{"title":"ผลลัพธ์ทางคลินิกของรูปแบบโปรแกรมที่นำโดยพยาบาลในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ","authors":"ไวยพร พรมวงค์, จรูญศรี มีหนองหว้า","doi":"10.60099/jtnmc.v39i01.265987","DOIUrl":null,"url":null,"abstract":"บทนำ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีการเจ็บป่วยที่ซับซ้อน ต้องการการดูแลรักษาระยะยาว และมีความเสี่ยงต่อการเข้ารักษาในโรงพยาบาล จึงต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจเพื่อให้มีผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดี อันจะนำไปสู่การลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต \nวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษารูปแบบของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่นำโดยพยาบาล ต่อผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว \nการออกแบบการวิจัย การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ \nวิธีการดำเนินการวิจัย การศึกษาที่นำมาทบทวนเป็นรายงานวิจัยเชิงทดลองที่มีกลุ่มควบคุม ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้รับการตีพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2557-2566 ฐานข้อมูล ที่สืบค้น ได้แก่ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ ThaiJO, PubMed, CINAHL, Clinical Key for Nursing, ScienceDirect และ ProQuest Nursing ประเมินคุณภาพงานวิจัยและสกัดข้อมูลงานวิจัยโดยใช้แบบประเมินที่พัฒนา โดยสถาบันโจนนาบริกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปเชิงเนื้อหา \nผลการศึกษา พบรายงานวิจัยเชิงทดลองที่มีกลุ่มควบคุมจำนวน 7 เรื่องที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้า แนวคิด และทฤษฎีที่นำมาประยุกต์ใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจประกอบด้วย การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้าง แรงจูงใจ การเสริมสร้างพลังอำนาจ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน รูปแบบ การจัดกระทำ ส่วนใหญ่ใช้การออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว ส่วนผลของรูปแบบโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพ หัวใจที่นำโดยพยาบาลแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีจากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ความสามารถ ในการทำหน้าที่ของร่างกาย และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ยกเว้นระดับ B-type natriuretic peptide (BNP) อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดเป็นเพียงข้อสรุปจากงานวิจัยเพียง 1- 3 เรื่องในแต่ละผลลัพธ์ทางคลินิกเท่านั้น การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้สามารถนำเสนอรูปแบบแต่ยังไม่สามารถยืนยันประสิทธิผล ของโปรแกรมแต่ละรูปแบบได้ชัดเจน เนื่องจากการศึกษาเกี่ยวกับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่นำโดยพยาบาลมีจำนวนจำกัด \nข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ที่นำโดยพยาบาลเพิ่มมากขึ้น และพยาบาลควรให้ความรู้ร่วมกับการสร้างแรงจูงใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่บ้าน และมีการติดตามผู้ป่วยผ่านทางโทรศัพท์","PeriodicalId":507625,"journal":{"name":"The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council","volume":null,"pages":null},"PeriodicalIF":0.0000,"publicationDate":"2024-03-26","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":"0","resultStr":"{\"title\":\"ผลลัพธ์ทางคลินิกของรูปแบบโปรแกรมที่นำโดยพยาบาลในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ\",\"authors\":\"ไวยพร พรมวงค์, จรูญศรี มีหนองหว้า\",\"doi\":\"10.60099/jtnmc.v39i01.265987\",\"DOIUrl\":null,\"url\":null,\"abstract\":\"บทนำ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีการเจ็บป่วยที่ซับซ้อน ต้องการการดูแลรักษาระยะยาว และมีความเสี่ยงต่อการเข้ารักษาในโรงพยาบาล จึงต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจเพื่อให้มีผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดี อันจะนำไปสู่การลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต \\nวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษารูปแบบของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่นำโดยพยาบาล ต่อผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว \\nการออกแบบการวิจัย การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ \\nวิธีการดำเนินการวิจัย การศึกษาที่นำมาทบทวนเป็นรายงานวิจัยเชิงทดลองที่มีกลุ่มควบคุม ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้รับการตีพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2557-2566 ฐานข้อมูล ที่สืบค้น ได้แก่ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ ThaiJO, PubMed, CINAHL, Clinical Key for Nursing, ScienceDirect และ ProQuest Nursing ประเมินคุณภาพงานวิจัยและสกัดข้อมูลงานวิจัยโดยใช้แบบประเมินที่พัฒนา โดยสถาบันโจนนาบริกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปเชิงเนื้อหา \\nผลการศึกษา พบรายงานวิจัยเชิงทดลองที่มีกลุ่มควบคุมจำนวน 7 เรื่องที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้า แนวคิด และทฤษฎีที่นำมาประยุกต์ใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจประกอบด้วย การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้าง แรงจูงใจ การเสริมสร้างพลังอำนาจ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน รูปแบบ การจัดกระทำ ส่วนใหญ่ใช้การออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว ส่วนผลของรูปแบบโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพ หัวใจที่นำโดยพยาบาลแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีจากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ความสามารถ ในการทำหน้าที่ของร่างกาย และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ยกเว้นระดับ B-type natriuretic peptide (BNP) อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดเป็นเพียงข้อสรุปจากงานวิจัยเพียง 1- 3 เรื่องในแต่ละผลลัพธ์ทางคลินิกเท่านั้น การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้สามารถนำเสนอรูปแบบแต่ยังไม่สามารถยืนยันประสิทธิผล ของโปรแกรมแต่ละรูปแบบได้ชัดเจน เนื่องจากการศึกษาเกี่ยวกับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่นำโดยพยาบาลมีจำนวนจำกัด \\nข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ที่นำโดยพยาบาลเพิ่มมากขึ้น และพยาบาลควรให้ความรู้ร่วมกับการสร้างแรงจูงใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่บ้าน และมีการติดตามผู้ป่วยผ่านทางโทรศัพท์\",\"PeriodicalId\":507625,\"journal\":{\"name\":\"The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council\",\"volume\":null,\"pages\":null},\"PeriodicalIF\":0.0000,\"publicationDate\":\"2024-03-26\",\"publicationTypes\":\"Journal Article\",\"fieldsOfStudy\":null,\"isOpenAccess\":false,\"openAccessPdf\":\"\",\"citationCount\":\"0\",\"resultStr\":null,\"platform\":\"Semanticscholar\",\"paperid\":null,\"PeriodicalName\":\"The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council\",\"FirstCategoryId\":\"1085\",\"ListUrlMain\":\"https://doi.org/10.60099/jtnmc.v39i01.265987\",\"RegionNum\":0,\"RegionCategory\":null,\"ArticlePicture\":[],\"TitleCN\":null,\"AbstractTextCN\":null,\"PMCID\":null,\"EPubDate\":\"\",\"PubModel\":\"\",\"JCR\":\"\",\"JCRName\":\"\",\"Score\":null,\"Total\":0}","platform":"Semanticscholar","paperid":null,"PeriodicalName":"The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council","FirstCategoryId":"1085","ListUrlMain":"https://doi.org/10.60099/jtnmc.v39i01.265987","RegionNum":0,"RegionCategory":null,"ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":null,"EPubDate":"","PubModel":"","JCR":"","JCRName":"","Score":null,"Total":0}
引用次数: 0