Interdisciplinary Academic and Research Journal最新文献

筛选
英文 中文
การพัฒนากลยุทธ์การตลาดของสถาบันอาชีวศึกษาไทย การพัฒนากลยุทธ์การตลาดของสถาบันอาชีวศึกษาไทย
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-06-08 DOI: 10.60027/iarj.2024.276352
Yadan Luo, ภัทรธิรา ผลงาม, ตระกูล จิตวัฒนากร, สยาม อัจฉริยประภา
{"title":"การพัฒนากลยุทธ์การตลาดของสถาบันอาชีวศึกษาไทย","authors":"Yadan Luo, ภัทรธิรา ผลงาม, ตระกูล จิตวัฒนากร, สยาม อัจฉริยประภา","doi":"10.60027/iarj.2024.276352","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276352","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: กลยุทธ์การตลาดของสถาบันอาชีวศึกษาเน้นไปที่การเติบโตและพัฒนาตัวเองให้เป็นที่รู้จักในตลาดและมีความสามารถในการแข่งขันในอาชีพต่างๆ ซึ่งสถาบันอาชีวศึกษาจะต้องใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อเสนอข้อเสนอที่น่าสนใจและสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า โดยกลยุทธ์ดังกล่าวจะต้องใช้ 7Ps ของการตลาด การพัฒนากลยุทธ์การตลาดของสถาบันอาชีวศึกษาในประเทศไทย เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าสู่ตลาดแรงงานและเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต โดยบทความนี้จะสอดคล้องกับแนวคิดของ 7P (Product; Price; Place; Promotion; People; Process; Physical) ซึ่งเป็นการจัดการกลยุทธ์การตลาดอย่างเหมาะสมหลักสูตรอาชีวศึกษาควรถูกออกแบบให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้งานที่ต้องการและเติบโตอย่างยั่งยืนในอาชีพ นอกจากนี้มีการเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและสร้างสื่อสารที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มความน่าสนใจในหลักสูตร\u0000ระเบียบวิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษาเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องแล้วนำเสนอเชิงพรรณนาความตามวัตถุประสงค์การศึกษา\u0000ผลการศึกษา: กลยุทธ์การตลาดของสถาบันอาชีวศึกษาไทยสามารถดำเนินการตามแนวคิดกลยุทธ์การตลาด 7P’s ประกอบด้วย (1) หลักสูตร (Programs) (2) ค่าเล่าเรียน (Price) (3) สถานที่ (Place) (4) การประชาสัมพันธ์ (Promotion) (5) บุคลากร (People) (6) กระบวนการผลิต(Processes) และ (7) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical facilities)  \u0000สรุปผล: สถาบันอาชีวศึกษาของไทยสามารถกำหนดกลยุทธ์การตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยปฏิบัติตามกรอบแนวคิดกลยุทธ์การตลาดของ 7P ที่ครอบคลุม สิ่งนี้นำมาซึ่งความเอาใจใส่อย่างพิถีพิถันต่อหลักสูตร การกำหนดราคา ตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง บุคลากร กระบวนการ และสิ่งอำนวยความสะดวกทางกายภาพ เพื่อให้มั่นใจว่ามีแนวทางแบบองค์รวมในการบรรลุวัตถุประสงค์","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":" 12","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-06-08","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141368541","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษากลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษากลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-06-08 DOI: 10.60027/iarj.2024.276353
ไอลดา อัครภูริสาธร, นิษรา พรสุริวงษ์, อมรรัตน์ ประวัติรุ่งเรื่อง
{"title":"ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษากลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1","authors":"ไอลดา อัครภูริสาธร, นิษรา พรสุริวงษ์, อมรรัตน์ ประวัติรุ่งเรื่อง","doi":"10.60027/iarj.2024.276353","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276353","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การบริหารจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล ผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องเป็นผู้บริหารยุคใหม่ เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการบริหาร และปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมืออาชีพ การบริหารสถานศึกษาในยุคปัจจุบัน มีองค์ประกอบหลายอย่างที่จะช่วยให้องค์กรเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารของสถานศึกษา กลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง (2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยการบริหารกับประสิทธิผลขอสถานศึกษา กลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง และ (4) เพื่อศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 140 คน โดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิและสุ่มแบบง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์สถิติการถดถอยพหุคูณ แบบ Stepwise\u0000ผลการวิจัย: (1) ปัจจัยการบริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (2) ประสิทธิผลของสถานศึกษาโดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษาภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับสูงมาก (rxy = .951) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) ตัวแปรพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิผลของสถานศึกษาได้แก่ ลักษณะของสภาพแวดล้อม ลักษณะบุคลากร และ ลักษณะขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าวได้ร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 90.70 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้\u0000สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ\u0000Y = .118 + .417X1 +.288X4 +263X3\u0000สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน\u0000Z= .405X1 +.306X4 + .273X3\u0000สรุปผล: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญระหว่างลักษณะการบริหารงานของสถาบันการศึกษาและประสิทธิผลโดยรวม ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างมากและรับรู้ในแง่ดี นอกจากนี้ คุณลักษณะขององค์กร มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ยังปรากฏเป็นตัวทำนายที่สำคัญ ซึ่งรวมกันแล้วคิดเป็น 90.70% ของประสิทธิผลของสถาบันการศึกษา","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":" 7","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-06-08","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141370613","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-06-08 DOI: 10.60027/iarj.2024.275931
ศศิพงษ์ งามศรีขำ, ศิวพร เสาวคนธ์
{"title":"ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที","authors":"ศศิพงษ์ งามศรีขำ, ศิวพร เสาวคนธ์","doi":"10.60027/iarj.2024.275931","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275931","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคที่หันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับอาหารและส่วนประกอบของอาหารที่รับประทานเพื่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 237 พ.ศ. 2544 ข้อ 6 เพื่อปกป้องสุขภาพประชาชนโดยลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากอาหารและเพื่อปกป้องสุขภาพประชาชนจากอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงเพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที 2) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีของต่างประเทศและประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที 4) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: งานวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยจากเอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูลจาก วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ บทความ หนังสือ ตำราเอกสารทางวิชาการอื่นๆ รวมถึงข้อมูลสารสนเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักกฎหมายไทยเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการควบคุมการผลิตอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมรับประทานทันทีให้มีประสิทธิภาพสูงสุด\u0000ผลการศึกษา: 1) การปกป้องสิทธิของผู้บริโภคและกำหนดความรับผิดชอบของผู้ปรุงอาหารเป็นสิ่งสำคัญต่อกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที 2) กฎหมายประเทศไทยในการแสดงฉลากของอาหารพร้อมปรุงและอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที ยังไม่มีความละเอียดในการบัญญัติกฎหมายให้ครอบคลุมผู้บริโภคอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที 3) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดให้เงื่อนไขไม่ใช้บังคับแก่อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที ซึ่งผู้ปรุงเป็นผู้จำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยตรงไม่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติอาหารของไทย กฎหมายที่เข้ามาควบคุมอาหารให้มีคุณภาพเป็นข้อยกเว้นที่ทำให้เกิดช่องว่างทางกฎหมายซึ่งกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง 4) ควรมีการเพิ่มกฎหมายโดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และ แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 237 พ.ศ. 2544 ดังนี้ (1) คำนิยามคำว่า “ผู้ปรุง” (2) การขอใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่ประกอบอาหาร (3) ฉลากอาหารสำหรับอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที (4) อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอาหารและยา สามารถแก้ไขปัญหาการควบคุมการผลิตอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมรับประทานทันทีให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นประโยชน์การควบคุมอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีที่ประชาชนบริโภคต่อไป\u0000สรุปผล: การปรับเปลี่ยนกฎหมายปัจจุบันและประกาศกระทรวงถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากไม่มีกฎหมายที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการผลิตและการติดฉลากอาหารพร้อมบริโภค สิ่งนี้แสดงให้เห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ว่าการขายตรงถึงผู้บริโภคได้รับการยกเว้นจากกฎระเบียบปัจจุบัน ในท้ายที่สุด การปรับปรุงการคุ้มครองผู้บริโภคและการควบคุมการผลิตอาหารพร้อมรับประทานอย่างมีประสิทธิผลจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งสามารถทำได้โดยการเสริมสร้างคำจำกัดความ ข้อกำหนดในการอนุญาต มาตรฐานการติดฉลาก และการกำกับดูแลภายใต้พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. พ.ศ.2522 และกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 237 พ.ศ.2544","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":" 9","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-06-08","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141369777","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมทหารผ่านศึก อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมทหารผ่านศึก อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-06-08 DOI: 10.60027/iarj.2024.273887
สวภัทร หงษ์โง่น, อัจฉรา จินวงษ์, ปิยพร แผ้วชำนาญ
{"title":"การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมทหารผ่านศึก อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี","authors":"สวภัทร หงษ์โง่น, อัจฉรา จินวงษ์, ปิยพร แผ้วชำนาญ","doi":"10.60027/iarj.2024.273887","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.273887","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การให้ความรู้ต่อกลุ่มเป้าหมาย ด้วยกลไก และวิธีการต่าง ๆ เช่น การให้ความรู้เชิงวิชาการ การสะท้อนให้เห็นผลที่เกิดขึ้นจากความเสี่ยง อันตรายต่อสุขภาพ การจัดกิจกรรมกลุ่มส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีองค์ความรู้ที่เพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้เกิดระดับการปฏิบัติที่ดีขึ้นตามลำดับ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินงานเฝ้าระวังและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในเขตชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพัฒนาและประเมินประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน เฝ้าระวัง และป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในเขตชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมทหารผ่านศึก อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) บุคลากรสาธารณสุขในเทศบาลตำบลบ้านตาด ได้แก่ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และนักวิชาการสาธารณสุข รวมจำนวน 2 คน (2) บุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมทหารผ่านศึก จำนวน 5 คน (3) ผู้นำระดับชุมชน ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 8 หมู่บ้าน รวมจำนวน 8 คน (4) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมทหารผ่านศึก อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ทั้ง 8 หมู่บ้าน จำนวน 98 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ\u0000ผลการวิจัย: รูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในเขตชุมชนจำเป็นต้องมีการสร้างความเข้าใจให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขในการดำเนินงานและซักซ้อมให้สามารถปฏิบัติตามได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีขั้นตอนประกอบไปด้วย (1) การดำเนินงานเฝ้าระวัง และป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุข การทำหน้าที่เป็นด่านหน้าในการคัดกรอง หรือรณรงค์เคาะประตูบ้านควรมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคโควิด-19 เมื่อมีผู้ป่วยเกิดขึ้นในชุมชน (2) การสนับสนุนการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุข จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรให้การสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณ ในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชนและเงินสนับสนุนในรูปแบบของโครงการ ให้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ และเป็นขวัญกำลังใจแก่ อาสาสมัครสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงาน (3) การเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานเฝ้าระวัง และป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน ของ อสม. การปฏิบัติงานในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 อาสาสมัครสาธารณสุขเป็นกลุ่มอาสาสมัครภาคประชาชน จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาความรู้ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้เรื่องการป้องกันโรค การติดเชื้อ ระยะติดต่อ รวมไปถึงการรักษาเบื้องต้นของโรคโควิด–19 เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่คนในชุมชน และยังสร้างความมั่นใจในตนเองของ อาสาสมัครสาธารณสุข ต่อไป         \u0000สรุปผล: ผลการวิจัยนี้ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายโดยใช้กลไกและวิธีการต่างๆ เช่น การให้ความรู้ทางวิชาการ สะท้อนผลที่ตามมาของความเสี่ยง อันตรายต่อสุขภาพ การจัดกิจกรรมกลุ่มส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้มากขึ้น และส่งผลให้มีการปฏิบัติที่ดีขึ้นตามลำดับ","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":" 9","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-06-08","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141368418","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
ความเป็นกลางของผู้มีอำนาจพิจารณาทางปกครอง ศึกษากรณี คุณสมบัติกรณีอื่นของกฎกระทรวงที่ออกตามความมาตรา 13 (6) พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 กับการบังคับใช้กฎหมาย ความเป็นกลางของผู้มีอำนาจพิจารณาทางปกครอง ศึกษากรณี คุณสมบัติกรณีอื่นของกฎกระทรวงที่ออกตามความมาตรา 13 (6) พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 กับการบังคับใช้กฎหมาย
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-06-08 DOI: 10.60027/iarj.2024.276100
ธีระญา ปราบปราม
{"title":"ความเป็นกลางของผู้มีอำนาจพิจารณาทางปกครอง ศึกษากรณี คุณสมบัติกรณีอื่นของกฎกระทรวงที่ออกตามความมาตรา 13 (6) พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 กับการบังคับใช้กฎหมาย","authors":"ธีระญา ปราบปราม","doi":"10.60027/iarj.2024.276100","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276100","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัถตุประสงค์: การดำเนินงานทางปกครองมีหลักเกณฑ์และขั้นตอนมากมายที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่เรียกว่าแบบในทางกฎหมายปกครอง  การดำเนินการก็ต้องกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจที่กฎหมายกำหนดอำนาจไว้ให้และตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักความเป็นกลาง ดังนั่นบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นกลางของผู้มีอำนาจพิจารณาทางปกครอง ศึกษากรณี คุณสมบัติกรณีอื่นของกฎกระทรวง\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้ทำการวิเคราะห์กฎกระทรวงที่ออกตามความมาตรา 13 (6) พระราชบัญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 กับการบังคับใช้กฎหมาย โดยหลักความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครองกำหนดคุณสมบัติคู่กรณีไว้ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 13 ตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และต่อมาได้มีการประกาศกฎกระทรวงตามความในมาตรา 13(6)\u0000ผลการวิจัย: กฎกระทรวงนั้นมีการควบคุมการพิจารณาทางปกครอง เพื่อป้องกันความไม่เป็นกลางในทางภาวะวิสัยหรือความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายนอก  แต่เมื่อพิจารณาข้อความของกฎหมายที่ใช้คำว่า “เป็น”หริอ “เคยเป็น” อันไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน อาจส่งผลกับผู้พิจารณาทางปกครองที่เป็นคู่กรณีต้องผูกพันในฐานะดังกล่าวไปตลอดชีวิต หากผู้พิจารณาทางปกครองเคยมีความสัมพันธ์กับคู่กรณีในฐานะที่ “เป็น” หรือ “เคยเป็น”  เป็นการยากในการพิสูจน์จากคู่กรณีที่ถูกพิจารณาทางปกครองว่าสถานะ “เป็น” หรือ “เคยเป็น” มีหลักฐานใดที่นำสืบเพื่อเป็นข้ออ้างได้ เพื่อเป็นข้อคัดค้านการพิจารณาทางปกครองตามมาตรา 14 วรรค 1 อีกทั้งกฎกระทรวงดังกล่าวยังมีการบังคับใช้กฎหมายในสถานะของคู่กรณีที่ไม่ได้ปรากฎชัดตามกฎหมายที่รับรองสถานะที่ปรากฎตามทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย การที่ไม่ได้มีกฎหมายที่ตีตราทางทะเบียนที่รับรองสถานะไว้ทำให้ยากต่อการพิสูจน์เพื่อการคัดค้านอีกกรณีหนึ่ง จะเห็นได้ว่ากฎกระทรวงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเขียนในขอบเขตที่กว้าง จำกัดสิทธิ เสรีภาพของคู่กรณีตามรัฐธรรมนูญกำหนด ยากต่อการพิสูจน์สถานะ แม้ว่าจะเป็นการรัดกุมเพื่อป้องกันการพิจารณาทางปกครองที่ไม่เป็นกลาง แต่ก็เป็นข้อกังวลที่อาจมีการคัดค้านการพิจารณาทางปกครองมากขึ้น อันทำให้การพิจารณาทางปกครองล่าช้าไปโดยปราศจากเหตุอันสมควร\u0000สรุปผล: แม้ว่าวัตถุประสงค์ของกฎระเบียบเหล่านี้คือเพื่อป้องกันอคติ แต่ก็ทำให้เกิดความคลุมเครือโดยไม่ได้ตั้งใจซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์และขัดขวางกระบวนการตัดสินที่เป็นกลาง การเข้าถึงอย่างกว้างขวางทำให้เกิดความล่าช้าที่ไม่สมเหตุสมผลในการทบทวนของฝ่ายบริหาร โดยการจำกัดสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ และทำให้กระบวนการตรวจสอบยากขึ้น","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":" 9","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-06-08","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141369378","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การจัดการความรู้ต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรมของการประปาส่วนภูมิภาคสาขา ในสังกัด การประปาส่วนภูมิภาคเขต 5 การจัดการความรู้ต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรมของการประปาส่วนภูมิภาคสาขา ในสังกัด การประปาส่วนภูมิภาคเขต 5
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-06-08 DOI: 10.60027/iarj.2024.276652
อชิรญา เวียงแก, สรัญณี อุเส็นยาง
{"title":"การจัดการความรู้ต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรมของการประปาส่วนภูมิภาคสาขา ในสังกัด การประปาส่วนภูมิภาคเขต 5","authors":"อชิรญา เวียงแก, สรัญณี อุเส็นยาง","doi":"10.60027/iarj.2024.276652","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276652","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การพัฒนาองค์กรในทันกับยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี และกระแสโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งการพัฒนาองค์กรให้มีนวัตกรรมในองค์กรเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง และการจัดการความรู้ก็เป็นอีกประการที่ทุกองค์ควรปรับให้มี เนื่องจากเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรนวัตกรรม ซึ่งการประปาส่วนภูมิภาคสาขา ในสังกัด การประปาส่วนภูมิภาคเขต 5 เป็นองค์กรที่กำหนดกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ เพื่อให้องค์กรดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการความรู้ของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาคสาขา ในสังกัด การประปาส่วนภูมิภาค เขต 5 2) เพื่อศึกษาระดับการเป็นองค์กรนวัตกรรมของการประปาส่วนภูมิภาคสาขา ในสังกัด การประปา ส่วนภูมิภาคเขต 5 และ 3) เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรมของการประปา ส่วนภูมิภาคสาขา ในสังกัด การประปาส่วนภูมิภาคเขต 5\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: ประชากรที่ทำการวิจัยครั้งนี้ เป็นพนักงานการประปาส่วนภูมิภาคสาขา ระดับปฏิบัติการ ระดับ 1-7 ในสังกัดการประปาส่วนภูมิภาคเขต 5 จำนวนทั้งสิ้น 415 คน โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุการทำงาน และสายงานที่ปฏิบัติ/สังกัดงาน ส่วนที่ 2 สอบถามเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นด้านการจัดการความรู้ และส่วนที่ 3 สอบถามเกี่ยวกับการเป็นองค์กรนวัตกรรมขององค์กร ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์ (Online survey) ซึ่งใช้การสร้างแบบสอบถามใส่ Google form ควบคู่ไปกับการส่งแบบสอบถามช่องทางแอพพลิเคชั่นไลน์กลุ่มหัวหน้างานอำนวยการ การประปาส่วนภูมิภาคสาขา ในสังกัดการประปา ส่วนภูมิภาคเขต 5 ทุกสาขา จำนวน 20 สาขา จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 201 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยโปรแกรมสำเร็จรูป ทางคอมพิวเตอร์\u0000ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการจัดการความรู้ของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาคสาขา ในสังกัด การประปาส่วนภูมิภาคเขต 5 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการสร้างความรู้ ด้านการแสวงหาความรู้ ด้านการจัดเก็บและการสืบค้นความรู้ และด้านการเผยแพร่และประยุกต์ใช้ความรู้ ตามลำดับ (2) ระดับการเป็นองค์กรนวัตกรรมของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาคสาขา ในสังกัด การประปาส่วนภูมิภาคเขต 5 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ และด้านนวัตกรรมกระบวนการ และ(3) การจัดการความรู้ส่งผลต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรมของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาคสาขา ในสังกัด การประปาส่วนภูมิภาคเขต 5 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถอธิบายการ แปรผันการเป็นองค์กรนวัตกรรมของพนักงาน ได้ร้อยละ 74.30\u0000สรุปผล: ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าเจ้าหน้าที่การประปาส่วนภูมิภาคเขต 5 แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญที่โดดเด่น ในการจัดการความรู้ ซึ่งส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมที่เพิ่มขึ้นในด้านต่างๆ เช่น การบริการ กระบวนการ และผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ที่มีอยู่ระหว่างการจัดการความรู้และนวัตกรรมขององค์กรยังเน้นย้ำถึงหน้าที่สำคัญของการนำความรู้ไปใช้ในการส่งเสริมนวัตกรรมภายใต้กรอบของการประปาส่วนภูมิภาค","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":" 6","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-06-08","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141369031","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล ในการป้องกันและควบคุม โรค COVID-19 ตำบลผาสุก อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล ในการป้องกันและควบคุม โรค COVID-19 ตำบลผาสุก อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-06-08 DOI: 10.60027/iarj.2024.273888
อาภากานต์ คลื่นแก้ว, อัจฉรา จินวงษ์
{"title":"การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล ในการป้องกันและควบคุม โรค COVID-19 ตำบลผาสุก อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี","authors":"อาภากานต์ คลื่นแก้ว, อัจฉรา จินวงษ์","doi":"10.60027/iarj.2024.273888","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.273888","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขและระบบเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกระบวนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วม พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมและประเมินผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลในการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย: เก็บข้อมูลเชิงปริมาณในกลุ่มประชากรทั้งหมดของภาคีเครือข่ายคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลผาสุก โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง(Purposive selection) จำนวน 45 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตพฤติกรรมของผู้เข้าร่วม คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลผาสุก ได้แก่ นายกเทศมนตรีตำบลผาสุก, ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, กำนัน ซึ่งถูกคัดเลือกมาแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive selection) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง และได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) ได้ค่า IOC เท่ากับ 1 วิเคราะห์ความเชื่อมั่น (reliability) ด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (cronbach alpha coefficient) ผลการทดสอบของแบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่น (reliability) เท่ากับ 0.84 ส่วนในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และการวิเคราะห์การใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลในการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 ก่อนและหลัง โดยใช้สถิติ Paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูล (Content analysis) การจัดหมวดหมู่ตามประเด็นและปัญหา\u0000ผลการวิจัย: (1) ภาคีเครือข่าย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลผาสุกได้มีส่วนร่วมในการสำรวจชุมชนเพื่อการค้นหาปัญหาและสาเหตุของโรค เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโรคCOVID 19 ในชุมชนและเพื่อการวางแผนการป้องกันและควบคุมโรค COVID 19 ซึ่งหากเมื่อภาคีเครือข่าย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลผาสุก ได้ดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนนี้แล้วจะทำให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาของชุมชนได้อย่างถูกต้อง แล้วนำไปวางแผนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค COVID 19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลผาสุกในการป้องกันและควบคุมโรคโรค COVID 19 ที่ได้รับการพัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความตระหนักถึงปัญหาและสาเหตุโรค COVID 19 ขั้นตอนที่ 2 การจัดทำแผนการป้องกันและควบคุมโรค COVID 19 ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินงานป้องกันและควบคุม COVID 19 และขั้นตอนที่ 4 การติดตามและประเมินผลป้องกันและควบคุม COVID 19 (3) ผลการประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วนของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรค COVID 19 ทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก ซึ่งเมื่อนำไปใช้ในการดำเนินการแล้วมีผลทำให้งานป้องกันและควบคุมโรคมีความชัดเจนและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังส่งผลต่อการกำหนดกิจกรรมและติดตามประเมินผลอย่างมีประสิทธิภ","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":" 43","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-06-08","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141369978","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-06-07 DOI: 10.60027/iarj.2024.276386
กนกศักดิ์ ทินราช, วิภาดา ประสารทรัพย์
{"title":"ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง","authors":"กนกศักดิ์ ทินราช, วิภาดา ประสารทรัพย์","doi":"10.60027/iarj.2024.276386","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276386","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์ : การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง และ4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง\u0000ระเบียบวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กรุงเทพกลาง จำนวน 40 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้างานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หัวหน้างานวิชาการและครูในสถานศึกษา รวมทั้งสิ้น 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น .988 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน\u0000ผลการวิจัย : 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง โดยภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิผลการบริหารวิชาการ สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันและมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งมีค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง .657 ถึง .728 และ4) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีจัดการเรียนรู้และการเรียนการสอน การใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและประเมินผล ความเป็นผู้นำและวิสัยทัศน์ และการสนับสนุน ส่งเสริมและบูรณาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการ\u0000สรุปผล: มีค่าสหสัมพันธ์พหุคูณของตัวแปรเท่ากับ .690 ค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 47.60 ค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจากการพยากรณ์เท่ากับ .308 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน คือ     \u0000Y = 1.105 + 0.414X2 + 0.313X3 + 0.249X1 + 0.139X4\u0000 Z= 0.412Z2 + 0.330Z3 + 0.270Z1 + 0.142Z4","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":" 26","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-06-07","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141371013","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
นโยบายการลดขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste) : เครื่องมือการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน นโยบายการลดขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste) : เครื่องมือการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-06-07 DOI: 10.60027/iarj.2024.276206
สุรีย์พร สลับสี
{"title":"นโยบายการลดขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste) : เครื่องมือการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน","authors":"สุรีย์พร สลับสี","doi":"10.60027/iarj.2024.276206","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276206","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนมีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชากรและสภาพแวดล้อม โดยหนึ่งในวิธีการสำคัญคือการนำนโยบายการลดขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste) มาใช้ในกระบวนการพัฒนาเมือง นโยบายนี้เป็นการพัฒนาเมืองโดยสร้างระบบการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ช่วยลดปัญหามลพิษ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างโอกาสในการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การเติบโตของเมืองที่มีคุณภาพ ยั่งยืน และสมดุลกับสิ่งแวดล้อม จากการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนแนวคิด นำเสนอตัวอย่างการนำนโยบายการลดขยะเป็นศูนย์ไปใช้ทั้งในต่างประเทศและประเทศไทย และนำเสนอแนวทางการนำนโยบายดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาเมืองของประเทศไทย\u0000ระเบียบวิธีการศึกษา: การศึกษานี้ใช้การรวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการด้วยกระบวนการทบทวนวรรณกรรมจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาสกัดสังเคราะห์ข้อมูลและเรียบเรียงเป็นบทความ\u0000ผลการศึกษา: จากการศึกษา พบว่า การลดขยะเป็นศูนย์เป็นแนวคิดและนโยบายที่มุ่งหวังให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการสร้างขยะที่ไม่จำเป็นในทุกขั้นตอน ซึ่งจะช่วยจัดการทรัพยากร ลดปัญหามลพิษและสิ่งปฏิกูล และเสริมสร้างเมืองให้มีคุณภาพและยั่งยืน การนำนโยบายนี้มาใช้พัฒนาเมืองจะส่งผลให้เมืองเติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพในระยะยาว โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และการสร้างความตระหนักรู้ของประชาชน\u0000สรุปผล: นโยบายการจัดการขยะเป็นศูนย์เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการป้องกันการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งจะช่วยให้เมืองสามารถพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของนโยบายนี้ขึ้นอยู่กับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบการจัดการขยะ รวมถึงการกำหนดนโยบายและมาตรการสนับสนุนที่เหมาะสม","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":" 18","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-06-07","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141374467","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
เทคโนโลยีการบริหารสถานศึกษาเพื่อความปลอดภัย เทคโนโลยีการบริหารสถานศึกษาเพื่อความปลอดภัย
Interdisciplinary Academic and Research Journal Pub Date : 2024-06-07 DOI: 10.60027/iarj.2024.276222
สุนันทา จันทร์ชูกลิ่น, จำรัส แจ่มจันทร์, ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร
{"title":"เทคโนโลยีการบริหารสถานศึกษาเพื่อความปลอดภัย","authors":"สุนันทา จันทร์ชูกลิ่น, จำรัส แจ่มจันทร์, ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร","doi":"10.60027/iarj.2024.276222","DOIUrl":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276222","url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: เทคโนโลยีการบริหารสถานศึกษาเพื่อความปลอดภัยมีภูมิหลังที่สำคัญทั้งการป้องกันอันตรายภายนอกและภายในโรงเรียน โดยมุ่งเน้นการปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาความปลอดภัยของนักเรียนและบุคลากร วัตถุประสงค์สำคัญคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้แก่สมาชิกทุกคนในชุมชนการศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างการตรวจสอบและการระงับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ที่ปลอดภัยและเต็มไปด้วยความสุขในวงการการศึกษา\u0000ระเบียบวิธีการศึกษา: การศึกษาโนโลยีการบริหารสถานศึกษาเพื่อความปลอดภัยมีขั้นตอนและระเบียบวิธีที่สำคัญ เช่น การวิเคราะห์ความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยในโรงเรียน การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น ระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) หรือระบบการแจ้งเตือนฉุกเฉิน การอบรมและการสอนให้ความรู้แก่บุคลากรและนักเรียนเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัย การจัดทำแผนการปฏิบัติงานในกรณีฉุกเฉิน เป็นต้น โดยมุ่งเน้นการทำให้ผู้เกี่ยวข้องทุกคนเข้าใจและปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาความปลอดภัยและความเป็นสุขของทุกคนในสถานศึกษา\u0000ผลการศึกษา: การบริหารสถานศึกษาด้วยเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยเป็นการพัฒนาเครื่องมือและระบบที่ช่วยให้การบริหารจัดการสถานศึกษามีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น กล้องวงจรปิด (CCTV) ระบบบันทึกข้อมูลอัตโนมัติ ระบบเข้าถึงที่มีการยืนยันตัวตน หรือระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติ เพื่อช่วยลดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในสถานศึกษา ทำให้ผู้บริหารสามารถดูแลและควบคุมสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น การสร้างเทคโนโลยีการบริหารสถานศึกษาเพื่อความปลอดภัยเป็นส่วนสำคัญในการให้ความสำคัญต่อความเจริญของสถานศึกษาและความเชื่อมั่นของประชาชนในการให้บริการทางการศึกษา\u0000สรุปผล: การใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในสถาบันการศึกษา เช่น การควบคุมการเข้าถึง กล้องวงจรปิด และระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติ ช่วยสร้างความไว้วางใจในคุณภาพการศึกษาที่มอบให้และสนับสนุนความสำเร็จของสถาบัน","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":" 18","pages":""},"PeriodicalIF":0.0,"publicationDate":"2024-06-07","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":null,"resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":"141375324","PeriodicalName":null,"FirstCategoryId":null,"ListUrlMain":null,"RegionNum":0,"RegionCategory":"","ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":"","EPubDate":null,"PubModel":null,"JCR":null,"JCRName":null,"Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
0
×
引用
GB/T 7714-2015
复制
MLA
复制
APA
复制
导出至
BibTeX EndNote RefMan NoteFirst NoteExpress
×
提示
您的信息不完整,为了账户安全,请先补充。
现在去补充
×
提示
您因"违规操作"
具体请查看互助需知
我知道了
×
提示
确定
请完成安全验证×
相关产品
×
本文献相关产品
联系我们:info@booksci.cn Book学术提供免费学术资源搜索服务,方便国内外学者检索中英文文献。致力于提供最便捷和优质的服务体验。 Copyright © 2023 布克学术 All rights reserved.
京ICP备2023020795号-1
ghs 京公网安备 11010802042870号
Book学术文献互助
Book学术文献互助群
群 号:481959085
Book学术官方微信