{"title":"ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ","authors":"วิทมา ธรรมเจริญ, นิทัศนีย์ เจริญงาม, ญาดาภา โชติดิลก, นิตยา ทองหนูนุ้ย","doi":"10.55766/wstu1754","DOIUrl":null,"url":null,"abstract":"การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี สุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นแบบหลายขั้น ได้ตัวอย่างผู้สูงอายุที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน 2563 ค่าความตรงเชิงเนื้อหาประเมินโดยใช้ค่า IOC ซึ่งผลการหาค่า IOC พบว่าทุกข้อมีค่าตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป แสดงว่ามีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ค่าความเชื่อมั่นประเมินโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นมากกว่า 0.8 ดังนั้นเครื่องมือที่ใช้มีความคงเส้นคงวา วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณโดยวิธีขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับในระดับดี ร้อยละ 61.10 และมีคุณภาพการนอนหลับในระดับไม่ดี ร้อยละ 39.90 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยด้านการใช้ยานอนหลับ ด้านภาวะซึมเศร้า ด้านจิตใจและอารมณ์ (ความเครียด) ด้านแหล่งที่มาของรายได้ มาจากญาติพี่น้อง การดื่มสุรา และด้านประวัติการป่วยทางจิตเวชในครอบครัว ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ได้ร้อยละ 23.60 (R square) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05","PeriodicalId":145995,"journal":{"name":"Suranaree Journal of Social Science","volume":"33 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0000,"publicationDate":"2022-05-09","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":"0","resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":null,"PeriodicalName":"Suranaree Journal of Social Science","FirstCategoryId":"1085","ListUrlMain":"https://doi.org/10.55766/wstu1754","RegionNum":0,"RegionCategory":null,"ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":null,"EPubDate":"","PubModel":"","JCR":"","JCRName":"","Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
影响老年人睡眠质量的因素。
这项研究的目的是研究停留在Chanthaburi省的老年人的睡眠质量和影响因素。这项研究的对象是375名年龄在6月到9月之间的老年人。结果表明,老年人的睡眠质量良好,61.10%,睡眠质量差。这一比例为39.90。多相回归分析发现,家庭收入来源、酗酒和精神病史的收入来源在Chanthaburi省的新巴省有23.60%的老年人睡眠质量变化,显著性显著,为0.05。
本文章由计算机程序翻译,如有差异,请以英文原文为准。