{"title":"ระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง","authors":"อรอุมา ธรรมดี","doi":"10.14416/j.ted.2024.03.007","DOIUrl":null,"url":null,"abstract":"การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ 2) ศึกษาระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ และ 3) เปรียบเทียบระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ จำแนกตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 187 คน โดยเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.61 เป็นเพศหญิง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในช่วง 3.51-4.00 คิดเป็นร้อยละ 51.87 โดยผู้ปกครองของนักเรียนมีการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 57.22 ซึ่งรายได้ของครอบครัวอยู่ที่ประมาณเดือนละมากกว่า 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 52.94 และผู้ปกครองของนักเรียนรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ 24.60 2) ระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความสุขอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การมองโลกใน รองลงมาคือ ด้านความสามารถในการปรับตัวเข้ากับบรรยากาศในการเรียน และน้อยที่สุดคือ ด้านความภูมิใจในตนเอง และ 3) การเปรียบเทียบระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ จำแนกตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน มีระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05","PeriodicalId":120890,"journal":{"name":"Journal Of Technical Education Development","volume":"32 3","pages":""},"PeriodicalIF":0.0000,"publicationDate":"2024-03-01","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":"0","resultStr":"{\"title\":\"ระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง\",\"authors\":\"อรอุมา ธรรมดี\",\"doi\":\"10.14416/j.ted.2024.03.007\",\"DOIUrl\":null,\"url\":null,\"abstract\":\"การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ 2) ศึกษาระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ และ 3) เปรียบเทียบระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ จำแนกตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 187 คน โดยเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.61 เป็นเพศหญิง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในช่วง 3.51-4.00 คิดเป็นร้อยละ 51.87 โดยผู้ปกครองของนักเรียนมีการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 57.22 ซึ่งรายได้ของครอบครัวอยู่ที่ประมาณเดือนละมากกว่า 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 52.94 และผู้ปกครองของนักเรียนรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ 24.60 2) ระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความสุขอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การมองโลกใน รองลงมาคือ ด้านความสามารถในการปรับตัวเข้ากับบรรยากาศในการเรียน และน้อยที่สุดคือ ด้านความภูมิใจในตนเอง และ 3) การเปรียบเทียบระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ จำแนกตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน มีระดับความสุขในการเรียนยุควิถีชีวิตใหม่ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\",\"PeriodicalId\":120890,\"journal\":{\"name\":\"Journal Of Technical Education Development\",\"volume\":\"32 3\",\"pages\":\"\"},\"PeriodicalIF\":0.0000,\"publicationDate\":\"2024-03-01\",\"publicationTypes\":\"Journal Article\",\"fieldsOfStudy\":null,\"isOpenAccess\":false,\"openAccessPdf\":\"\",\"citationCount\":\"0\",\"resultStr\":null,\"platform\":\"Semanticscholar\",\"paperid\":null,\"PeriodicalName\":\"Journal Of Technical Education Development\",\"FirstCategoryId\":\"1085\",\"ListUrlMain\":\"https://doi.org/10.14416/j.ted.2024.03.007\",\"RegionNum\":0,\"RegionCategory\":null,\"ArticlePicture\":[],\"TitleCN\":null,\"AbstractTextCN\":null,\"PMCID\":null,\"EPubDate\":\"\",\"PubModel\":\"\",\"JCR\":\"\",\"JCRName\":\"\",\"Score\":null,\"Total\":0}","platform":"Semanticscholar","paperid":null,"PeriodicalName":"Journal Of Technical Education Development","FirstCategoryId":"1085","ListUrlMain":"https://doi.org/10.14416/j.ted.2024.03.007","RegionNum":0,"RegionCategory":null,"ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":null,"EPubDate":"","PubModel":"","JCR":"","JCRName":"","Score":null,"Total":0}
引用次数: 0