The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council最新文献

筛选
英文 中文
ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมป้องกันการกำเริบของโรคในเด็กวัยรุ่นโรคเอสแอลอี ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมป้องกันการกำเริบของโรคในเด็กวัยรุ่นโรคเอสแอลอี
The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council Pub Date : 2024-03-26 DOI: 10.60099/jtnmc.v39i01.266616
ปาณิสรา กิจเจริญรุ่งโรจน์, ชยนุช ไชยรัตนะ, นันทกา สวัสดิพานิช, ธวัชชัย ดีขจรเดช
{"title":"ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมป้องกันการกำเริบของโรคในเด็กวัยรุ่นโรคเอสแอลอี","authors":"ปาณิสรา กิจเจริญรุ่งโรจน์, ชยนุช ไชยรัตนะ, นันทกา สวัสดิพานิช, ธวัชชัย ดีขจรเดช","doi":"10.60099/jtnmc.v39i01.266616","DOIUrl":"https://doi.org/10.60099/jtnmc.v39i01.266616","url":null,"abstract":"บทนำ โรคเอสแอลอี เกิดจากความแปรปรวนของระบบภูมิต้านทานที่มีออโตแอนติบอดีเกิดขึ้น ทำให้มีการทำลายเนื้อเยื่อในร่างกาย พบได้มากในเด็กวัยรุ่น หากเด็กวัยรุ่นโรคเอสแอลอีมีการจัดการตนเองอย่างถูกต้อง เหมาะสมและต่อเนื่อง จะช่วยป้องกันการกำเริบของโรค และลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลได้ \u0000วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมป้องกันการกำเริบของโรคในเด็กวัยรุ่นโรคเอสแอลอี\u0000การออกแบบการวิจัย การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง \u0000วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยรุ่นโรคเอสแอลอีอายุ 10 – 18 ปี ที่มารับบริการที่คลินิกกุมารเวชกรรม โรคไตและโรคข้อในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูงแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 40 คน คัดเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า จัดเข้ากลุ่มแบบเจาะจงแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 20 คนได้รับการพยาบาล ตามปกติ และกลุ่มทดลอง 20 คน ได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับโปรแกรมการจัดการตนเอง ใช้แนวคิด การจัดการตนเองของเครียร์เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย ประกอบด้วย การให้ความรู้ ฝึกทักษะการจัดการตนเอง และเข้าสู่กระบวนการจัดการตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เด็กโรคเอสแอลอี และแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันการกำเริบของโรค ซึ่งทดสอบ ความตรงตามเนื้อหาได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .88 และ .95 ตามลำดับ และทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามความรู้เด็กโรคเอสแอลอีได้ค่าคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 เท่ากับ .74 และแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกัน การกำเริบของโรคได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ไคสแควร์ การทดสอบทีคู่ และการทดสอบทีอิสระ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 \u0000ผลการวิจัย คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันการกำเริบของโรคในกลุ่มควบคุมหลังการทดลองสูงกว่า ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -2.656, p = .016) ภายหลังได้รับโปรแกรม คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรม ป้องกันการกำเริบของโรคในกลุ่มทดลอง (M = 2.334, SD = 0.296) สูงกว่าก่อนการทดลอง (M=2.072, SD = 0.475) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -3.285, p = .002) ส่วนคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันการกำเริบของโรค ระหว่างกลุ่มควบคุม (M = 2.188, SD = 0.326) และกลุ่มทดลอง (M = 2.334, SD = 0.296) ไม่แตกต่างกัน อย่างนัยสำคัญทางสถิติ (t = -1.481, p = .074) แสดงว่าโปรแกรมการจัดการตัวเองยังไม่มีผลช่วยปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการป้องกันการกำเริบของโรคในเด็กวัยรุ่นโรคเอสแอลอีอย่างมีประสิทธิภาพ \u0000ข้อเสนอแนะ แม้โปรแกรมการจัดการตนเองไม่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันการกำเริบของโรค แต่มีแนวโน้ม ว่าพฤติกรรมป้องกันการกำเริบของโรคดีขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรพัฒนาโปรแกรมให้มีความเฉพาะเจาะจง เพื่อให้เด็กวัยรุ่นโรคเอสแอลอีเกิดการจัดการตนเองอย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งด้านการรับประทานอาหาร ด้านการรับประทานยา และด้านการปฏิบัติกิจกรรมทั่วไป","PeriodicalId":507625,"journal":{"name":"The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council","volume":null,"pages":null},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-26","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140380194","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของบุคลากรทางการพยาบาลที่หน่วยฉุกเฉินในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของบุคลากรทางการพยาบาลที่หน่วยฉุกเฉินในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council Pub Date : 2024-03-26 DOI: 10.60099/jtnmc.v39i01.266648
ศิรินาถ หลวงนรินทร์, เสาวรส คงชีพ, ฉันท์ชนก วันดี
{"title":"ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของบุคลากรทางการพยาบาลที่หน่วยฉุกเฉินในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร","authors":"ศิรินาถ หลวงนรินทร์, เสาวรส คงชีพ, ฉันท์ชนก วันดี","doi":"10.60099/jtnmc.v39i01.266648","DOIUrl":"https://doi.org/10.60099/jtnmc.v39i01.266648","url":null,"abstract":"บทนำ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดข้อจำกัดในการให้บริการทางสุขภาพของบุคลากรทางการพยาบาลเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในการให้บริการผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องรับผู้ป่วยเพื่อการรักษาที่เร่งด่วนและเป็นด่านหน้าของโรงพยาบาลในการให้บริการ จึงส่งผลให้เกิดความเครียดในงานได้ง่าย นอกจากนี้ปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องยังอาจร่วมกันส่งผลกระทบต่อระดับความเครียดที่เพิ่มมากขึ้น มีผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานตลอดจนคุณภาพการให้บริการผู้ป่วย \u0000วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของบุคลากร ทางการพยาบาลที่ห้องฉุกเฉินในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 \u0000การออกแบบวิจัย การวิจัยแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ \u0000วิธีการดำเนินการวิจัย การศึกษาครั้งนี้ศึกษาในประชากรพยาบาลวิชาชีพและผู้ช่วยพยาบาลที่ปฏิบัติงาน ที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 118 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่าง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 โดยการตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัยจากการทบทวนวรรณกรรมและ 3) แบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 และตรวจสอบความเชื่อมั่นในผู้ที่มีลักษณะคล้ายกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 ราย ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .93 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสหสัมพันธ์สเปียร์แมน \u0000ผลการวิจัย บุคลากรทางการพยาบาลที่ห้องฉุกเฉินจำนวน 118 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 90.7) อายุเฉลี่ย 30.34 ปี (SD = 7.03) ตำแหน่งงานพยาบาล (ร้อยละ 58.5) สถานภาพโสด (ร้อยละ 79.7) ค่ามัธยฐาน ของประสบการณ์การทำงานที่แผนกฉุกเฉิน 5.5 ปี ค่ามัธยฐานของรายได้ต่อเดือน 30,000 บาท ประมาณครึ่งหนึ่ง มีรายได้ไม่เพียงพอ (ร้อยละ 50.8) มีชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์อยู่ในช่วง 41-49 ชั่วโมง (ร้อยละ 71.2) และ ทุกคนได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วอย่างน้อย 1 เข็ม ค่าเฉลี่ยความเครียดของบุคลากรทางการพยาบาลที่ห้องฉุกเฉินอยู่ในระดับความเครียดรุนแรง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเครียด ได้แก่ การเปลี่ยนแปลง สถานการณ์การทำงานและระบบงาน (r=.533, p<.001) ความกลัวการติดเชื้อหรือการแพร่กระจายเชื้อ (r=.408, p<.001) ปัญหาเศรษฐกิจจากรายได้ที่ลดลง (r=.431, p<.001) การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน (r=.401, p<.001) ความบีบคั้นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 (r=.595, p<.001) การเปลี่ยนแปลงชีวิตวิถีใหม่ (r=.527, p<.001) และการสื่อสารและการประสานงาน (r=.587, p<.001) \u0000ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลให้กับผู้บริหารในการพัฒนาแนวทางในการบริหารจัดการความเครียดที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยบุคลากรทางการพยาบาลในห้องฉุกเฉินสามารถปฏิบัติงานท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิด-19","PeriodicalId":507625,"journal":{"name":"The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council","volume":null,"pages":null},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-26","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140379164","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การรับรู้และความคาดหวังต่อการจัดการความรุนแรงในสถานพยาบาลที่ผู้รับบริการกระทำต่อบุคลากรทางการแพทย์ที่หน่วยฉุกเฉินและหน่วยวิกฤต การรับรู้และความคาดหวังต่อการจัดการความรุนแรงในสถานพยาบาลที่ผู้รับบริการกระทำต่อบุคลากรทางการแพทย์ที่หน่วยฉุกเฉินและหน่วยวิกฤต
The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council Pub Date : 2024-03-26 DOI: 10.60099/jtnmc.v39i01.266384
ทิพวรรณ เรืองชูพงศ์
{"title":"การรับรู้และความคาดหวังต่อการจัดการความรุนแรงในสถานพยาบาลที่ผู้รับบริการกระทำต่อบุคลากรทางการแพทย์ที่หน่วยฉุกเฉินและหน่วยวิกฤต","authors":"ทิพวรรณ เรืองชูพงศ์","doi":"10.60099/jtnmc.v39i01.266384","DOIUrl":"https://doi.org/10.60099/jtnmc.v39i01.266384","url":null,"abstract":"บทนำ ความรุนแรงที่กระทำโดยผู้ป่วยและญาติต่อบุคลากรทางการแพทย์เป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง การศึกษาการรับรู้และความคาดหวังของบุคลากรทางการแพทย์ต่อการจัดการของสถานพยาบาล มีความสำคัญต่อการบริหารจัดการเพื่อป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ความรุนแรงดังกล่าว \u0000วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้และความคาดหวังของบุคลากรทางการแพทย์ในหน่วยฉุกเฉิน และหน่วยวิกฤตต่อนโยบายการจัดการโรงพยาบาลสำหรับความรุนแรง ในสถานพยาบาลทั้งระดับหน่วย และระดับโรงพยาบาล \u0000การออกแบบการวิจัย การวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้กรอบแนวคิดวิธีการจัดการความรุนแรงในสถานพยาบาล \u0000วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในหน่วยฉุกเฉินและ หน่วยวิกฤตของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 111 ราย ได้แก่ พยาบาล วิชาชีพ 79 ราย บุคลากรทางการแพทย์อื่น 32 ราย เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า กำหนดขนาดตัวอย่างตามหลักการของ Yamane เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถาม การรับรู้และความคาดหวังต่อการจัดการความรุนแรงของหน่วยงานและโรงพยาบาล และคำถามปลายเปิด เกี่ยวกับข้อเสนอแนะ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือวิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์เท่ากับ .96 ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามการรับรู้และความคาดหวังต่อการจัดการความรุนแรง ในสถานพยาบาลเท่ากับ .98 และ .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา \u0000ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 82.9) และเป็นพยาบาลวิชาชีพ (ร้อยละ 71.2) มีการรับรู้ต่อการจัดการความรุนแรงของโรงพยาบาลทั้งในระดับหน่วยงานและในระดับโรงพยาบาล อยู่ในระดับปานกลาง (M=3.04, SD=0.71; M=2.80, SD=0.83 ตามลำดับ) และมีความคาดหวัง ต่อการจัดการความรุนแรงทั้งในระดับหน่วยงานและระดับโรงพยาบาลอยู่ในระดับสูง (M=4.42, SD=0.75 และ M=4.42, SD=0.86 ตามลำดับ) การรับรู้ต่อการจัดการความรุนแรงของกลุ่มตัวอย่างในหน่วยฉุกเฉิน อยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง ในขณะที่หน่วยวิกฤตอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาจากคำถามปลายเปิด พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะให้มีมาตรการและแนวทางการจัดการความรุนแรงที่ชัดเจน \u0000ข้อเสนอแนะ สถานพยาบาลควรกำหนดมาตรการและแนวทางปฏิบัติในการจัดการความรุนแรง ในสถานพยาบาลอย่างชัดเจนโดยเฉพาะที่หน่วยฉุกเฉิน เพื่อให้สอดคล้องกับความคาดหวังของบุคลากร ทางการแพทย์","PeriodicalId":507625,"journal":{"name":"The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council","volume":null,"pages":null},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-26","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140379496","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในชุมชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในชุมชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร
The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council Pub Date : 2024-03-26 DOI: 10.60099/jtnmc.v39i01.266375
พิไลวรรณ ใจชื้น
{"title":"ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในชุมชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร","authors":"พิไลวรรณ ใจชื้น","doi":"10.60099/jtnmc.v39i01.266375","DOIUrl":"https://doi.org/10.60099/jtnmc.v39i01.266375","url":null,"abstract":"บทนำ การใช้สื่อสังคมออนไลน์มีประโยชน์ในการสืบค้นความรู้และทักษะหรือการสื่อสาร อย่างไรก็ตาม การขาดทักษะที่ดีในการใช้สื่ออาจมีความเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะวัยรุ่นซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ค่อนข้างมาก \u0000วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ และพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่น และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล (เพศ อายุ ระดับ การศึกษา) และทักษะการรู้เท่าทันสื่อ กับพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในชุมชนแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร \u0000การออกแบบการวิจัย การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ \u0000วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นอายุ 13-19 ปี จำนวน 371 คนที่ศึกษาในโรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร เขตหลักสี่ คัดเลือกตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2565 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ แบบสอบถามทักษะการรู้เท่าทันสื่อ และแบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งมีค่าดัชนี ความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์เท่ากับ .98 และ 1.00 ตามลำดับ วิเคราะห์ความเชื่อมั่น ของเครื่องมือโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าเท่ากับ .88 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา Spearman correlation, Point biserial correlation และ Biserial correlation \u0000ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากที่สุด (ร้อยละ 49.87) อายุเฉลี่ย 15.27 ปี (SD=1.67) การศึกษาระดับมัธยมต้น (ร้อยละ 49.33) ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือ (ร้อยละ 84.90) ช่วงเวลาที่ ใช้สื่อสังคมออนไลน์มากที่สุดคือ 16.01-24.00 น. (ร้อยละ 66.04) เหตุผลในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ คือเพื่อความสนุก (ร้อยละ 78.44) ค่าเฉลี่ยทักษะการรู้เท่าทันสื่อโดยรวมอยู่ในระดับดี (M=3.58, SD=0.77) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ (M=1.94, SD=0.43) เพศและอายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติในระดับต่ำ (rpb=-.112, p=.032 และ rs=.139, p=.007 ตามลำดับ) ส่วนระดับการศึกษาและ ทักษะการรู้เท่าทันสื่อไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (rb = .064, p = .216 และ rs=-.003, p=.948 ตามลำดับ) \u0000ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับชุมชนเขตหลักสี่ ทีมสหวิชาชีพและผู้มีส่วน เกี่ยวข้องในการวางแผนติดตามเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะในด้านคุณภาพการนอนหลับและการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ รวมทั้งการส่งเสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อโดยเฉพาะ ด้านการสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของวัยรุ่น","PeriodicalId":507625,"journal":{"name":"The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council","volume":null,"pages":null},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-26","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140380190","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ในจังหวัดนครราชสีมา ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ในจังหวัดนครราชสีมา
The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council Pub Date : 2024-03-26 DOI: 10.60099/jtnmc.v39i01.267237
สุเนตร บุบผามาลา, แสงเดือน จินดาไพศาล, ปรียานุช จารึกกลาง, พัชฌาพร มนกลาง
{"title":"ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ในจังหวัดนครราชสีมา","authors":"สุเนตร บุบผามาลา, แสงเดือน จินดาไพศาล, ปรียานุช จารึกกลาง, พัชฌาพร มนกลาง","doi":"10.60099/jtnmc.v39i01.267237","DOIUrl":"https://doi.org/10.60099/jtnmc.v39i01.267237","url":null,"abstract":"บทนำ การตั้งครรภ์เป็นภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ หากสตรีตั้งครรภ์ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพจะสามารถลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในทุกระยะของการตั้งครรภ์และการคลอดได้ \u0000วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยนำปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมกับการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ \u0000การออกแบบการวิจัย การวิจัยแบบบรรยายเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทำนาย โดยใช้กรอบแนวคิด PRECEDE-PROCEED Model \u0000วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุ 15-45 ปีที่มารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล ในกำกับของรัฐบาลในเขตจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 218 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม 5 ส่วน ได้แก่ 1) ปัจจัยนำด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล คือ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ครอบครัว คุณภาพการฝากครรภ์ 2) ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ 3) เจตคติต่อพฤติกรรม การดูแลตนเอง การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคของการดูแลตนเอง ปัจจัยเอื้อด้านการเข้าถึงบริการ สุขภาพในการฝากครรภ์ และปัจจัยเสริมด้านการสนับสนุนของครอบครัว เพื่อน และบุคลากรทางการแพทย์ 4) พฤติกรรมการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์และ 5) ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์และการคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ \u0000ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุเฉลี่ย 27.22 ปี (SD=6.48) มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรม ด้านการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ในระดับมาก (M=3.45, SD=0.27) มีการฝากครรภ์ได้คุณภาพร้อยละ 74.77 น้ำหนักเพิ่มตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 37.61 คลอดครบกำหนดร้อยละ 97.20 และทารกแรกเกิดน้ำหนัก ตามเกณฑ์มาตฐานร้อยละ 96.33 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ ปัจจัยนำด้านอายุ (r=.201, p=.001) เจตคติต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง การรับรู้ประโยชน์ของการดูแลตนเอง และการรับรู้อุปสรรคของการดูแลตนเอง (r=.426, .340, -.460, p<.001) และความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ (r=.163, p=.008) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การเข้าถึงบริการสุขภาพในการฝากครรภ์ (r=.411, p<.001) และปัจจัยเสริม ได้แก่ การสนับสนุนของครอบครัวเพื่อนฝูงและบุคลากรทางการแพทย์ (r=.418, p<.001) ผลการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณพบ 3 ปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเอง ขณะตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 28.10 (Adjusted R2= .271, F= 27.854, p<.001) ได้แก่ ปัจจัยนำด้านอายุ (β = .133, p=.024) การรับรู้อุปสรรคของการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ (β = -.319, p<.001) และปัจจัยเสริม ด้านการสนับสนุนของครอบครัว เพื่อน และบุคลากรทางการแพทย์ (β = .257, p<.001) \u0000ข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยนี้สามารถนำปัจจัยสำคัญมาใช้ในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ โดยการออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับอายุ การลดอุปสรรคที่ส่งผลต่อการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ และ การส่งเสริมครอบครัวให้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพสตรีตั้งครรภ์ และการส่งเสริมบทบาทของพยาบาลผดุงครรภ์ในการดูแล และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างครอบคลุม และสะดวกต่อสตรีตั้งครรภ์","PeriodicalId":507625,"journal":{"name":"The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council","volume":null,"pages":null},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-26","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140379819","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council Pub Date : 2024-03-26 DOI: 10.60099/jtnmc.v39i01.266842
สุจินดา คงเนียม, สุทธีพร มูลศาสตร์, สมนึก สกุลหงส์โสภณ
{"title":"ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง","authors":"สุจินดา คงเนียม, สุทธีพร มูลศาสตร์, สมนึก สกุลหงส์โสภณ","doi":"10.60099/jtnmc.v39i01.266842","DOIUrl":"https://doi.org/10.60099/jtnmc.v39i01.266842","url":null,"abstract":"บทนำ โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเฉพาะโรคหัวใจ และหลอดเลือด การศึกษาที่ผ่านมาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ ด้านสุขภาพ ดังนั้นการพัฒนาให้ผู้ป่วยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสม และเป็นการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด \u0000วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือด \u0000การออกแบบวิจัย การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง \u0000วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ อาศัยอยู่ใน อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าดังนี้ 1) ความดันโลหิตซิสโตลิกอยู่ระหว่าง 140-179 มิลลิเมตรปรอท หรือระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิกอยู่ระหว่าง 90-109 มิลลิเมตรปรอท และ 2) มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เลือกตัวอย่างโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ จัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 35 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีระยะเวลา 12 สัปดาห์ กิจกรรมประกอบด้วยการอบรม เชิงปฏิบัติการในการพัฒนาศักยภาพเชิงกระบวนการคิด พัฒนาการสื่อสารความรู้ทั่วไป พัฒนาความรู้เฉพาะโรค และ การติดตามการปฏิบัติตัวโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2) คู่มือความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด 3) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4) แบบสอบถามพฤติกรรม การดูแลตนเอง และ 5) แบบบันทึกคะแนนโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะ 10 ปีข้างหน้า ผลการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือส่วนที่ 1-4 เท่ากับ 1.00, 1.00, .86 และ 1.00 ตามลำดับ และการตรวจสอบความเชื่อมั่นแบบคูเดอร์-ริชาร์ดสัน ของเครื่องมือส่วนที่ 3 ได้ค่า KR-20 เท่ากับ .82 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของเครื่องมือส่วนที่ 4 เท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Independent t-test, Paired t-test, Mann Whitney U test และ Wilcoxon Signed Ranks test \u0000ผลการวิจัย ตัวอย่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีคุณลักษณะคล้ายคลึงกัน ได้แก่ อายุเฉลี่ย 59.31 ปี (SD 7.38) และ 59.63 ปี (SD 6.64) ตามลำดับ การศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 74.29 และ 68.57 ตามลำดับ) ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย ความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวม (M 125.63, SD 4.33) และพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวม (M 4.63, SD 0.23) มากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (M 84.71, SD 14.12, p<.001; M 3.50, SD 0.46, p<.001, respectively) และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (M 87.63, SD 13.91, p<.001; M 3.44, SD 0.37, p<.001, respectively) และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (M 7.26, SD 3.39) น้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (M 9.92, SD 5.03, p <.001) และน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (M 10.50, SD 6.28, p = .031) \u0000ข้อเสนอแนะ พยาบาลวิชาชีพและทีมสุขภาพสามารถนำโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพไปประยุกต์ใช้ ในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในชุมชนเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด","PeriodicalId":507625,"journal":{"name":"The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council","volume":null,"pages":null},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-26","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140381001","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันจากสารทึบรังสีในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสี ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันจากสารทึบรังสีในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสี
The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council Pub Date : 2024-03-26 DOI: 10.60099/jtnmc.v39i01.266368
จิตรานันต์ กงวงษ์, เกศศิริ วงษ์คงคำ, ปรางทิพย์ ฉายพุทธ, กอบกุล เมืองสมบูรณ์
{"title":"ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันจากสารทึบรังสีในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสี","authors":"จิตรานันต์ กงวงษ์, เกศศิริ วงษ์คงคำ, ปรางทิพย์ ฉายพุทธ, กอบกุล เมืองสมบูรณ์","doi":"10.60099/jtnmc.v39i01.266368","DOIUrl":"https://doi.org/10.60099/jtnmc.v39i01.266368","url":null,"abstract":"บทนำ ภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันจากสารทึบรังสี เป็นภาวะไม่พึงประสงค์ที่สำคัญที่พบได้ในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสี การศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะนี้จะช่วยในการประเมิน ภาวะเสี่ยง เฝ้าระวังการเกิดหรือลดความรุนแรงของการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันจากสารทึบรังสีได้ \u0000วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ 1) ศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันจากสารทึบรังสี (Contrast-induced acute kidney injury: CI-AKI) ในผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับ การฉีดสารทึบรังสี (Contrast-enhanced computed tomography: CECT) 5 ปีย้อนหลัง 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของระดับความดันโลหิตซิสโตลิก ก่อนตรวจ CECT โรคเบาหวาน ค่าประมาณอัตราการกรองของไต (estimated Glomerular Filtration Rate, eGFR) ก่อนได้รับการตรวจ CECT และการได้รับสารทึบรังสีซ้ำภายใน 24-72 ชั่วโมง ต่อการเกิดภาวะ CI-AKI ในผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจ CECT และ 3) วิเคราะห์อำนาจการทำนายของระดับ ความดันโลหิตซิสโตลิกก่อนตรวจ CECT โรคเบาหวาน ค่า eGFR ก่อนได้รับการตรวจ CECT และการได้รับ สารทึบรังสีซ้ำภายใน 24-72 ชั่วโมง ต่อการเกิดภาวะ CI-AKI ในผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจ CECT \u0000การออกแบบการวิจัย การศึกษาย้อนหลังแบบศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย ใช้กรอบแนวคิดการปรับตัวของรอย (Roy’s adaptation model) \u0000วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มประวัติของผู้ป่วยระหว่างปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2563 ที่มารักษาในโรงพยาบาลตติยภูมิชั้นสูงแห่งหนึ่ง จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 260 ราย เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้เกณฑ์คัดเข้า คือ มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ได้รับตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และได้รับการฉีดสารทึบรังสีเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดดำ และใช้เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันจากสารทึบรังสี ตามเกณฑ์ Kidney Disease Improving Global Outcomes (KDIGO 2012) วิเคราะห์อำนาจการทำนายปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก กำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05 \u0000ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายและหญิงจำนวนใกล้เคียงกัน เป็นวัยสูงอายุร้อยละ 60.8 มีอายุเฉลี่ย 62.5 ปี (SD = 17.7) พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันจากการได้รับสารทึบรังสีร้อยละ 38.8 และพบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันจากสารทึบรังสี ได้แก่ ระดับความดันโลหิต ซิสโตลิก ก่อนตรวจ CECT (OR 21.953, 95% CI [2.635– 182.87], p = .004) ค่า eGFR ก่อนได้รับการตรวจ CECT น้อยกว่า 60 mL/min/1.73 m2 (OR 4.887, 95% CI [2.603– 9.176], p < .001) การได้รับสารทึบรังสี ซ้ำภายใน 24-72 ชั่วโมง (OR 2.351, 95% CI [1.047– 5.278], p = .038) สามารถร่วมทำนายการเกิดภาวะ CI-AKI ในผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจ CECT ด้วยความแปรปรวน 27.3% (Nagelkerke R2= .273, p < .05) \u0000ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาแสดงถึงอัตราการเกิดการบาดเจ็บของไตเนื่องจากการได้รับสารทึบรังสีมีอัตราสูงขึ้น การคัดกรองความเสี่ยงของผู้ป่วยไม่เพียงพอ ผู้ป่วยควรได้รับการป้องกันภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันจากสารทึบรังสีในหลายปัจจัยเสี่ยง บุคลากรทางสุขภาพควรประเมินและเฝ้าระวังการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน ในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตซิสโตลิกและค่าประมาณอัตราการกรองของไตต่ำ และติดตามประเมินหลังได้รับสารทึบรังสีซ้ำภายใน 24-72 ชั่วโมง","PeriodicalId":507625,"journal":{"name":"The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council","volume":null,"pages":null},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-26","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140377956","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การใช้แนวทางการจัดการรายกรณีที่นำโดยพยาบาลในการดูแลเด็กเปราะบางและครอบครัว การใช้แนวทางการจัดการรายกรณีที่นำโดยพยาบาลในการดูแลเด็กเปราะบางและครอบครัว
The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council Pub Date : 2024-03-26 DOI: 10.60099/jtnmc.v39i01.265472
เอมอร ทาระคำ, โชคนิติพัฒน์ วิสูญ
{"title":"การใช้แนวทางการจัดการรายกรณีที่นำโดยพยาบาลในการดูแลเด็กเปราะบางและครอบครัว","authors":"เอมอร ทาระคำ, โชคนิติพัฒน์ วิสูญ","doi":"10.60099/jtnmc.v39i01.265472","DOIUrl":"https://doi.org/10.60099/jtnmc.v39i01.265472","url":null,"abstract":"บทนำ ปัญหาของการดูแลเด็กเปราะบางทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในประเทศไทยทั้งในชุมชนเมืองและชนบท จำเป็นต้องมีความร่วมมือระหว่างทีมงานและเครือข่ายจากหลากหลายสาขาที่เชื่อมโยงทั้งคลินิกและชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทีมดูแลสุขภาพแบบสหวิชาชีพในการนำไปปฏิบัติจริงเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กเปราะบางและครอบครัว \u0000วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และผลของการใช้แนวทางการจัดการรายกรณีที่นำโดยพยาบาลในการดูแลเด็กเปราะบางและครอบครัว \u0000การออกแบบวิจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ \u0000วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือเด็กเปราะบางที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 18 คน ผู้ดูแลเด็กเปราะบางจำนวน 18 คน และทีมสหวิชาชีพ จำนวน 15 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป การจัดการรายกรณี แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กเปราะบางและครอบครัว และแบบประเมินความพึงพอใจของทีมสหวิชาชีพ ดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของการจัดการรายกรณี แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กเปราะบางและครอบครัวและแบบประเมินความพึงพอใจของทีมสหวิชาชีพ เท่ากับ .81, .80 และ .85 ตามลำดับ การตรวจสอบความเชื่อมั่นของ แบบประเมินความพึงพอใจ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .79 และ .76 ตามลำดับ นำแนวปฏิบัติ เฉพาะแต่ละประเภทของเด็กเปราะบางไปใช้ในกลุ่มตัวอย่างทุกรายที่เข้ารับการรักษา และการตรวจเยี่ยม 4 ครั้งหลังจากออกจากโรงพยาบาล ลงบันทึกข้อมูลการจัดการรายกรณีทุกรายในระหว่างโครงการ รวบรวมข้อมูลความพึงพอใจ ก่อนและหลังการเข้าเยี่ยมครั้งที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบวิลคอกซัน \u0000ผลการศึกษา ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 72.22) อายุเฉลี่ย 11.66 ปี (SD = 3.18) มีภาวะเปราะบาง ด้านสังคม (ร้อยละ 61.1) รองลงมาคือด้านจิตใจ (ร้อยละ 33.33) และด้านร่างกาย (ร้อยละ 5.56) ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 77.78 ) มีอายุเฉลี่ย 53.33 ปี (SD = 3.64) มีความสัมพันธ์กับเด็กโดยเป็นปู่ย่า-ตายาย (ร้อยละ 55.56) และมารดา (ร้อยละ 38.89) ทีมสหวิชาชีพประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ กุมารแพทย์ นักจิตวิทยา เภสัชกร และนักกายภาพบำบัด ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการดูแลถูกนำไปใช้เกือบทุกขั้นตอน ยกเว้นการวางแผนฉุกเฉิน ดำเนินการเพียงบางราย ผลการดำเนินงานด้านความพึงพอใจของเด็กเปราะบางและครอบครัว และของกลุ่มสหวิชาชีพ ต่อแนวทางการจัดการรายกรณีที่นำโดยพยาบาลพบว่า มีคะแนนความพึงพอใจสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = -3.626, p<.001; z = -3.430, p = .001 ตามลำดับ) ไม่พบการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการกลับมารักษาซ้ำ \u0000ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการดูแลเด็กเปราะบางโดยใช้การจัดการรายกรณีที่นำโดยพยาบาล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกในเบื้องต้น การสร้างระบบการจัดการการดูแลระยะยาว การเพิ่มขีดความสามารถของทีมในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนของเด็กและครอบครัว และการให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ทีมสามารถนำเด็กและครอบครัวออกจากความเปราะบางได้","PeriodicalId":507625,"journal":{"name":"The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council","volume":null,"pages":null},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-26","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140378300","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
ผลลัพธ์ทางคลินิกของรูปแบบโปรแกรมที่นำโดยพยาบาลในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ผลลัพธ์ทางคลินิกของรูปแบบโปรแกรมที่นำโดยพยาบาลในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council Pub Date : 2024-03-26 DOI: 10.60099/jtnmc.v39i01.265987
ไวยพร พรมวงค์, จรูญศรี มีหนองหว้า
{"title":"ผลลัพธ์ทางคลินิกของรูปแบบโปรแกรมที่นำโดยพยาบาลในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ","authors":"ไวยพร พรมวงค์, จรูญศรี มีหนองหว้า","doi":"10.60099/jtnmc.v39i01.265987","DOIUrl":"https://doi.org/10.60099/jtnmc.v39i01.265987","url":null,"abstract":"บทนำ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีการเจ็บป่วยที่ซับซ้อน ต้องการการดูแลรักษาระยะยาว และมีความเสี่ยงต่อการเข้ารักษาในโรงพยาบาล จึงต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจเพื่อให้มีผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดี อันจะนำไปสู่การลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต \u0000วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษารูปแบบของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่นำโดยพยาบาล ต่อผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว \u0000การออกแบบการวิจัย การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ \u0000วิธีการดำเนินการวิจัย การศึกษาที่นำมาทบทวนเป็นรายงานวิจัยเชิงทดลองที่มีกลุ่มควบคุม ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้รับการตีพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2557-2566 ฐานข้อมูล ที่สืบค้น ได้แก่ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ ThaiJO, PubMed, CINAHL, Clinical Key for Nursing, ScienceDirect และ ProQuest Nursing ประเมินคุณภาพงานวิจัยและสกัดข้อมูลงานวิจัยโดยใช้แบบประเมินที่พัฒนา โดยสถาบันโจนนาบริกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปเชิงเนื้อหา \u0000ผลการศึกษา พบรายงานวิจัยเชิงทดลองที่มีกลุ่มควบคุมจำนวน 7 เรื่องที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้า แนวคิด และทฤษฎีที่นำมาประยุกต์ใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจประกอบด้วย การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้าง แรงจูงใจ การเสริมสร้างพลังอำนาจ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน รูปแบบ การจัดกระทำ ส่วนใหญ่ใช้การออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว ส่วนผลของรูปแบบโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพ หัวใจที่นำโดยพยาบาลแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีจากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ความสามารถ ในการทำหน้าที่ของร่างกาย และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ยกเว้นระดับ B-type natriuretic peptide (BNP) อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดเป็นเพียงข้อสรุปจากงานวิจัยเพียง 1- 3 เรื่องในแต่ละผลลัพธ์ทางคลินิกเท่านั้น การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้สามารถนำเสนอรูปแบบแต่ยังไม่สามารถยืนยันประสิทธิผล ของโปรแกรมแต่ละรูปแบบได้ชัดเจน เนื่องจากการศึกษาเกี่ยวกับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่นำโดยพยาบาลมีจำนวนจำกัด \u0000ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ที่นำโดยพยาบาลเพิ่มมากขึ้น และพยาบาลควรให้ความรู้ร่วมกับการสร้างแรงจูงใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่บ้าน และมีการติดตามผู้ป่วยผ่านทางโทรศัพท์","PeriodicalId":507625,"journal":{"name":"The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council","volume":null,"pages":null},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-26","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140378892","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
ประสบการณ์ความจำบกพร่องในผู้สูงอายุ ประสบการณ์ความจำบกพร่องในผู้สูงอายุ
The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council Pub Date : 2024-03-26 DOI: 10.60099/jtnmc.v39i01.265864
วิวินท์ ปุรณะ
{"title":"ประสบการณ์ความจำบกพร่องในผู้สูงอายุ","authors":"วิวินท์ ปุรณะ","doi":"10.60099/jtnmc.v39i01.265864","DOIUrl":"https://doi.org/10.60099/jtnmc.v39i01.265864","url":null,"abstract":"บทนำ ปัญหาความจำบกพร่องเป็นหนึ่งในปัญหาของผู้สูงอายุที่อาจเป็นได้ทั้งความเสื่อม ตามวัยปกติและจากการมีภาวะสมองเสื่อมก่อนเวลาเนื่องจากเมื่อมีอายุมากขึ้นร่างกายจะมีความเสื่อมถอยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากพยาธิสภาพที่มีการตายของเซลล์ประสาทในสมอง หลายบริเวณส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดการถดถอยของความจำ ขาดความมั่นใจในตนเองเกิดความเครียด ความกลัว ต้องพึ่งพาผู้อื่นและนำไปสู่การขาดแรงจูงใจในการดำเนินชีวิตประจำวันและขาดสังคมของผู้สูงอายุ \u0000วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาประสบการณ์ความจำบกพร่องในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ \u0000การออกแบบการวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนา \u0000วิธีดำเนินการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งหนึ่งของจังหวัด ทางภาคกลาง เลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกตามเวลาที่ผู้ให้ข้อมูลสะดวกเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน พฤษภาคม-ตุลาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาตามแนวคิดของ Sandelowski มีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล การยืนยันความถูกต้องของข้อมูลและการนำผลการวิจัยไปใช้อ้างอิง \u0000ผลการวิจัย ประสบการณ์ความจำบกพร่องในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุสรุปได้เป็น 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) อาการหลงลืม ประกอบด้วย การรับรู้ว่ามีอาการหลงลืม กิจวัตรประจำวันที่หลงลืม อาการหลงลืม ที่เกิดภายนอกบ้าน 2) อารมณ์เปลี่ยนแปลง ได้แก่ ผลของการหลงลืม ประกอบด้วย อารมณ์หงุดหงิด ความกังวลและกลัว และ 3) การจัดการเมื่อหลงลืม ประกอบด้วย การเริ่มต้นใหม่ การช่วยเหลือโดยญาติ การกำหนดจุดวางของให้ชัดเจน การทำกิจกรรม \u0000ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า อาการหลงลืม อารมณ์เปลี่ยนแปลง และการจัดการ เมื่อหลงลืมเป็นประสบการณ์สำคัญของผู้สูงอายุ ทีมสุขภาพสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนร่วมกับครอบครัวของผู้สูงอายุเพื่อการคัดกรอง ติดตามและจัดกิจกรรมกระตุ้นความจำเพื่อชะลอภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ","PeriodicalId":507625,"journal":{"name":"The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council","volume":null,"pages":null},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-26","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140379540","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
0
×
引用
GB/T 7714-2015
复制
MLA
复制
APA
复制
导出至
BibTeX EndNote RefMan NoteFirst NoteExpress
×
提示
您的信息不完整,为了账户安全,请先补充。
现在去补充
×
提示
您因"违规操作"
具体请查看互助需知
我知道了
×
提示
确定
请完成安全验证×
相关产品
×
本文献相关产品
联系我们:info@booksci.cn Book学术提供免费学术资源搜索服务,方便国内外学者检索中英文文献。致力于提供最便捷和优质的服务体验。 Copyright © 2023 布克学术 All rights reserved.
京ICP备2023020795号-1
ghs 京公网安备 11010802042870号
Book学术文献互助
Book学术文献互助群
群 号:481959085
Book学术官方微信