{"title":"ปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ ภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์","authors":"ณปภัช ทรวงโพธิ์, นันทิมา นาคาพงศ์ อัศวรักษ์","doi":"10.60027/iarj.2024.277181","DOIUrl":null,"url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: บุคคลที่ประสบกับภาวะหมดไฟในการทำงานจะขาดแรงจูงใจ ท้อแท้และเหนื่อยหน่ายในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลเสียทั้งต่อบุคคลและองค์กร การเสริมสร้างพลังอำนาจ เป็นแนวคิดที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุนให้บุคคลเห็นคุณค่าของเป้าหมายการทำงาน ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจนั้นมีผลทั้งในด้านจิตใจและศักยภาพการทำงานและส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ 2) เพื่อศึกษาระดับของภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ และ 4) เพื่อศึกษาผลการพยากรณ์ของปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์\nระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้ช่วย ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 148 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota sampling) ตามสัดส่วนของครูผู้ช่วยแต่ละสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.968 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression)\nผลการวิจัย: 1) ผลการศึกษาระดับของปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ทุกปัจจัยอยู่ในระดับมาก ซึ่งปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การส่งเสริมให้มีโอกาสก้าวหน้า อยู่ในระดับมากและปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การได้รับข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับมาก 2) ผลการศึกษาระดับของภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความอ่อนล้าทางอารมณ์ อยู่ในระดับน้อยและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการลดความสำเร็จส่วนบุคคล อยู่ในระดับน้อย 3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง -0.198 ถึง -0.539 4) ผลการพยากรณ์ของปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ พบว่า การสนับสนุนให้มีความรู้และทักษะ (X3) การส่งเสริมให้มีโอกาสก้าวหน้า (X4) และการจัดสรรทรัพยากร (X1) สามารถร่วมกันอธิบายภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ (Y) ได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าอำนาจการพยากรณ์ได้ร้อยละ 41.40 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามลำดับ ดังนี้\n สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ\n = 5.021 - 0.330X3 - 0.231X4 - 0.204X1\n สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน\n y = - 0.377Zx3 - 0.235Zx4 - 0.213Zx1\nสรุปผล: การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ทุกปัจจัยอยู่ในระดับมาก และภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ทั้งยังพบว่าตัวแปรมีความสัมพันธ์เชิงลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยการสนับสนุนให้มีความรู้และทักษะ การส่งเสริมให้มีโอกาสก้าวหน้า และการจัดสรรทรัพยากร สามารถร่วมกันอธิบายภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าอำนาจการพยากรณ์ได้ร้อยละ 41.40","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"12 10","pages":""},"PeriodicalIF":0.0000,"publicationDate":"2024-07-25","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":"0","resultStr":"{\"title\":\"ปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ ภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์\",\"authors\":\"ณปภัช ทรวงโพธิ์, นันทิมา นาคาพงศ์ อัศวรักษ์\",\"doi\":\"10.60027/iarj.2024.277181\",\"DOIUrl\":null,\"url\":null,\"abstract\":\"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: บุคคลที่ประสบกับภาวะหมดไฟในการทำงานจะขาดแรงจูงใจ ท้อแท้และเหนื่อยหน่ายในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลเสียทั้งต่อบุคคลและองค์กร การเสริมสร้างพลังอำนาจ เป็นแนวคิดที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุนให้บุคคลเห็นคุณค่าของเป้าหมายการทำงาน ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจนั้นมีผลทั้งในด้านจิตใจและศักยภาพการทำงานและส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ 2) เพื่อศึกษาระดับของภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ และ 4) เพื่อศึกษาผลการพยากรณ์ของปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์\\nระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้ช่วย ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 148 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota sampling) ตามสัดส่วนของครูผู้ช่วยแต่ละสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.968 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression)\\nผลการวิจัย: 1) ผลการศึกษาระดับของปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ทุกปัจจัยอยู่ในระดับมาก ซึ่งปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การส่งเสริมให้มีโอกาสก้าวหน้า อยู่ในระดับมากและปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การได้รับข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับมาก 2) ผลการศึกษาระดับของภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความอ่อนล้าทางอารมณ์ อยู่ในระดับน้อยและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการลดความสำเร็จส่วนบุคคล อยู่ในระดับน้อย 3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง -0.198 ถึง -0.539 4) ผลการพยากรณ์ของปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ พบว่า การสนับสนุนให้มีความรู้และทักษะ (X3) การส่งเสริมให้มีโอกาสก้าวหน้า (X4) และการจัดสรรทรัพยากร (X1) สามารถร่วมกันอธิบายภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ (Y) ได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าอำนาจการพยากรณ์ได้ร้อยละ 41.40 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามลำดับ ดังนี้\\n สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ\\n = 5.021 - 0.330X3 - 0.231X4 - 0.204X1\\n สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน\\n y = - 0.377Zx3 - 0.235Zx4 - 0.213Zx1\\nสรุปผล: การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ทุกปัจจัยอยู่ในระดับมาก และภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ทั้งยังพบว่าตัวแปรมีความสัมพันธ์เชิงลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยการสนับสนุนให้มีความรู้และทักษะ การส่งเสริมให้มีโอกาสก้าวหน้า และการจัดสรรทรัพยากร สามารถร่วมกันอธิบายภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าอำนาจการพยากรณ์ได้ร้อยละ 41.40\",\"PeriodicalId\":505621,\"journal\":{\"name\":\"Interdisciplinary Academic and Research Journal\",\"volume\":\"12 10\",\"pages\":\"\"},\"PeriodicalIF\":0.0000,\"publicationDate\":\"2024-07-25\",\"publicationTypes\":\"Journal Article\",\"fieldsOfStudy\":null,\"isOpenAccess\":false,\"openAccessPdf\":\"\",\"citationCount\":\"0\",\"resultStr\":null,\"platform\":\"Semanticscholar\",\"paperid\":null,\"PeriodicalName\":\"Interdisciplinary Academic and Research Journal\",\"FirstCategoryId\":\"1085\",\"ListUrlMain\":\"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277181\",\"RegionNum\":0,\"RegionCategory\":null,\"ArticlePicture\":[],\"TitleCN\":null,\"AbstractTextCN\":null,\"PMCID\":null,\"EPubDate\":\"\",\"PubModel\":\"\",\"JCR\":\"\",\"JCRName\":\"\",\"Score\":null,\"Total\":0}","platform":"Semanticscholar","paperid":null,"PeriodicalName":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","FirstCategoryId":"1085","ListUrlMain":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277181","RegionNum":0,"RegionCategory":null,"ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":null,"EPubDate":"","PubModel":"","JCR":"","JCRName":"","Score":null,"Total":0}
引用次数: 0