Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)最新文献

筛选
英文 中文
สนามหลวงเมื่อล้อมรั้วกับบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นพื้นที่ประชาคมเมือง 作为城市社区的重要组成部分,牧师的院子被栅栏包围。
Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS) Pub Date : 2021-06-23 DOI: 10.56261/jars.v18i2.243877
พรพรรณ ชินณพงษ์
{"title":"สนามหลวงเมื่อล้อมรั้วกับบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นพื้นที่ประชาคมเมือง","authors":"พรพรรณ ชินณพงษ์","doi":"10.56261/jars.v18i2.243877","DOIUrl":"https://doi.org/10.56261/jars.v18i2.243877","url":null,"abstract":"การเปิดสนามหลวงในปีพุทธศักราช 2554 ด้วยรูปโฉมใหม่ที่มีรั้วล้อมพร้อมกับมีระเบียบกรุงเทพมหานครควบคุมดูแล จำกัดเวลาใช้งาน ไม่อนุญาตให้มีคนเร่ร่อนมาหลับนอน และห้ามกิจกรรมทางการเมืองเพื่อคงไว้ซึ่งภูมิทัศน์ที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย การเปลี่ยนแปลงนี้ได้ปิดกั้นบทบาทของสนามหลวงในฐานะที่เป็นพื้นที่ประชาคมเมืองที่มีความสำคัญต่อสังคมประชาธิปไตย แต่ด้วยความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสนามหลวงจึงคงอยู่ได้ไม่นาน สนามหลวงด้านทิศใต้หน้าพระบรมมหาราชวังถูกยึดเป็นพื้นที่รวมตัวก่อการประท้วงอีกครั้ง รั้วเหล็กที่ล้อมสนามหลวงถูกใช้เป็นโครงสร้างในการขึงผ้าใบกั้นเป็นเพิงที่พักหลับนอนของผู้ชุมนุม ปรากฏการณ์นี้ทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นว่า การล้อมคอกพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแห่งนี้เป็นการแก้ปัญหาความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้แก่สนามหลวงได้จริงหรือ? อย่างไรก็ดี ภายหลังรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองประเทศในปี พ.ศ. 2557 คำสั่งโดยหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ห้ามผู้ใดชุมนุมมั่วสุมทางการเมือง บวกกับการออกพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ทำให้การชุมนุมทางการเมืองบนท้องสนามหลวงไม่สามารถกระทำได้อีกต่อไป สนามหลวงสูญเสียบทบาทสำคัญในการเป็นพื้นที่ประชาคมเมืองที่จำเป็นต่อการส่งเสริมประชาสังคมไทยในระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐใช้อำนาจกดทับสิทธิในการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ความพยายามในการทวงคืนสนามหลวงสู่ประชาชนจึงปรากฏ งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาอำนาจในการกำกับกำหนดกฎระเบียบในการใช้พื้นที่ท้องสนามหลวง รวมถึงบทบาทของสนามหลวงในฐานะที่เป็นพื้นที่ประชาคมเมือง ณ ช่วงเวลาหนึ่งหลังการปรับภูมิทัศน์และล้อมรั้วสนามหลวง","PeriodicalId":428713,"journal":{"name":"Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)","volume":"9 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2021-06-23","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"123794770","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
แนวทางการออกแบบพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้เพื่อคนพิการทางการเห็น 为视障人士设计博物馆和学习中心的指南
Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS) Pub Date : 2021-06-18 DOI: 10.56261/jars.v18i2.242852
ไตรรัตน์ จารุทัศน์, สุจิตรา จิระวาณิชย์กุล
{"title":"แนวทางการออกแบบพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้เพื่อคนพิการทางการเห็น","authors":"ไตรรัตน์ จารุทัศน์, สุจิตรา จิระวาณิชย์กุล","doi":"10.56261/jars.v18i2.242852","DOIUrl":"https://doi.org/10.56261/jars.v18i2.242852","url":null,"abstract":"แนวคิดของพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้สมัยใหม่เป็นสถานที่เพื่อการเรียนรู้ที่ทุกคนสามารถเข้าศึกษาและใช้บริการได้ แต่พิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้ส่วนใหญ่คนพิการทางการเห็นไม่สามารถเข้าถึงได้ทั้งทางด้านกายภาพและข้อมูล การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเข้าถึงทางกายภาพ และสิ่งอำนวยความสะดวก 2) ศึกษาการเข้าถึงข้อมูล การออกแบบสื่อจัดแสดง 3) ปัญหาและข้อจำกัด 4) เสนอแนะแนวทางการออกแบบทางกายภาพ สิ่งอำนวยความสะดวกและสื่อจัดแสดงที่เหมาะสม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลกรณีศึกษา 4 แห่ง วิธีการโดยจัดทำงานป้ายชิ้นตัวอย่างให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน นำข้อมูลและข้อเสนอแนะที่ได้มาวิเคราะห์และเสนอแนวทางในการออกแบบ หลังจากนั้นเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการทางการเห็น รวม 19 คน ประเมินการเข้าถึงในพื้นที่จริงอีกครั้ง ผลการวิจัยพบว่า คนพิการทางการเห็นต้องการ การเข้าถึงทางกายภาพ ได้แก่ 1) เส้นทางชมนิทรรศการที่เข้าใจง่าย เป็นเส้นทางเดียวกับคนทั่วไปไม่แบ่งแยก 2) พื้นผิวต่างสัมผัส ต้องมีความนูน รูปแบบมาตรฐานสากล 3) องค์ประกอบอาคารอื่นๆ มีตามมาตรฐาน สอดคล้องกับกฎหมาย 4) จุดลงทะเบียนมีระดับความสูงเทียบเท่ากับคนทั่วไป มีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการ ส่วนการเข้าถึงข้อมูลควรมี 1) ป้ายข้อมูลที่มีอักษรเบรลล์ ขนาดมาตรฐาน แต่ข้อความเบรลล์ไม่ควรยาวมากเกินไป 2) มีสื่อเสียงบรรยายภาพ เพราะเป็นสื่อที่เข้าถึงได้ง่าย 3) QR code และ QR Braille เพื่อสแกนรับข้อมูลเพิ่มเติม 4) วัตถุจำลอง สามารถคลำสัมผัสพร้อมฟังเสียง จะเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น 5) แผนผังต่างสัมผัส เพื่อให้ทราบขอบเขตของอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวก และสิ่งที่มีความจำเป็นอีกอย่างหนึ่งคือ การบริการจากเจ้าหน้าที่นำชม","PeriodicalId":428713,"journal":{"name":"Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)","volume":"63 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2021-06-18","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"122015645","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การศึกษาเพื่อการออกแบบและประเมินความพึงพอใจ ในการพัฒนาศักยภาพธุรกิจตลาดชุมชน ภายใต้โครงการ “ตลาดต้องชม: คลองบางหลวง” 社区市场业务发展潜力评估的设计研究
Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS) Pub Date : 2021-06-13 DOI: 10.56261/jars.v18i2.241669
สุพิชชา โตวิวิชญ์, ชินศักดิ์ ตัณฑิกุล, อดิศร ศรีเสาวนันท์, ปาริฉัตร พรหมสวัสดิ์
{"title":"การศึกษาเพื่อการออกแบบและประเมินความพึงพอใจ ในการพัฒนาศักยภาพธุรกิจตลาดชุมชน ภายใต้โครงการ “ตลาดต้องชม: คลองบางหลวง”","authors":"สุพิชชา โตวิวิชญ์, ชินศักดิ์ ตัณฑิกุล, อดิศร ศรีเสาวนันท์, ปาริฉัตร พรหมสวัสดิ์","doi":"10.56261/jars.v18i2.241669","DOIUrl":"https://doi.org/10.56261/jars.v18i2.241669","url":null,"abstract":"บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการประกอบธุรกิจตลาดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตลาดคลองบางหลวง” โดยบทความนี้เน้นที่กระบวนการศึกษา การวิเคราะห์ อันนำไปสู่การออกแบบที่เหมาะสม และการประเมินผลที่เกิดขึ้นหลังผลงานสร้างสรรค์แล้วเสร็จ ในกระบวนการศึกษานั้นใช้การเก็บข้อมูลทั้งจากข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม การประชุมกลุ่มย่อย การเสวนาเชิงปฏิบัติการ และการศึกษาจากข้อมูลวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค (SWOT Analysis)การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย (Customer Analysis) โดยใช้แนวทางการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค (Customer Behavior) โดยใช้เครื่องมือ 6W1H (Who-What-Why-Whom-When-Where-How) ในส่วนของผลงานสร้างสรรค์นั้น ในบทความนี้จะเน้นที่การออกแบบปรับปรุงกายภาพที่เกิดขึ้นจริงจำนวน 5 ชิ้น ได้แก่ (1) การทาสีและทำหลังคาเพิ่มเติม บริเวณป้ายแผนที่และซุ้มทางเข้าเดิม (2) การออกแบบและก่อสร้างป้ายแผนที่และซุ้มต้นไม้ บริเวณชานพักบันไดริมบ้านศิลปิน (3) การออกแบบและก่อสร้างจุดชมวิวบนสะพานข้ามคลอง (4) การออกแบบและก่อสร้างต่อเติมเก้าอี้นั่งริมคลอง ระหว่างทางเดินเชื่อมวัดกำแพงบางจาก-บ้านศิลปิน จำนวน 3 ตำแหน่ง (5) การออกแบบและก่อสร้างงานซุ้มต้นไม้และซุ้มป้ายทางเข้าตลาดบริเวณทางเดินริมน้ำ จากการประเมินผลความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ “ตลาดต้องชม: ตลาดคลองบางหลวง” ในภาพรวม พบว่าทั้งนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมากและมากที่สุดตามลำดับ","PeriodicalId":428713,"journal":{"name":"Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)","volume":"10 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2021-06-13","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"121088011","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
Crime Prevention through Environmental Design: A Case Study of Thammasat University Rangsit Campus 透过环境设计预防犯罪:以法政大学朗实校区为例
Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS) Pub Date : 2021-06-11 DOI: 10.56261/jars.v18i2.240144
Areen Phuntarakit, Nij Tontisirin
{"title":"Crime Prevention through Environmental Design: A Case Study of Thammasat University Rangsit Campus","authors":"Areen Phuntarakit, Nij Tontisirin","doi":"10.56261/jars.v18i2.240144","DOIUrl":"https://doi.org/10.56261/jars.v18i2.240144","url":null,"abstract":"Crime is considered as one of the major social problems in Thailand that causes huge impacts to society. In order for a crime to occur, three elements must coincide; desire, ability, and opportunity. Therefore, crime prevention method can be done by reducing crime opportunity as other factors; desire and ability cannot be controlled by an external party. According to the Royal Thai Police (2019), the demographic data indicated that Pathum Thani is the second most unsafe district in the Bangkok and Metropolitan Region (BMR) after Bangkok. The researcher, therefore, chose a part of Thammasat University Rangsit campus which consists of a residential, recreational and commercial zone as the study area for this research.\u0000Mapping and overlay analysis are used as an analytical tool to identify an unsafe location. Analytic Hierarchy Process (AHP) is used to identify both physical and non-physical attributes associated with such unsafe locations. The results of the analysis illustrate that the area at the back of the main stadium is the most unsafe place when considering physical and non-physical attributes. On the other hands, considering user’s experiences, the area around Laan Payanak are seen to be the most unsafe place as well as is known of being a crime location. According to our survey, the correspondents strongly agree that lighting illumination on pedestrian walkway contributes to their feeling of fear for crime the most. The result from the AHP also shows that users choose the lighting issue as the first priority as well.\u0000Recommendations for urban design guideline for crime prevention include (1) changing the pedestrian lights to allow better lighting and visibility of the users (2) encouraging more activities on the area of Laan Payanak to crowd the area, giving more security to people in the area (3) providing gate, operation time sign at every entrance to control the accessibility of each area and route, and (4) providing emergency equipment and information for self-help or calling for help.","PeriodicalId":428713,"journal":{"name":"Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)","volume":"72 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2021-06-11","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"115545986","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
แนวทางการออกแบบช่องเปิดผนังอาคารสำนักงานโดยใช้กระจกอิเล็กโทรโครมิกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้แสงธรรมชาติ 采用微电子玻璃设计办公大楼的开口,提高自然光使用效率。
Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS) Pub Date : 2021-05-21 DOI: 10.56261/jars.v18i2.236246
ภัทรกร หลิมชูตระกูล, อวิรุทธ์ ศรีสุธาพรรณ
{"title":"แนวทางการออกแบบช่องเปิดผนังอาคารสำนักงานโดยใช้กระจกอิเล็กโทรโครมิกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้แสงธรรมชาติ","authors":"ภัทรกร หลิมชูตระกูล, อวิรุทธ์ ศรีสุธาพรรณ","doi":"10.56261/jars.v18i2.236246","DOIUrl":"https://doi.org/10.56261/jars.v18i2.236246","url":null,"abstract":"งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการนำแสงธรรมชาติและการใช้พลังงานไฟฟ้าจากการใช้กระจกอิเล็กโทรโครมิก ซึ่งเป็นกระจกที่สามารถปรับเปลี่ยนความขุ่น - ใสของกระจก ปรับเปลี่ยนค่าการส่องผ่านของแสง และค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อนจากรังสีอาทิตย์ได้ โดยศึกษาตัวแปรอัตราส่วนพื้นที่ช่องเปิดต่อพื้นที่ผนังทึบ ที่อัตราส่วนต่าง ๆ การวางทิศทางของอาคาร และเปรียบเทียบกับกระจกประเภทอื่น ๆ ที่มีค่าการส่องผ่านของแสงใกล้เคียงกับกระจกอิเล็กโทรโครมิก ทำการจำลองและประเมินผลแสงธรรมชาติแบบพลวัตโดยใช้โปรแกรม DIVA for Rhino และด้านพลังงานไฟฟ้าโดยใช้โปรแกรม eQUEST 3.65 ผลการศึกษาพบว่า กระจกอิเล็กโทรโครมิกให้ผลในการนำแสงธรรมชาติเข้ามาในอาคารใกล้เคียงกับกระจกชนิดอื่น ๆ เมื่อมีสถานะใส แต่จะช่วยป้องกันการเกิดแสงจ้าให้กับช่องเปิดที่ได้รับแสงตรงจากดวงอาทิตย์ได้มากเมื่อกระจกเปลี่ยนเป็นสถานะขุ่น ซึ่งจะส่งผลในการลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคารด้วย นอกจากนี้ยังช่วยในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในระบบปรับอากาศ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าของอาคารในทิศตะวันออกและทิศตะวันตกได้ร้อยละ 25.80 และ 28.86 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้กระจกลามิเนตสีเขียว เเต่อย่างไรก็ดี การวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาควบคู่กันไปด้วย","PeriodicalId":428713,"journal":{"name":"Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)","volume":"790 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2021-05-21","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"122999483","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การใช้สวนแนวตั้งเพื่อการฟื้นฟูจิตใจจากความเหนื่อยล้าในศูนย์อาหารซีเมด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ 在泰国清迈皇家医院的西米德食品中心使用垂直花园来恢复精神。
Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS) Pub Date : 2021-05-19 DOI: 10.56261/jars.v18i2.243411
พุทธิพงษ์ มีทอง, อภิโชค เลขะกุล
{"title":"การใช้สวนแนวตั้งเพื่อการฟื้นฟูจิตใจจากความเหนื่อยล้าในศูนย์อาหารซีเมด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่","authors":"พุทธิพงษ์ มีทอง, อภิโชค เลขะกุล","doi":"10.56261/jars.v18i2.243411","DOIUrl":"https://doi.org/10.56261/jars.v18i2.243411","url":null,"abstract":"งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมที่ช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจจากความเหนื่อยล้าแก่พยาบาลวิชาชีพ โดยใช้ทฤษฎีฟื้นฟูความสนใจในการสร้างสภาพแวดล้อมจำลองเพื่อทดสอบในพื้นที่ศูนย์อาหารซีเมด ซึ่งพยาบาลวิชาชีพใช้เป็นกิจวัตรประจำวัน โดยให้พยาบาลวิชาชีพ 40 คน ประเมินสภาพแวดล้อมจำลองที่ถูกสร้างขึ้นและนำเสนอด้วยระบบเทคโนโลยีความจริงเสมือน 3 แบบ คือ สภาพแวดล้อมเดิมที่ไม่มีสวนแนวตั้งเลย สภาพแวดล้อมที่มีสวนแนวตั้งรูปแบบ 2 มิติ และสภาพแวดล้อมที่มีสวนแนวตั้งรูปแบบ 3 มิติ แต่ละแบบประกอบด้วย 2 โทนสี คือ โทนสีเขียว และโทนหลากสีแบบฤดูใบไม้ร่วง โดยใช้แบบสอบถามการวัดระดับการรับรู้การฟื้นฟูความสนใจแบบสั้น โดยมีสมมติฐานว่า 1) สภาพแวดล้อมจำลองที่มีสวนแนวตั้งรูปแบบ 2 มิติ จะสามารถให้ผลการรับรู้การฟื้นฟูสภาพจิตใจได้ดีกว่าสภาพแวดล้อมเดิม 2) สภาพแวดล้อมที่มีสวนแนวตั้งรูปแบบ 3 มิติ จะให้ผลการรับรู้การฟื้นฟูสภาพจิตใจได้ดีกว่าสภาพแวดล้อมที่กล่าวมาทั้งหมด และ 3) สวนแนวตั้งโทนสีเขียวและโทนหลากสีของฤดูใบไม้ร่วงจะให้ค่าเฉลี่ยการรับรู้การฟื้นฟูสภาพจิตใจที่แตกต่างกัน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบสภาพแวดล้อม มีผลต่อการรับรู้การฟื้นฟูจิตใจจากความเหนื่อยล้าเป็นลำดับตามสมมติฐาน สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมจำลองที่มีสวนแนวตั้งทุกรูปแบบให้ผลการฟื้นฟูสภาพจิตใจได้ดีกว่าสภาพแวดล้อมจำลองที่ไม่มีสวนแนวตั้งเลย และสามารถนำรูปแบบสภาพแวดล้อมจำลองรูปแบบ 3 มิติ ลักษณะหลากสีไปประยุกต์เพื่อฟื้นฟูจิตใจให้กับพยาบาลให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ","PeriodicalId":428713,"journal":{"name":"Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)","volume":"93 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2021-05-19","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"124633579","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
แนวทางการออกแบบและการบริหารจัดการโครงการอาคารชุดพักอาศัย เพื่อส่งเสริมการตัดสินใจซื้อของนักลงทุน: กรณีศึกษา เมืองพัทยา 促进投资者购买决策的住宅公寓项目的设计和管理指南:芭堤雅案例研究
Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS) Pub Date : 2021-04-29 DOI: 10.56261/jars.v18i2.240132
ปาณัสม์ พงษ์พิศิษฎ์กุล, สุกุลพัฒน์ คุ้มไพศาล
{"title":"แนวทางการออกแบบและการบริหารจัดการโครงการอาคารชุดพักอาศัย เพื่อส่งเสริมการตัดสินใจซื้อของนักลงทุน: กรณีศึกษา เมืองพัทยา","authors":"ปาณัสม์ พงษ์พิศิษฎ์กุล, สุกุลพัฒน์ คุ้มไพศาล","doi":"10.56261/jars.v18i2.240132","DOIUrl":"https://doi.org/10.56261/jars.v18i2.240132","url":null,"abstract":"พัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญในภาคตะวันออกของประเทศไทยและได้รับการสนับสนุนจากโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ทำให้เป็นเมืองตากอากาศที่มีแนวโน้มอัตราการเพิ่มสูงของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุดพักอาศัย ส่งผลให้ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างพยายามสร้างจุดขายของโครงการขึ้นมา เพื่อดึงดูดนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาแนวทางการออกแบบและการบริหารจัดการโครงการอาคารชุดพักอาศัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อห้องชุดเพื่อการลงทุนบริเวณพัทยา โดยรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสำรวจโครงการกรณีศึกษา อีกทั้งสัมภาษณ์ผู้พัฒนาโครงการ นักลงทุน และผู้ออกแบบ ทั้งหมด 3 โครงการกรณีศึกษา จำนวน 9 คน ซึ่งพบว่ารูปแบบการลงทุนที่ใช้ในซื้อห้องชุดพักอาศัยบริเวณพัทยาเพื่อปล่อยเช่าและขายในภายหลัง (รูปแบบการลงทุนระยะยาว) เป็นการลงทุนด้วยเงินออมของนักลงทุนทั้งหมด โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อห้องชุดเพื่อการลงทุนระยะยาวมากที่สุด ได้แก่ ทัศนียภาพ ทำเลที่ตั้ง และอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง ตามลำดับ ดังนั้นในการพัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัยควรมีการออกแบบที่คำนึงถึงทัศนียภาพ และทำเลที่ตั้งของโครงการเป็นสำคัญ ประกอบกับการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในด้านการรักษาความปลอดภัย และบริการทำความสะอาด อย่างไรก็ตาม นักลงทุนไม่ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรอาคารมากนัก","PeriodicalId":428713,"journal":{"name":"Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)","volume":"1 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2021-04-29","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"133649747","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การศึกษาวิธีการ เครื่องมือ และการประเมินผลอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมที่นำไปสู่การศึกษาอัตลักษณ์สถาปัตกรรมไผ่สมัยใหม่ ในประเทศไทย 研究泰国现代竹子建筑的方法、工具和建筑身份评估。
Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS) Pub Date : 2021-04-09 DOI: 10.56261/jars.v18i2.242176
รัชนูพรรณ คำสิงห์ศรี, สุปรีดี ฤทธิรงค์
{"title":"การศึกษาวิธีการ เครื่องมือ และการประเมินผลอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมที่นำไปสู่การศึกษาอัตลักษณ์สถาปัตกรรมไผ่สมัยใหม่ ในประเทศไทย","authors":"รัชนูพรรณ คำสิงห์ศรี, สุปรีดี ฤทธิรงค์","doi":"10.56261/jars.v18i2.242176","DOIUrl":"https://doi.org/10.56261/jars.v18i2.242176","url":null,"abstract":"การเชื่อมโยงมโนทัศน์ “อัตลักษณ์” และ “อัตลักษณ์สถาปัตยกรรม” เข้ากับ “สถาปัตยกรรมไผ่สมัยใหม่” นั้นยังมีช่องว่างทางการศึกษาขนาดใหญ่ในหลายประเด็น บทความนี้มุ่งเน้นการศึกษาวิธีการ เครื่องมือ การประเมินผล ที่ใช้ในการศึกษาอัตลักษณ์สถาปัตยกรรม เพื่อนำไปสู่การศึกษาสถาปัตยกรรมไผ่สมัยใหม่ จากการสืบค้นในระบบสารสนเทศ โดยใช้คำสำคัญ “อัตลักษณ์สถาปัตยกรรม” ในปี พ.ศ. 2550 - 2563 พบวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจำนวน 52 เรื่อง แต่ละเรื่องนั้นมีกรอบทฤษฎี วิธีการ เครื่องมือ การประเมินผล ที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ประเภทและรูปแบบสถาปัตยกรรม พบมากในเรือนพักอาศัย แบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 2) การศึกษาอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมในฐานะที่สถาปัตยกรรมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของย่านหรือชุมชน เป็นกลุ่มการศึกษาที่นักวิจัยทำการศึกษามากกว่ากลุ่มอื่น 3) การสำรวจทางกายภาพของสถาปัตยกรรม การสัมภาษณ์ การสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นวิธีการที่ถูกนำมาใช้ ในขณะที่การศึกษาอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมไผ่สมัยใหม่นั้นมีความเฉพาะเจาะจงในหลายมิติ ไม่เพียงแต่มิติรูปธรรมทางกายภาพ อันเป็นความหมายตรงที่ปรากฏ เช่น ระดับเทคโนโลยีการก่อสร้าง ความซับซ้อนของโครงสร้าง ประเภทข้อต่อ วัสดุประกอบ ลักษณะรูปทรง การใช้งาน กายวิภาคพันธุ์ไผ่ แต่ยังรวมไปถึงมิตินามธรรมในเชิงสัญลักษณ์ หรืออิทธิพลต่างๆ นอกจากนี้ยังมีความหมายแฝงที่ซ่อนอยู่ เช่น สัญลักษณ์ คติความเชื่อ ภูมิปัญญา ค่านิยม และวัฒนธรรมในการก่อสร้าง ตัวแปรเหล่านี้ทำให้การศึกษาสถาปัตยกรรมไผ่แตกต่างจากงานอื่นๆ และส่งผลต่อการพิจารณาวิธีวิทยาที่เหมาะสม โดยเฉพาะวิธีการสำรวจนำร่องและการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง เป็นวิธีการเบื้องต้นที่จะให้ได้มาซึ่งตัวแปรเชิงปฏิบัติการและเชิงคุณลักษณะ ที่จะทำให้ตัวชี้วัดการศึกษาอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมไผ่สมัยในประเทศไทยนี้มีความเฉพาะยิ่งขึ้น","PeriodicalId":428713,"journal":{"name":"Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)","volume":"14 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2021-04-09","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"122468180","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
แนวทางการบูรณาการเทคโนโลยีการก่อสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปในการออกแบบและก่อสร้างอาคารบ้านพักอาศัย 2 ชั้น 在2层住宅建筑的设计和施工中结合预制部件施工技术的指导
Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS) Pub Date : 2021-04-08 DOI: 10.56261/jars.v18i2.240131
ภาวนา ชิณศรี, ภูษิต เลิศวัฒนารักษ์
{"title":"แนวทางการบูรณาการเทคโนโลยีการก่อสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปในการออกแบบและก่อสร้างอาคารบ้านพักอาศัย 2 ชั้น","authors":"ภาวนา ชิณศรี, ภูษิต เลิศวัฒนารักษ์","doi":"10.56261/jars.v18i2.240131","DOIUrl":"https://doi.org/10.56261/jars.v18i2.240131","url":null,"abstract":"การวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาความเหมาะสมในการออกแบบและก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปแบบผสมสำหรับอาคารบ้านพักอาศัย 2 ชั้นในประเทศไทย โดยการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ผู้พัฒนาโครงการ สถาปนิก และวิศวกรควบคุมงานก่อสร้างจากโครงการกรณีศึกษาจำนวน 3 โครงการ เพื่อศึกษาปัจจัยในการเลือกใช้ระบบการก่อสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปแบบผสม ทั้งในด้านระยะเวลา ต้นทุน และคุณภาพของการก่อสร้าง ผลการศึกษา พบว่า ในปัจจุบัน ระบบการก่อสร้างพื้นซึ่งเป็นที่นิยมมีจำนวน 4 ระบบ ได้แก่ ระบบพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป พื้นสำเร็จรูปสามขา พื้นหล่อในที่วางบนดิน และพื้นหล่อในที่วางบนคาน ระบบการก่อสร้างบันไดที่นิยมใช้มี 3 ระบบ ได้แก่ บันไดคอนกรีตสำเร็จรูป บันไดหล่อในที่ และบันไดโครงเหล็กสำเร็จรูป ระบบการก่อสร้างผนังที่นิยมใช้มี 3 ระบบ ได้แก่ ระบบผนังคอนกรีตสำเร็จรูป ผนังก่ออิฐมวลเบา และผนังโครงเบา ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบูรณาการเทคโนโลยีการก่อสร้างระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ซึ่งเรียงตามระดับความสำคัญ ได้แก่ ระยะเวลาในการก่อสร้าง การใช้งานในระยะยาว ระยะเวลาในการเก็บรอยต่อ ต้นทุนค่าแรงงาน การรับน้ำหนัก น้ำหนักของวัสดุ คุณภาพของรอยต่อในการก่อสร้าง ต้นทุนค่าวัสดุ และค่าอุปกรณ์ ตามลำดับ","PeriodicalId":428713,"journal":{"name":"Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)","volume":"21 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2021-04-08","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"114265672","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
มุมมองภาครัฐต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี: กรณีศึกษา เทศบาลนครรังสิต เทศบาลเมืองท่าโขลงและเทศบาลเมืองบึงยี่โถ Tessaban Nakhon Rangsit, Tessaban Nakhon和Tessaban Nakhon Mueang Yai Mueang。
Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS) Pub Date : 2021-02-19 DOI: 10.56261/jars.v18i2.240031
นิพันธ์ วิเชียรน้อย, วราลักษณ์ คงอ้วน, พุฒพัณณิน คำวชิระพิทักษ์
{"title":"มุมมองภาครัฐต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี: กรณีศึกษา เทศบาลนครรังสิต เทศบาลเมืองท่าโขลงและเทศบาลเมืองบึงยี่โถ","authors":"นิพันธ์ วิเชียรน้อย, วราลักษณ์ คงอ้วน, พุฒพัณณิน คำวชิระพิทักษ์","doi":"10.56261/jars.v18i2.240031","DOIUrl":"https://doi.org/10.56261/jars.v18i2.240031","url":null,"abstract":"บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเทศบาลนครรังสิต เทศบาลเมืองท่าโขลงและเทศบาลเมืองบึงยี่โถในจังหวัดปทุมธานี ผ่านมุมมองของภาครัฐในท้องถิ่น อันเป็นหน่วยงานสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยเครื่องมือวิจัย ได้แก่ การสำรวจภาคสนามและการสัมภาษณ์ ผลจากการวิจัยพบว่า เทศบาลนครรังสิตเป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำ (ตลาดน้ำนครรังสิต) เทศบาลเมืองท่าโขลงเป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญระดับจังหวัดและประเทศ (พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ ตลาดไท) เทศบาลเมืองบึงยี่โถเป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ (สวนสนุกดรีมเวิลด์และร้านกาแฟชายทุ่ง) อย่างไรก็ตาม แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ศึกษา ยังขาดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งการบริหารและจัดการแหล่งท่องเที่ยวมักอยู่ในความรับผิดชอบของภาคเอกชน ประชาชนในท้องถิ่นจึงไม่ได้รับผลประโยชน์หรือรายได้จากการท่องเที่ยว ดังนั้น แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในอนาคต จึงควรเสริมสร้างเครือข่ายระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชน และพัฒนาเชิงพื้นที่ในแหล่งท่องเที่ยว ด้วยการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมทางน้ำและทางบก การปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเมืองและธรรมชาติ","PeriodicalId":428713,"journal":{"name":"Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)","volume":"213 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2021-02-19","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"116516597","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
0
×
引用
GB/T 7714-2015
复制
MLA
复制
APA
复制
导出至
BibTeX EndNote RefMan NoteFirst NoteExpress
×
提示
您的信息不完整,为了账户安全,请先补充。
现在去补充
×
提示
您因"违规操作"
具体请查看互助需知
我知道了
×
提示
确定
请完成安全验证×
相关产品
×
本文献相关产品
联系我们:info@booksci.cn Book学术提供免费学术资源搜索服务,方便国内外学者检索中英文文献。致力于提供最便捷和优质的服务体验。 Copyright © 2023 布克学术 All rights reserved.
京ICP备2023020795号-1
ghs 京公网安备 11010802042870号
Book学术文献互助
Book学术文献互助群
群 号:604180095
Book学术官方微信