{"title":"ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ด้านการยอมรับสำหรับเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย","authors":"วรัท พันธุ์พิศุทธิ์ชัย, ธีรารัตน์ วรพิเชฐ","doi":"10.60101/mmr.2023.267076","DOIUrl":null,"url":null,"abstract":"งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ด้านการยอมรับสำหรับเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย มีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เป็นจำนวน 422 ตัวอย่าง โดยใช้สถิติ การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม (t-test) การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 กลุ่ม (F-test) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ จากการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเพศชายร้อยละ 49.3 และเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.7 โดยส่วนมากมีอายุในช่วง 50 - 59 ปี คิดเป็นร้อยละ 28.2 มีระดับรายได้อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 39.8 ซึ่งอยู่ในช่วง 35,000 - 75,000 บาท ประกอบอาชีพเป็นพนักงานหรือผู้บริหารบริษัทเอกชนร้อยละ 36.7 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าเป็นร้อยละ 55 เป็นผู้สมรสแล้วคิดเป็นร้อยละ 48.8 และมีสมาชิกที่อาศัยร่วมกัน 3 - 5 คน คิดเป็นร้อยละ 46.2 และจากผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคที่มีอาชีพ ระดับการศึกษา และวัตถุประสงค์หลักในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าที่แตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยของการรับรู้ว่ามีประโยชน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านของผู้บริโภคที่มีเพศและความถี่ในการใช้รถยนต์ต่อสัปดาห์ที่แตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยของการรับรู้ว่าง่ายต่อการใช้งานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการรับรู้เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าทั้งในด้านการรับรู้ว่ามีประโยชน์และการรับรู้ว่าง่ายต่อการใช้งานโดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ","PeriodicalId":506335,"journal":{"name":"วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี","volume":"44 ","pages":""},"PeriodicalIF":0.0000,"publicationDate":"2023-12-18","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":"0","resultStr":"{\"title\":\"ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ด้านการยอมรับสำหรับเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย\",\"authors\":\"วรัท พันธุ์พิศุทธิ์ชัย, ธีรารัตน์ วรพิเชฐ\",\"doi\":\"10.60101/mmr.2023.267076\",\"DOIUrl\":null,\"url\":null,\"abstract\":\"งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ด้านการยอมรับสำหรับเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย มีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เป็นจำนวน 422 ตัวอย่าง โดยใช้สถิติ การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม (t-test) การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 กลุ่ม (F-test) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ จากการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเพศชายร้อยละ 49.3 และเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.7 โดยส่วนมากมีอายุในช่วง 50 - 59 ปี คิดเป็นร้อยละ 28.2 มีระดับรายได้อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 39.8 ซึ่งอยู่ในช่วง 35,000 - 75,000 บาท ประกอบอาชีพเป็นพนักงานหรือผู้บริหารบริษัทเอกชนร้อยละ 36.7 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าเป็นร้อยละ 55 เป็นผู้สมรสแล้วคิดเป็นร้อยละ 48.8 และมีสมาชิกที่อาศัยร่วมกัน 3 - 5 คน คิดเป็นร้อยละ 46.2 และจากผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคที่มีอาชีพ ระดับการศึกษา และวัตถุประสงค์หลักในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าที่แตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยของการรับรู้ว่ามีประโยชน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านของผู้บริโภคที่มีเพศและความถี่ในการใช้รถยนต์ต่อสัปดาห์ที่แตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยของการรับรู้ว่าง่ายต่อการใช้งานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการรับรู้เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าทั้งในด้านการรับรู้ว่ามีประโยชน์และการรับรู้ว่าง่ายต่อการใช้งานโดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ\",\"PeriodicalId\":506335,\"journal\":{\"name\":\"วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี\",\"volume\":\"44 \",\"pages\":\"\"},\"PeriodicalIF\":0.0000,\"publicationDate\":\"2023-12-18\",\"publicationTypes\":\"Journal Article\",\"fieldsOfStudy\":null,\"isOpenAccess\":false,\"openAccessPdf\":\"\",\"citationCount\":\"0\",\"resultStr\":null,\"platform\":\"Semanticscholar\",\"paperid\":null,\"PeriodicalName\":\"วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี\",\"FirstCategoryId\":\"1085\",\"ListUrlMain\":\"https://doi.org/10.60101/mmr.2023.267076\",\"RegionNum\":0,\"RegionCategory\":null,\"ArticlePicture\":[],\"TitleCN\":null,\"AbstractTextCN\":null,\"PMCID\":null,\"EPubDate\":\"\",\"PubModel\":\"\",\"JCR\":\"\",\"JCRName\":\"\",\"Score\":null,\"Total\":0}","platform":"Semanticscholar","paperid":null,"PeriodicalName":"วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี","FirstCategoryId":"1085","ListUrlMain":"https://doi.org/10.60101/mmr.2023.267076","RegionNum":0,"RegionCategory":null,"ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":null,"EPubDate":"","PubModel":"","JCR":"","JCRName":"","Score":null,"Total":0}
引用次数: 0