนที่ไม่มีพื้นที่ทำกิน แปลงที่ดินถือครองแต่ละแปลงมีเนื้อที่รวมเฉลี่ย 13.33 ไร่ และแต่ละครัวเรือนมีแปลงถือครองโดยเฉลี่ย 5 แปลง ความไม่เท่าเทียมของรายได้มีค่าสัมประสิทธิ์จีนี 0.38 และ 0.73 และการถือครองที่ดินกระจุกตัวอยู่ในบางครัวเรือน เนื้อที่ถือครองกับจำนวนสมาชิกในครัวเรือนมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน (r = 0.54)โดยเนื้อที่ถือครองเป็นผลมาจากจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเพียงร้อยละ 29 ( r2= 0.29). ส่วนเนื้อที่ถือครองกับรายได้ครัวเรือนมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ( r=0.07) โดยเนื้อที่ถือครองเป็นผลมาจากรายได้ของครัวเรือนเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น  (r2  = 0.01).","PeriodicalId":145995,"journal":{"name":"Suranaree Journal of Social Science","volume":"55 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2022-05-09","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"121798914","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
กระบวนการแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดสระแก้ว สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 12 解决不识字问题的过程是由泰国边境警察司令部(12号边境警察总部)领导的。
Suranaree Journal of Social Science Pub Date : 2022-04-21 DOI: 10.55766/hlwv1241
วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง
{"title":"กระบวนการแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดสระแก้ว สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 12","authors":"วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง","doi":"10.55766/hlwv1241","DOIUrl":"https://doi.org/10.55766/hlwv1241","url":null,"abstract":"การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้ และ 3) นำเสนอแนวทางการสอนการอ่านออกเขียนได้ มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการดำเนินงานการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ โดยการสอบถามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูวิชาภาษาไทย จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง พบว่า สภาพการดำเนินงานการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้กับ นักเรียน จำนวน 36 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างเป็นระบบ  พบว่า ได้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้ จำนวน 3 ชุด มีส่วนประกอบ ได้แก่ คำชี้แจงสำหรับครู คำชี้แจงสำหรับนักเรียน เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้และแบบทดสอบ ส่วนประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะสูงกว่าเกณณ์ที่กำหนด 80/80 และนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขั้นตอนที่ 3 การนำเสนอแนวทางการสอนการอ่านออกเขียนได้ พบว่า 1) ครูควรเน้นย้ำเรื่องสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ ก่อนสอนให้นักเรียนอ่านเขียน 2) ควรมีการอบรมให้ความรู้แก่ครูในการสร้างสื่อที่เหมาะสมกับการสอนการอ่านและการเขียน และ3) ครูควรจัดโครงการพัฒนาทักษะการอ่านเขียนให้แก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง","PeriodicalId":145995,"journal":{"name":"Suranaree Journal of Social Science","volume":"1 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2022-04-21","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"125864522","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การถอดองค์ความรู้ซ่อนเร้นการเพาะเลี้ยงไรแดงด้วยคลอเรลล่า: กรณีศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช 隐藏的知识提取与小球藻养殖:农业和技术学院案例
Suranaree Journal of Social Science Pub Date : 2022-04-08 DOI: 10.55766/zchp1563
เกตุมณี ศรีอินทร์, อติรัฐ มากสุวรรณ์
{"title":"การถอดองค์ความรู้ซ่อนเร้นการเพาะเลี้ยงไรแดงด้วยคลอเรลล่า: กรณีศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช","authors":"เกตุมณี ศรีอินทร์, อติรัฐ มากสุวรรณ์","doi":"10.55766/zchp1563","DOIUrl":"https://doi.org/10.55766/zchp1563","url":null,"abstract":"งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดองค์ความรู้ที่ซ่อนเร้นการเพาะเลี้ยงไรแดงด้วยคลอเรลล่าของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงไรแดงของอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อศึกษาความหนาแน่นของคลอเรลล่า และระยะเวลาที่เหมาะสมของการเพาะเลี้ยงไรแดงจากองค์ความรู้ที่ซ่อนเร้นดังกล่าว ใช้การวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยเริ่มจากการถอดองค์ความรู้ที่ซ่อนเร้นของเกษตรกรด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบลูกบอลหิมะ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า แล้วทดสอบเพื่อยืนยันองค์ความรู้ที่ซ่อนเร้นของเกษตรกรด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ วิเคราะห์ความแปรปรวน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างทรีทเมนต์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าคลอเรลล่ามีศักยภาพในการผลิตไรแดง เกษตรกรเพาะเลี้ยงคลอเรลล่าโดยการละลายวัสดุอาหารด้วยหัวเชื้อน้ำเขียวให้ได้ระดับน้ำ 10-20 เซนติเมตร และให้อากาศในวันแรก วันที่ 2 กวนน้ำช่วงเช้าและเย็น วันที่ 3 เติมน้ำสะอาดให้ได้ระดับน้ำ 50 เซนติเมตร วันที่ 4 เติมหัวเชื้อไรแดง และเก็บผลผลิตในวันที่ 6 ความหนาแน่นเฉลี่ยของคลอเรลล่าที่ได้จากการถอดองค์ความรู้ที่ซ่อนเร้นของเกษตรกรคือ 1.12 x 106 เซลล์ต่อมิลลิลิตร ซึ่งทำให้ผลผลิตของไรแดงมากที่สุดภายในระยะเวลาการเลี้ยง 2 วัน การถอดองค์ความรู้จากเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จทำให้ได้วิธีการเพาะเลี้ยงไรแดงที่สามารถปฏิบัติได้จริง ได้ผลผลิตสูงสุด เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ สามารถนำผลการวิจัยพัฒนาต่อยอดเป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายตามข้อเสนอแนะเพื่อให้เกษตรกรใช้เป็นประโยชน์ได้ต่อไป","PeriodicalId":145995,"journal":{"name":"Suranaree Journal of Social Science","volume":"32 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2022-04-08","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"115956757","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การเพิ่มผลิตภาพแรงงานโดยการลดความสูญเปล่าที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น ในกระบวนการเลี้ยงสุกรขุนด้วยหลักการ ECDRS ในจังหวัดเลย 通过省内的ECDR原则来减少不必要的运动造成的浪费来提高劳动生产率。
Suranaree Journal of Social Science Pub Date : 2022-04-04 DOI: 10.55766/zmuq8380
ธรณินทร์ สอนพรม, ปณัทพร เรืองเชิงชุม
{"title":"การเพิ่มผลิตภาพแรงงานโดยการลดความสูญเปล่าที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น ในกระบวนการเลี้ยงสุกรขุนด้วยหลักการ ECDRS ในจังหวัดเลย","authors":"ธรณินทร์ สอนพรม, ปณัทพร เรืองเชิงชุม","doi":"10.55766/zmuq8380","DOIUrl":"https://doi.org/10.55766/zmuq8380","url":null,"abstract":"การวิจัยนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสูญเปล่า รวมถึงศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสูญเปล่า และเพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มผลิตภาพแรงงานโดยการลดความสูญเปล่าที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นในกระบวนการเลี้ยงสุกรขุนด้วยหลักการ ECDRS ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานมีหน่วยวิเคราะห์ข้อมูลในระดับปัจเจกบุคคลเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม รวมถึงสัมภาษณ์เชิงลึกโดยสุ่มแบบเจาะจง มีกลุ่มเป้าหมาย 18 คน และเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามโดยสุ่มแบบมีระบบ มีกลุ่มตัวอย่าง 101 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแผนภูมิกระบวนการไหล ผังการดําเนินการ ปัจจัยเชิงสาเหตุ แผนผังกระบวนการ IDEF และหลักการ ECDRS ผลการวิจัยพบว่า ความสูญเปล่าที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นในกระบวนการเลี้ยงสุกรขุนส่งผลให้เวลาในการปฏิบัติงานสูงถึง 57.04 นาที โดยปัจจัยส่วนการปฏิบัติงานเป็นปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสูญเปล่าที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นมากที่สุด และพบว่าผลิตภาพแรงงานมีค่า 63.16 ตัวต่อชั่วโมงแรงงาน จึงเสนอแนวทางการเพิ่มผลิตภาพแรงงานทำให้ระยะเวลาการปฏิบัติงานลดลงจาก 57.04 เป็น 53.11 นาที ส่งผลให้ผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้นจาก 63.16 เป็น 66.11 ตัวต่อชั่วโมงแรงงาน ผู้วิจัยจึงเสนอเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรขุนให้ความสำคัญต่อการเพิ่มผลิตภาพแรงงานโดยลดความสูญเปล่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน","PeriodicalId":145995,"journal":{"name":"Suranaree Journal of Social Science","volume":"12 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2022-04-04","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"130579116","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
Factors Affecting Employment Intention and Student Satisfaction in Accounting Internship: A Case of International Private University 会计实习就业意向与学生满意度的影响因素:以国际私立大学为例
Suranaree Journal of Social Science Pub Date : 2022-04-01 DOI: 10.55766/sjnf7898
Victorina Villanueva-Vunnasiri, Lynn Lynn Shane, Theresa Thaneetananont, Issorasak Santivitoonvongs
{"title":"Factors Affecting Employment Intention and Student Satisfaction in Accounting Internship: A Case of International Private University","authors":"Victorina Villanueva-Vunnasiri, Lynn Lynn Shane, Theresa Thaneetananont, Issorasak Santivitoonvongs","doi":"10.55766/sjnf7898","DOIUrl":"https://doi.org/10.55766/sjnf7898","url":null,"abstract":"This research aims to examine the relationship between accounting student-interns evaluation, their supervisor evaluation and student satisfaction toward internship, and employment intention. Questionnaires were used to collect data from 98 accounting student-interns and 98 of their supervisors The collected data was analyzed in terms of Cronbach's alpha coefficient analysis, factor analysis, composite reliability, average variance extracted, and multiple regression analysis.  The results reveal that (1) student evaluation is significantly related to student satisfaction toward the internship program but not to employment intention and (2) supervisor evaluation is significantly related to employment intention but not to student satisfaction toward internship.","PeriodicalId":145995,"journal":{"name":"Suranaree Journal of Social Science","volume":"40 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2022-04-01","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"121831502","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
บทปริทัศน์ว่าด้วยนโยบายสาธารณะเพื่อการจัดการขยะอาหาร 公共政策废物管理的展望
Suranaree Journal of Social Science Pub Date : 2022-03-30 DOI: 10.55766/ebjb9105
อรสุภาว์ สายเพชร, ฆริกา คันธา
{"title":"บทปริทัศน์ว่าด้วยนโยบายสาธารณะเพื่อการจัดการขยะอาหาร","authors":"อรสุภาว์ สายเพชร, ฆริกา คันธา","doi":"10.55766/ebjb9105","DOIUrl":"https://doi.org/10.55766/ebjb9105","url":null,"abstract":"บทปริทัศน์นี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของขยะอาหารในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนนโยบายที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่า นโยบายสาธารณะเป็นเครื่องมือของภาครัฐที่หลายประเทศนำมาใช้ในการบริหารจัดการขยะอาหารอย่างเป็นระบบ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ส่งผลให้ปริมาณขยะอาหารลดลงอย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าประสงค์ที่ 12.3 ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้วิจัยจึงเสนอแนะข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อจัดการขยะอาหารสำหรับประเทศไทย อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้กำหนดนโยบายและทุกภาคส่วนในสังคมไทย เพื่อร่วมกันดำเนินการสู่การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน","PeriodicalId":145995,"journal":{"name":"Suranaree Journal of Social Science","volume":"655 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2022-03-30","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"121066599","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
องค์ประกอบที่มีผลต่อความต้องการส่งเสริมการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออก ของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดในเขตภาคเหนือของประเทศไทย 促进菠萝生产的要素是泰国北部菠萝种植者的出口。
Suranaree Journal of Social Science Pub Date : 2022-03-28 DOI: 10.55766/wylp7494
เทอดพันธ์ ธรรมรัตนพงษ์, เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, จินดา ขลิบทอง
{"title":"องค์ประกอบที่มีผลต่อความต้องการส่งเสริมการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออก ของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดในเขตภาคเหนือของประเทศไทย","authors":"เทอดพันธ์ ธรรมรัตนพงษ์, เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, จินดา ขลิบทอง","doi":"10.55766/wylp7494","DOIUrl":"https://doi.org/10.55766/wylp7494","url":null,"abstract":"ภาคเหนือของประเทศไทยมีการส่งออกสับปะรดผลสดไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่กฎระเบียบข้อบังคับการนำเข้าสินค้าทำให้เกษตรกรไม่ต้องการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออก  งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบการส่งเสริมการเกษตรที่เกษตรกรต้องการได้รับสำหรับการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออก โดยการศึกษาหาตัวแปรที่สำคัญต่อการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออก ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviews) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ได้ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 ตัวแปร และนำมาใช้สำรวจความต้องการได้รับการส่งเสริมการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออกกับเกษตรกร เมื่อนำตัวแปร ทั้ง 30 ตัวแปร มาหาความสัมพันธ์กันเพื่อลดจำนวนตัวแปรลง โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) และสร้างเป็นองค์ประกอบใหม่ พบว่า ได้องค์ประกอบ จำนวน 5 ด้าน ได้แก่  1) การส่งเสริมการผลิตสับปะรดส่งออกตามแนวคิดชีวิตวิถีใหม่  2) การส่งเสริมการค้าสับปะรดระหว่างประเทศ  3) การส่งเสริมการรวมกลุ่มและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร  4) การส่งเสริมการศึกษาวิจัยนวัตกรรมการผลิตสับปะรด และ  5) การส่งเสริมด้านธรรมาภิบาลธุรกิจสับปะรด  ทั้งนี้องค์ประกอบความต้องการส่งเสริมการเกษตรทั้ง 5 ด้าน มีผลช่วยให้เกษตรกรต้องการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออก ได้ถึงร้อยละ 65.30  โดยองค์ประกอบด้านการส่งเสริมการค้าสับปะรดระหว่างประเทศ มีผลต่อความต้องการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออกของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด มากที่สุด (Beta = 0.133)  ทั้งนี้สามารถนำมาเขียนเป็นสมการเพื่อใช้ในการพยากรณ์ คือ  = 4.355 + 0.353X2 + 0.393X1 + 0.270X4 + 0.319X3 + 0.268X5 จากผลงานวิจัยเป็นแนวทางให้ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง นำไปใช้ส่งเสริมให้เกษตรกร เกิดความต้องการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออกที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและตรงตามความต้องการของผู้บริโภค","PeriodicalId":145995,"journal":{"name":"Suranaree Journal of Social Science","volume":"77 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2022-03-28","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"122523568","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
Usage a Blended Learning Model to Promote the Career of Thai Massage for Health for Adult Students 运用混合式学习模式促进成人泰式保健按摩事业的发展
Suranaree Journal of Social Science Pub Date : 2022-03-21 DOI: 10.55766/nsfc3577
Phantipa Amornrit, Chalabhorn Suwansumrit, Thaweerat Thubthimthong
{"title":"Usage a Blended Learning Model to Promote the Career of Thai Massage for Health for Adult Students","authors":"Phantipa Amornrit, Chalabhorn Suwansumrit, Thaweerat Thubthimthong","doi":"10.55766/nsfc3577","DOIUrl":"https://doi.org/10.55766/nsfc3577","url":null,"abstract":"       This research aimed to study the implementation of a blended learning model for career promotion of Thai massage for health for adult students. The research samples comprised 34 adult students of Traditional Medical Clinic at Sirindhorn College of Public Health, Chonburi, selected by purposive sampling. The research tools were 1) a blended learning model for career promotion of Thai massage for health for adult students and 2) tools to study the outcome of implementing a blended learning model, including (1) a test on Thai massage for health, (2) an evaluation form on Thai massage for health skills, (3) an observation form of learners’ participation in learning activities through the learning model, and (4) a satisfaction assessment form. The data were analyzed using dependent sample t-test, frequency, percentage, and standard deviation. The results of the research were as follows: 1) the comparison of knowledge assessment in Thai massage for health of the learners showed that the mean of the post-test score after the learning activities were 0.05 percent significantly higher than that of the pre-test score, 2) the evaluation of Thai massage practice skills showed that learners can practice at the most correct level (90% and above) and at the correct level (80-90% and above), 3) the observation of learners participating in the activities showed that the average of the students' participation was at a high level, and 4) the sample group showed that the overall level of satisfaction was at a high level. The participants viewed that learning through the model can be further applied and promote a career at a high level.","PeriodicalId":145995,"journal":{"name":"Suranaree Journal of Social Science","volume":"14 9 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2022-03-21","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"122229042","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 1
0
×
引用
GB/T 7714-2015
复制
MLA
复制
APA
复制
导出至
BibTeX EndNote RefMan NoteFirst NoteExpress
×
提示
您的信息不完整,为了账户安全,请先补充。
现在去补充
×
提示
您因"违规操作"
具体请查看互助需知
我知道了
×
提示
确定
请完成安全验证×
相关产品
×
本文献相关产品
联系我们:info@booksci.cn Book学术提供免费学术资源搜索服务,方便国内外学者检索中英文文献。致力于提供最便捷和优质的服务体验。 Copyright © 2023 布克学术 All rights reserved.
京ICP备2023020795号-1
ghs 京公网安备 11010802042870号
Book学术文献互助
Book学术文献互助群
群 号:481959085
Book学术官方微信