{"title":"การศึกษาความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวิชูทิศ","authors":"ทักษิณา ชัยชนะ, จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ, ดารุณี ทิพยกุลไพโรจน์","doi":"10.60027/iarj.2024.276464","DOIUrl":null,"url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ทักษะการพูดเป็นทักษะที่สำคัญในการสื่อสาร เนื่องจากเป็นทักษะเบื้องต้นที่ใช้ในการสื่อสารและการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งมีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษ ซึ่งความวิตกกังวลในเรื่องการพูดนี้เป็นที่ยอมรับกันว่ามีผลต่อการแสดงออกต่อการพูดของผู้เรียน ความรู้สึกวิตกกังวลความประหม่าเป็นเรื่องที่พบเห็นโดยปกติในการเรียนภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวิชูทิศ สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร และ (2) เปรียบเทียบ ความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวิชูทิศ สำนักงาน เขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร ระหว่างนักเรียนที่เรียนในแผนการเรียนแบบปกติและแผนการเรียน แบบภาษาอังกฤษ\nระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2566 จำนวน 186 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษ แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสถิติทดสอบทีสำหรับเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน\nผลการวิจัย: (1) นักเรียนที่เรียนในแผนการเรียนแบบปกติ มีความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับรุนแรง (2) นักเรียนที่เรียนแผนการเรียนแบบภาษาอังกฤษมีความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับต่ำมาก (3) ความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนวิชูทิศ ระหว่างนักเรียนที่เรียนในแผนการเรียนแบบปกติและแผนการเรียนแบบภาษาอังกฤษโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \nสรุปผล: เมื่อพูดภาษาอังกฤษ นักเรียนที่ปฏิบัติตามแผนการเรียนตามปกติจะมีระดับความวิตกกังวลสูงกว่านักเรียนที่ปฏิบัติตามแผนการเรียนภาษาอังกฤษโดยเฉพาะ แสดงให้เห็นว่าการศึกษาภาษาเฉพาะทางมีประสิทธิภาพในการลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาษาของนักเรียนโรงเรียนวิชุทิศ","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":" 9","pages":""},"PeriodicalIF":0.0000,"publicationDate":"2024-06-08","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":"0","resultStr":"{\"title\":\"การศึกษาความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวิชูทิศ\",\"authors\":\"ทักษิณา ชัยชนะ, จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ, ดารุณี ทิพยกุลไพโรจน์\",\"doi\":\"10.60027/iarj.2024.276464\",\"DOIUrl\":null,\"url\":null,\"abstract\":\"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ทักษะการพูดเป็นทักษะที่สำคัญในการสื่อสาร เนื่องจากเป็นทักษะเบื้องต้นที่ใช้ในการสื่อสารและการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งมีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษ ซึ่งความวิตกกังวลในเรื่องการพูดนี้เป็นที่ยอมรับกันว่ามีผลต่อการแสดงออกต่อการพูดของผู้เรียน ความรู้สึกวิตกกังวลความประหม่าเป็นเรื่องที่พบเห็นโดยปกติในการเรียนภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวิชูทิศ สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร และ (2) เปรียบเทียบ ความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวิชูทิศ สำนักงาน เขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร ระหว่างนักเรียนที่เรียนในแผนการเรียนแบบปกติและแผนการเรียน แบบภาษาอังกฤษ\\nระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2566 จำนวน 186 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษ แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสถิติทดสอบทีสำหรับเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน\\nผลการวิจัย: (1) นักเรียนที่เรียนในแผนการเรียนแบบปกติ มีความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับรุนแรง (2) นักเรียนที่เรียนแผนการเรียนแบบภาษาอังกฤษมีความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับต่ำมาก (3) ความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนวิชูทิศ ระหว่างนักเรียนที่เรียนในแผนการเรียนแบบปกติและแผนการเรียนแบบภาษาอังกฤษโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \\nสรุปผล: เมื่อพูดภาษาอังกฤษ นักเรียนที่ปฏิบัติตามแผนการเรียนตามปกติจะมีระดับความวิตกกังวลสูงกว่านักเรียนที่ปฏิบัติตามแผนการเรียนภาษาอังกฤษโดยเฉพาะ แสดงให้เห็นว่าการศึกษาภาษาเฉพาะทางมีประสิทธิภาพในการลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาษาของนักเรียนโรงเรียนวิชุทิศ\",\"PeriodicalId\":505621,\"journal\":{\"name\":\"Interdisciplinary Academic and Research Journal\",\"volume\":\" 9\",\"pages\":\"\"},\"PeriodicalIF\":0.0000,\"publicationDate\":\"2024-06-08\",\"publicationTypes\":\"Journal Article\",\"fieldsOfStudy\":null,\"isOpenAccess\":false,\"openAccessPdf\":\"\",\"citationCount\":\"0\",\"resultStr\":null,\"platform\":\"Semanticscholar\",\"paperid\":null,\"PeriodicalName\":\"Interdisciplinary Academic and Research Journal\",\"FirstCategoryId\":\"1085\",\"ListUrlMain\":\"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276464\",\"RegionNum\":0,\"RegionCategory\":null,\"ArticlePicture\":[],\"TitleCN\":null,\"AbstractTextCN\":null,\"PMCID\":null,\"EPubDate\":\"\",\"PubModel\":\"\",\"JCR\":\"\",\"JCRName\":\"\",\"Score\":null,\"Total\":0}","platform":"Semanticscholar","paperid":null,"PeriodicalName":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","FirstCategoryId":"1085","ListUrlMain":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276464","RegionNum":0,"RegionCategory":null,"ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":null,"EPubDate":"","PubModel":"","JCR":"","JCRName":"","Score":null,"Total":0}
引用次数: 0