Journal Of Technical Education Development最新文献

筛选
英文 中文
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัล การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัล
Journal Of Technical Education Development Pub Date : 2024-03-01 DOI: 10.14416/j.ted.2024.03.008
ชนัญชิดา ขวัญใจ, สุภัททา ปิณฑะแพทย์, ภาวิณี บุณยโสภณ, ปรีดา อัตวินิจตระการ
{"title":"การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัล","authors":"ชนัญชิดา ขวัญใจ, สุภัททา ปิณฑะแพทย์, ภาวิณี บุณยโสภณ, ปรีดา อัตวินิจตระการ","doi":"10.14416/j.ted.2024.03.008","DOIUrl":"https://doi.org/10.14416/j.ted.2024.03.008","url":null,"abstract":"การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัลมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัล 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัลและ 3) จัดทำคู่มือแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัล ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรในการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นผู้บริหารในธุรกิจออกแบบงานสถาปัตยกรรม ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ผู้บริหารระดับสูง พันธมิตรและนักวิชาการในธุรกิจออกแบบสถาปัตยกรรม กลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถามเชิงปริมาณ จำนวน 395 คน เป็นผู้บริหารในธุรกิจออกแบบงานสถาปัตยกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพคือ แบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้างเพื่อการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมินคู่มือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบองค์ประกอบการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัลประกอบด้วย7 องค์ประกอบคือ 1) การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ 2) สมรรถนะในการบริหาร 3) การนำองค์กร 4) การบริหารกระบวนการออกแบบ 5) การบริหารการเปลี่ยนแปลง) 6) การบริหารความเสี่ยง 7) การบริหารตามสถานการณ์ คู่มือแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัลส่วนที่ 1 เป็นองค์ประกอบของคู่มือและส่วนที่ 2 แนวทางการบริหารจัดการธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัล รูปแบบและคู่มือได้รับการประเมินและเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านความเหมาะสมของเนื้อหาในระดับร้อยละ 98 และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคดิจิทัลได้","PeriodicalId":120890,"journal":{"name":"Journal Of Technical Education Development","volume":"49 s19","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-01","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140399655","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สถาบันการบินพลเรือน ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สถาบันการบินพลเรือน
Journal Of Technical Education Development Pub Date : 2024-03-01 DOI: 10.14416/j.ted.2024.03.011
จรียากรณ์ หวังศุภกิจโกศล, ปอนด์ ทฤษฎิคุณ, ณัฐกรานต์ ไชยหาวงศ์
{"title":"ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สถาบันการบินพลเรือน","authors":"จรียากรณ์ หวังศุภกิจโกศล, ปอนด์ ทฤษฎิคุณ, ณัฐกรานต์ ไชยหาวงศ์","doi":"10.14416/j.ted.2024.03.011","DOIUrl":"https://doi.org/10.14416/j.ted.2024.03.011","url":null,"abstract":"การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สถาบันการบินพลเรือน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากประชากรคือ ผู้สำเร็จการศึกษา จากหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สถาบันการบินพลเรือน จำนวน 109 คน โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบหลายตัวแปร ด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบซ้อน จากผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สถาบันการบินพลเรือน ได้แก่ (1) ปัจจัยจากตัวผู้เรียน คือ ด้านแรงจูงใจและเจตคติ (X1) ด้านพฤติกรรมการเรียน (X2) (2) ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน คือ ด้านผู้สอน/วิทยากร/อาจารย์ที่ปรึกษา (วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ) (X3) ด้านกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ (X4) (3) ปัจจัยสนับสนุนจากภายนอก คือ ด้านการสนับสนุนจากครอบครัว (X6) ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน (X7) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยภาพรวม สามารถนำมาสร้างเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ y = .47 + .29X1 + .26X2 + .17X3 + .20X4 - .12X6 + .26X7","PeriodicalId":120890,"journal":{"name":"Journal Of Technical Education Development","volume":"64 5","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-01","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140407432","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล
Journal Of Technical Education Development Pub Date : 2024-03-01 DOI: 10.14416/j.ted.2024.03.016
สนธยา บุญประเสริฐ
{"title":"แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล","authors":"สนธยา บุญประเสริฐ","doi":"10.14416/j.ted.2024.03.016","DOIUrl":"https://doi.org/10.14416/j.ted.2024.03.016","url":null,"abstract":"การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาศักยภาพครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล ในสภาพปัจจุบัน เพื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาศักยภาพครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ครูช่างอุตสาหกรรมในโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ไทย-เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และครูช่างอุตสาหกรรมในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 206 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ครูช่างอุตสาหกรรมมีความต้องการพัฒนาศักยภาพครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอน ในยุคดิจิทัล โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่า มีความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (Attributes) มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความรู้ (Knowledge) และด้านทักษะ (Skills) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อสามลำดับแรก พบว่า ด้านความรู้ (Knowledge) มีความต้องการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการเขียนเกมบนเว็บไซต์ด้วยระบบ WebVR ผ่านโปรแกรม Unity รองลงมาคือ การเขียนโปรแกรมภาษา C# บน Unity Editor และความรู้เกี่ยวกับแนวคิดในการสร้างเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน สำหรับความต้องการพัฒนาศักยภาพ ด้านทักษะ (Skill) พบว่า มีความต้องการพัฒนาทักษะในการเขียนโปรแกรมภาษา C# บน Unity Editor รองลงมาคือ ทักษะในการใช้งานโปรแกรม SteamVR ร่วมกับโปรแกรม Unity ในการสร้างเกม และทักษะในการพัฒนา Mobile VR ด้วย Unity ในขณะที่ความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (Attributes) มีความต้องการพัฒนาศักยภาพความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รองลงมาคือ การมีบุคลิกภาพและกิริยาท่าทางที่เหมาะสม และความมีระเบียบวินัย และครูช่างอุตสาหกรรมที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน ต่างกัน มีความต้องการพัฒนาศักยภาพ ครูช่างอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) มาบูรณาการกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล โดยภาพรวม และรายด้าน ทุกด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะ (Skills) และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (Attributes) ไม่แตกต่างกัน","PeriodicalId":120890,"journal":{"name":"Journal Of Technical Education Development","volume":"3 9","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-01","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140401675","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
สภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง หลักสูตรคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย สภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง หลักสูตรคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย
Journal Of Technical Education Development Pub Date : 2024-03-01 DOI: 10.14416/j.ted.2024.03.006
ปารเมศ รินทะวงศ์, ต้นข้าว ปาณินท์
{"title":"สภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง หลักสูตรคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย","authors":"ปารเมศ รินทะวงศ์, ต้นข้าว ปาณินท์","doi":"10.14416/j.ted.2024.03.006","DOIUrl":"https://doi.org/10.14416/j.ted.2024.03.006","url":null,"abstract":"การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) ในสถาบันอุดมศึกษาประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) ในสถาบันอุดมศึกษาประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 90 คน ประกอบด้วยอาจารย์ 10 คน ผู้สำเร็จการศึกษา 50 คน สถาปนิก 20 คน และวิศวกร 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามตามความคิดเห็นต่ออุปสรรคและปัญหาการจัดการเรียนการสอน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องที่ส่งผลต่อการสอน และด้านสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับพื้นที่ว่างและอาคาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) ในสถาบันอุดมศึกษาประเทศไทย ด้านที่ 1 ด้านการเรียนการสอน การสอนทฤษฎี อาจารย์ ผู้สำเร็จการศึกษา และสถาปนิก มีความคิดเห็นว่า เนื้อหาทฤษฎีเป็นอุปสรรคและปัญหามากที่สุด แต่วิศวกร มีความคิดเห็นว่า การอธิบายเนื้อหาและประสบการณ์ของผู้สอนเป็นปัญหามากที่สุด การสอนภาคปฏิบัติ ทุกคนให้ความคิดเห็นว่า การปฏิบัติงานจริงเป็นอุปสรรคและปัญหามากที่สุด การศึกษาด้วยตนเอง อาจารย์ความคิดเห็นว่า การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การสำรวจและการเก็บข้อมูลจากสถานที่จริงเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการสอนมากที่สุด ผู้สำเร็จการศึกษา มีความคิดเห็นว่า การสำรวจและการเก็บข้อมูลจากสถานที่จริงเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการสอนมากที่สุด สถาปนิก และวิศวกร มีความคิดเห็นว่า หนังสือเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด การค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือเป็นอุปสรรคและปัญหามากที่สุด ด้านที่ 2 องค์ความรู้ทางเทคโนโลยีด้านการก่อสร้าง 3 กลุ่ม Software Platform เช่น Building Information Modeling (BIM) อาจารย์ ผู้สำเร็จการศึกษา สถาปนิก มีความคิดเห็นว่า การมีองค์ความรู้แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด วิศวกร มีความคิดเห็นว่า Equipment and System (Prefabs) และ Construction Robotics อาจารย์ มีความคิดเห็นว่า มีองค์ความรู้แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ผู้สำเร็จการศึกษามีความคิดเห็นว่า มีองค์ความรู้แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญเป็นอุปสรรคและขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด สถาปนิกมีความคิดเห็นว่า ยังไม่มีประสบการณ์และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและมีองค์ความรู้แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด วิศวกร มีความคิดเห็นว่า ขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาองค์ความรู้เป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด User Interface เช่น Virtual Reality (VR) อาจารย์ มีความคิดเห็นว่า ยังไม่มีประสบการณ์และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ผู้สำเร็จการศึกษา และวิศกร มีความคิดเห็นว่า ขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด สถาปนิก มีความคิดเห็นว่า มีองค์ความรู้แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญเป็นอุปสรร","PeriodicalId":120890,"journal":{"name":"Journal Of Technical Education Development","volume":"44 5","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-01","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140403514","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
Bibli-Omino: เกมเพื่อเรียนรู้การเขียนบรรณานุกรม Bibli-Omino: เกมเพื่อเรียนรูก้ารเขียนบรรณานุกรม
Journal Of Technical Education Development Pub Date : 2024-03-01 DOI: 10.14416/j.ted.2024.03.001
บรรพต พิจิตรกำเนิด
{"title":"Bibli-Omino: เกมเพื่อเรียนรู้การเขียนบรรณานุกรม","authors":"บรรพต พิจิตรกำเนิด","doi":"10.14416/j.ted.2024.03.001","DOIUrl":"https://doi.org/10.14416/j.ted.2024.03.001","url":null,"abstract":"เกม Bibli-Omino เป็นแนวคิดการนำเกมมาส่งเสริมและพัฒนาการเขียนบรรณานุกรม ถึงแม้ปัจจุบันจะมีเครื่องมือช่วยจัดทำการอ้างอิงและบรรณานุกรมที่เป็นอัตโนมัติ แต่อาจมีอุปสรรคสำหรับข้อมูลภาษาไทย จึงเป็นเหตุให้ผู้นิพนธ์ผลงานวิชาการยังจำเป็นต้องใส่ข้อมูลแต่ละรายการของเอกสารนั้น ๆ ด้วยตนเอง ผู้นิพนธ์ผลงานวิชาการจำนวนมากมีปัญหาในการเขียนข้อมูลรายการต่าง ๆ ของแหล่งสารสนเทศที่มีรายละเอียดแยกย่อยอยู่พอสมควร Bibli-Omino เป็นเกมที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้เล่นได้เรียนรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ในการเขียนบรรณานุกรมให้มีความถูกต้องตามหลักการและกฎเกณฑ์ตามรูปแบบ APA ผ่านการเล่นเกม","PeriodicalId":120890,"journal":{"name":"Journal Of Technical Education Development","volume":"70 2","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-01","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140406256","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัว การพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัว
Journal Of Technical Education Development Pub Date : 2024-03-01 DOI: 10.14416/j.ted.2024.03.009
ชนัฐวัฒน์ ศิริเอี้ยวพิกูล, ธนภพ โสตรโยม
{"title":"การพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัว","authors":"ชนัฐวัฒน์ ศิริเอี้ยวพิกูล, ธนภพ โสตรโยม","doi":"10.14416/j.ted.2024.03.009","DOIUrl":"https://doi.org/10.14416/j.ted.2024.03.009","url":null,"abstract":"การศึกษาวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสูตรพื้นฐานของเนื้อสัตว์เทียมจากถั่ว 2) ศึกษาปริมาณปริมาณที่เหมาะสมในการใช้รากบัวเสริมในเนื้อสัตว์เทียมจากถั่ว 3) ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัวและเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วสูตรพื้นฐาน และ 4) ศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อตำรับอาหารที่ใช้เนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และผู้บริโภคจำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ศึกษาสูตรพื้นฐานของเนื้อสัตว์เทียมจากถั่ว พบว่า เมื่อนำเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วสูตรพื้นฐานทั้ง 3 สูตร มาทดสอบประสาทสัมผัส พบว่า ผู้เชี่ยวชาญชิมทั้ง 5 ท่านได้ให้ความชอบเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วสูตรพื้นฐานทั้ง 3 สูตร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้เชี่ยวชาญให้คะแนนสูตรที่ 2 มากที่สุด ซึ่งมีส่วนผสมของถั่วเหลือง 50 กรัม ถั่วลันเตา 60 กรัม ถั่วขาว 40 กรัม เห็ดหอม 10 กรัม และบีทรูท 5 กรัม เนื่องจากมีกลิ่นหอมและรสที่ดีกว่าสูตรที่ 1 และสูตรที่ 3 จึงทำการเลือกสูตรที่ 2 เพื่อทำการทดสอบในขั้นต่อไป 2) ศึกษาปริมาณปริมาณที่เหมาะสมในการใช้รากบัวเสริมในเนื้อสัตว์เทียมจากถั่ว พบว่า ได้จากการศึกษาสูตรพื้นฐานของเนื้อสัตว์เทียมจากถั่ว มาเสริมรากบัวในอัตราส่วนร้อยละ 5, 10, 15 และ 20 ทำการทดสอบการยอมรับโดยผู้ทดสอบทางประสาทสัมผัส จำนวน 30 คน การเสริมรากบัวในอัตราส่วน 10 : 100 ได้รับการยอมรับมากที่สุด 3) ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัวและเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วสูตรพื้นฐาน พบว่า ปริมาณไฟเบอร์ของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เทียมจากถั่วทั้ง 2 สูตร หลังจากใช้โปรแกรมคำนวณอาหาร INMUCAL - Nutrients 4.0 พบว่า องค์ประกอบในด้านเส้นใยอาหารและโปรตีน ในสูตรพัฒนามีปริมาณมากกว่าสูตรพื้นฐานและ 4) ศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อตำรับอาหารที่ใช้เนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัว พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ มีความชอบมาก 2 ด้าน ดังนี้ คือ ด้านรูปร่างและด้านสี ส่วนด้านรสชาติ ด้านกลิ่น ด้านเนื้อสัมผัสและด้านความชอบโดยรวมอยู่ในระดับคะแนนยอมรับชอบปานกลาง และร้อยละ 93.33 ให้การยอมรับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัว และหาการยอมรับของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อการนำเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัวไปใช้ปรุงอาหาร โดยวิธีการปรุงอาหารที่เหมาะสมกับเนื้อสัตว์เทียมจากถั่วเสริมรากบัวโดยใช้ 4 วิธีการปรุงคือ การต้ม คือ เมนูต้มจืด การผัด คือ เมนูผัดพริกเกลือ การแกง คือเมนูแกงเขียวหวานและการทอด คือ เมนูทอดเกลือ โดยการทอดได้รับการยอมรับมากที่สุดโดยมีความต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05","PeriodicalId":120890,"journal":{"name":"Journal Of Technical Education Development","volume":"98 11","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-01","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140406758","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การพัฒนารูปแบบสมรรถนะนิติกรมหาวิทยาลัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล การพัฒนารูปแบบสมรรถนะนิติกรมหาวิทยาลัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล
Journal Of Technical Education Development Pub Date : 2024-03-01 DOI: 10.14416/j.ted.2024.03.017
รุ่งทิพย์ ฮุนตระกูล
{"title":"การพัฒนารูปแบบสมรรถนะนิติกรมหาวิทยาลัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล","authors":"รุ่งทิพย์ ฮุนตระกูล","doi":"10.14416/j.ted.2024.03.017","DOIUrl":"https://doi.org/10.14416/j.ted.2024.03.017","url":null,"abstract":"งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะในการปฏิบัติงานของนิติกรมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล 2) พัฒนารูปแบบสมรรถนะที่จำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนิติกรมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบสมรรถนะนิติกรมหาวิทยาลัยในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิจัยแบบเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านกฎหมาย จำนวน 19 ท่าน ที่ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองกฎหมาย หรือเทียบเท่าที่ปฏิบัติหน้าที่กำกับ ดูแล และบังคับบัญชานิติกรในองค์กรของรัฐและเอกชน ได้แก่ มหาวิทยาลัย กระทรวง สำนักงานอัยการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชน และ 2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการประชุมสนทนากลุ่ม จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปลายเปิดเพื่อการสัมภาษณ์ แบบสอบถามปลายปิดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ค่ามัธยฐาน (Median) และ ค่าพิสัยระหว่างควลไทล์ (IQR) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบสมรรถนะที่จำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนิติกรมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน และ 15 สมรรถนะหลัก ได้แก่ 1. ด้านความรู้ มี 5 สมรรถนะหลัก คือ 1) ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. การจัดตั้งมหาวิทยาลัย ระเบียบ และประกาศมหาวิทยาลัย 2) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทางการเงิน พัสดุของทางราชการ และกฎหมายแรงงาน 3) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทางเทคโนโลยีดิจิทัล 4) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา และกฎหมายพิเศษ และ 5) ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐ และความรู้ภาษาอังกฤษ 2. ด้านทักษะ มี 6 สมรรถนะหลัก คือ 1) ทักษะการตีความ สรุปเรื่อง และวิเคราะห์ประเด็นทางกฎหมาย 2) ทักษะในการยกร่างกฎหหมาอนุบัญญัติ งานคดี และงานสอบสวนต่าง ๆ 3) ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิทัลในงานกฎหมาย 4) ทักษะในการปฏิบัติงานนิติกรรม สัญญา และข้อตกลง 5) ทักษะในการสื่อสาร ประสานงาน และการเจรจาไกล่เกลี่ย และ 6 ทักษะในการจัดเก็บ สืบค้น และให้บริการข้อมูลทางกฎหมาย และ 3. ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มี 4 สมรรถนะหลัก คือ 1) มีความใฝ่รู้ รักองค์กร รักงานด้านกฎหมาย มีใจให้บริการ และกล้าแสดงออก 2) มีความมุ่งมั่น รับผิดชอบ กระตือลือรือร้น ขยัน ตรงต่อเวลา 3) ยึดมั่นในคุณธรรม จรรยาบรรณ มีความซื่อสัตย์ และมีเหตุผล และ4) มีระเบียบวินัย และมีความรอบคอบในการปฏิบัติงาน","PeriodicalId":120890,"journal":{"name":"Journal Of Technical Education Development","volume":"48 9","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-01","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140407520","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางการคำนวณ การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางการคำนวณ
Journal Of Technical Education Development Pub Date : 2024-03-01 DOI: 10.14416/j.ted.2024.03.002
สายสุดา ปั้นตระกูล
{"title":"การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางการคำนวณ","authors":"สายสุดา ปั้นตระกูล","doi":"10.14416/j.ted.2024.03.002","DOIUrl":"https://doi.org/10.14416/j.ted.2024.03.002","url":null,"abstract":"การจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคปัจจุบัน เกี่ยวข้องกับการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และแก้ปัญหา ผ่านการให้ข้อเสนอแนะ และอำนวยความสะดวกในกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ ที่ตอบสนองรูปแบบการเรียนรู้และความชอบต่างๆ เมื่อรวมเทคนิคการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้แบบกลุ่มเข้ากับการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจะสามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการแก้ปัญหาการคำนวณที่ซับซ้อนได้ อีกทั้งผู้เรียนยังสามารถเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการทำงานในปัจจุบัน การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้แบบกลุ่มสามารถช่วยให้ผู้เรียนมีการพัฒนาความคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ปัญหา และทักษะในการสื่อสาร เมื่อทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ผู้เรียนจะสามารถสำรวจหัวข้อเฉพาะในเชิงลึกและเข้าใจเนื้อหาในเรื่องข้อนั้นๆ อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น","PeriodicalId":120890,"journal":{"name":"Journal Of Technical Education Development","volume":"57 12","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-01","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140399979","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การพัฒนารูปแบบสมรรถนะนักเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมดิจิทัล การพัฒนารูปแบบสมรรถนะนักเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมดิจิทัล
Journal Of Technical Education Development Pub Date : 2024-03-01 DOI: 10.14416/j.ted.2024.03.005
บริดตา อินรัญ, สมนึก วิสุทธิแพทย์, ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, ธีรวัช บุณยโสภณ
{"title":"การพัฒนารูปแบบสมรรถนะนักเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมดิจิทัล","authors":"บริดตา อินรัญ, สมนึก วิสุทธิแพทย์, ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, ธีรวัช บุณยโสภณ","doi":"10.14416/j.ted.2024.03.005","DOIUrl":"https://doi.org/10.14416/j.ted.2024.03.005","url":null,"abstract":"การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการพัฒนารูปแบบสมรรถนะนักเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมดิจิทัล 2) พัฒนารูปแบบสมรรถนะนักเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมดิจิทัล และ 3) จัดทำคู่มือ สำหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะนักเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมดิจิทัล ด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมผสานการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) การประชุมสนทนากลุ่มกลุ่มประชาพิเคราะห์ (Focus Group Discussion) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ การสำรวจ การใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ปฎิบัติการซึ่งดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมดิจิทัลโดยมุ่งเน้นการวิจัยในกลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (Software) กลุ่มอุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัล (Digital Service) และกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 7 คน 2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมดิจิทัล ในการประชุมสนทนากลุ่มย่อย จำนวน 15 คน และ 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 428 คน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะนักเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมดิจิทัล ประกอบด้วย 1) ความรู้ทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเฉพาะสายงาน 2) ความรู้ในการนำระบบดิจิทัลไปประยุกต์ใช้งาน 3) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับทักษะดิจิทัล 4) ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลและออกแบบระบบเพื่อผลสำเร็จของงาน 5) ทักษะการสื่อสารและการแก้ไขปัญหา 6) ทักษะการบริหารงาน 7) ทักษะในการเรียนรู้และปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง 8) คุณลักษณะด้านวิชาชีพ 9) คุณลักษณะด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ 10) กรอบความคิดแบบเติบโต ส่วนคู่มือแนวปฏิบัติในการพัฒนาสมรรถนะนักเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมดิจิทัล ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญว่ามีความเหมาะสม สอดคล้องกับเนื้อหาและสามารถนำไปใช้และพัฒนาได้จริง","PeriodicalId":120890,"journal":{"name":"Journal Of Technical Education Development","volume":"14 4","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-01","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140404163","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
Journal Of Technical Education Development Pub Date : 2024-03-01 DOI: 10.14416/j.ted.2024.03.003
บุญญลักษม์ ตำนานจิตร
{"title":"การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21","authors":"บุญญลักษม์ ตำนานจิตร","doi":"10.14416/j.ted.2024.03.003","DOIUrl":"https://doi.org/10.14416/j.ted.2024.03.003","url":null,"abstract":"การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการออกแบบกระบวนการเรียนการสอนเพื่อสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาให้แก่นักศึกษา การสร้างให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาจำเป็นต้องนำการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยมีรากฐานแนวคิดจากทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้โดยการลงมือกระทำ รู้จักคิดแก้ปัญหาด้วยตนเองและสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในชั้นเรียน ผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน คอยส่งเสริมให้คำปรึกษา กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัว สนใจเนื้อหาบทเรียน และเกิดการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา การให้ความสำคัญกับการวางรากฐานการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์มีความสามารถในการแก้ปัญหา เนื่องจากความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเป็นหนึ่งในทักษะที่จำเป็นของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดการวัดการประเมินผลของ PISA ซึ่งเป็นการประเมินผลการเรียนรู้จากการทดสอบระดับนานาชาติของ Organization for Economic Cooperation and Development (OECD) ทำให้ทักษะการแก้ปัญหาเป็นหนึ่งในผลลัพธ์การเรียนรู้","PeriodicalId":120890,"journal":{"name":"Journal Of Technical Education Development","volume":"64 5","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-03-01","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"140406102","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
0
×
引用
GB/T 7714-2015
复制
MLA
复制
APA
复制
导出至
BibTeX EndNote RefMan NoteFirst NoteExpress
×
提示
您的信息不完整,为了账户安全,请先补充。
现在去补充
×
提示
您因"违规操作"
具体请查看互助需知
我知道了
×
提示
确定
请完成安全验证×
相关产品
×
本文献相关产品
联系我们:info@booksci.cn Book学术提供免费学术资源搜索服务,方便国内外学者检索中英文文献。致力于提供最便捷和优质的服务体验。 Copyright © 2023 布克学术 All rights reserved.
京ICP备2023020795号-1
ghs 京公网安备 11010802042870号
Book学术文献互助
Book学术文献互助群
群 号:604180095
Book学术官方微信