{"title":"泰国影响生命周期的自然光评估标准的使用指南","authors":"จิณห์วรา อรัณย์ชนายุธ, อวิรุทธ์ ศรีสุธาพรรณ","doi":"10.56261/jars.v18i1.236649","DOIUrl":null,"url":null,"abstract":"แนวทางการออกแบบและเกณฑ์ในการประเมินเรื่องแสงที่มีผลต่อนาฬิกาชีวิต (Circadian Lighting) ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่มีการศึกษาและพัฒนามาจากต่างประเทศ ซึ่งยังไม่ได้มีการศึกษาถึงความสอดคล้องและเหมาะสมในการนำมาประยุกต์ใช้งานในประเทศไทย ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการใช้เกณฑ์การออกแบบแสงธรรมชาติที่มีผลต่อนาฬิกาชีวิตในสภาพแสงอาทิตย์ของประเทศไทย เพื่อช่วยให้ผู้ออกแบบเกิดความเข้าใจในการใช้เกณฑ์มากขึ้น เห็นถึงผลการประเมินจากการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน และ เป็นแนวทางในการนำไปใช้ในงานออกแบบต่อไป โดยใช้แบบจำลองที่มีอัตราส่วน 1:1 1:2 และ 2:1 ภายใต้ท้องฟ้าครึ้มและท้องฟ้าโปร่งด้วยโปรแกรม DIALux evo เพื่อนำไปคำนวณปริมาณ CS และ EML\nผลการศึกษาพบว่า ในการใช้แสงธรรมชาติเพื่อทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมกับนาฬิกาชีวิตนั้นจะต้องทำให้ความส่องสว่างในแนวราบมีค่าสูงกว่าค่าความส่องสว่างเฉลี่ยที่ใช้งานโดยทั่วไป จึงจะสามารถผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำได้ คือ เกณฑ์การประเมิน CS (Circadian Stimulus) ต้องทำให้มีความส่องสว่างเฉลี่ยในแนวราบอย่างน้อย 935 ลักซ์ ในช่วงเวลา 8:00 น. - 12:00 น. เพื่อให้ทุกพื้นที่มีปริมาณ CS อย่างน้อย 0.3 และ 394 ลักซ์ ในช่วงเวลา 17:00 น. เพื่อให้ทุกพื้นที่มีปริมาณ CS อย่างน้อย 0.2 และสำหรับเกณฑ์การประเมิน EML (Equivalent Melanopic Lux) จะต้องทำให้มีความส่องสว่างเฉลี่ยในแนวราบอย่างน้อย 772 และ 1197 ลักซ์ ตลอดทั้งวัน เพื่อให้ทุกพื้นที่มีปริมาณ EML อย่างน้อย 150 EML สำหรับการทำคะแนน 1 คะแนน และ 240 EML สำหรับการทำคะแนน 3 คะแนน ตามลำดับ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นค่าที่ค่อนข้างสูงจนอาจทำให้เกิดความไม่สบายตาจากแสงจ้าได้ รวมถึงผลที่เกิดขึ้นในเรื่องการใช้พลังงานของระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับแนวทางการใช้แสงธรรมชาติในประเทศไทย มีปริมาณแสงที่เพียงพอต่อการใช้งานให้เกิดความเหมาะสมกับนาฬิกาชีวิตได้ในระยะ 1.5 - 3.0 ม. จากริมช่องเปิด สำหรับเกณฑ์การประเมิน CS ระยะ 1.0 – 2.0 ม. จากริมช่องเปิด สำหรับเกณฑ์การประเมิน EML ที่ทำคะแนน 1 คะแนน และระยะ 0.5 – 1.0 ม. จากริมช่องเปิด สำหรับเกณฑ์การประเมิน EML ที่ทำคะแนน 3 คะแนน ซึ่งไม่สามารถครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของห้องได้ อย่างไรก็ดี การใช้วิธีการกำหนดทิศทางการนั่งโดยการหันหน้าเข้าหาช่องเปิดจะสามารถช่วยให้ผู้ใช้อาคารส่วนหนึ่งที่นั่งอยู่ในส่วนลึกของอาคารสามารถได้รับแสงธรรมชาติที่มีความเหมาะสมกับนาฬิกาชีวิตได้ จะเห็นได้ว่าจากความแตกต่างของวิธีการและเกณฑ์ประเมินผลของเกณฑ์ CS และ EML ส่งผลให้การเลือกใช้เกณฑ์ในการประเมินมีผลต่อขอบเขตพื้นที่ที่สามารถใช้แสงธรรมชาติได้ นำไปสู่การจัดพื้นที่ใช้งานภายในอาคารที่แตกต่างกันด้วย อย่างไรก็ดีในการประเมินของเกณฑ์ทั้ง 2 มีการกำหนดให้ทุกพื้นที่ต้องมีปริมาณแสงขั้นต่ำตามที่กำหนดจึงจะทำให้ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งการใช้แสงประดิษฐ์ร่วมด้วยจะทำให้มีพื้นที่ที่ผ่านเกณฑ์ และ เกิดความเหมาะสมกับนาฬิกาชีวิตได้มากขึ้น","PeriodicalId":428713,"journal":{"name":"Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)","volume":"431 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0000,"publicationDate":"2021-01-06","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":"0","resultStr":"{\"title\":\"แนวทางการใช้เกณฑ์การประเมินแสงธรรมชาติที่มีผลต่อนาฬิกาชีวิตในประเทศไทย\",\"authors\":\"จิณห์วรา อรัณย์ชนายุธ, อวิรุทธ์ ศรีสุธาพรรณ\",\"doi\":\"10.56261/jars.v18i1.236649\",\"DOIUrl\":null,\"url\":null,\"abstract\":\"แนวทางการออกแบบและเกณฑ์ในการประเมินเรื่องแสงที่มีผลต่อนาฬิกาชีวิต (Circadian Lighting) ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่มีการศึกษาและพัฒนามาจากต่างประเทศ ซึ่งยังไม่ได้มีการศึกษาถึงความสอดคล้องและเหมาะสมในการนำมาประยุกต์ใช้งานในประเทศไทย ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการใช้เกณฑ์การออกแบบแสงธรรมชาติที่มีผลต่อนาฬิกาชีวิตในสภาพแสงอาทิตย์ของประเทศไทย เพื่อช่วยให้ผู้ออกแบบเกิดความเข้าใจในการใช้เกณฑ์มากขึ้น เห็นถึงผลการประเมินจากการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน และ เป็นแนวทางในการนำไปใช้ในงานออกแบบต่อไป โดยใช้แบบจำลองที่มีอัตราส่วน 1:1 1:2 และ 2:1 ภายใต้ท้องฟ้าครึ้มและท้องฟ้าโปร่งด้วยโปรแกรม DIALux evo เพื่อนำไปคำนวณปริมาณ CS และ EML\\nผลการศึกษาพบว่า ในการใช้แสงธรรมชาติเพื่อทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมกับนาฬิกาชีวิตนั้นจะต้องทำให้ความส่องสว่างในแนวราบมีค่าสูงกว่าค่าความส่องสว่างเฉลี่ยที่ใช้งานโดยทั่วไป จึงจะสามารถผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำได้ คือ เกณฑ์การประเมิน CS (Circadian Stimulus) ต้องทำให้มีความส่องสว่างเฉลี่ยในแนวราบอย่างน้อย 935 ลักซ์ ในช่วงเวลา 8:00 น. - 12:00 น. เพื่อให้ทุกพื้นที่มีปริมาณ CS อย่างน้อย 0.3 และ 394 ลักซ์ ในช่วงเวลา 17:00 น. เพื่อให้ทุกพื้นที่มีปริมาณ CS อย่างน้อย 0.2 และสำหรับเกณฑ์การประเมิน EML (Equivalent Melanopic Lux) จะต้องทำให้มีความส่องสว่างเฉลี่ยในแนวราบอย่างน้อย 772 และ 1197 ลักซ์ ตลอดทั้งวัน เพื่อให้ทุกพื้นที่มีปริมาณ EML อย่างน้อย 150 EML สำหรับการทำคะแนน 1 คะแนน และ 240 EML สำหรับการทำคะแนน 3 คะแนน ตามลำดับ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นค่าที่ค่อนข้างสูงจนอาจทำให้เกิดความไม่สบายตาจากแสงจ้าได้ รวมถึงผลที่เกิดขึ้นในเรื่องการใช้พลังงานของระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับแนวทางการใช้แสงธรรมชาติในประเทศไทย มีปริมาณแสงที่เพียงพอต่อการใช้งานให้เกิดความเหมาะสมกับนาฬิกาชีวิตได้ในระยะ 1.5 - 3.0 ม. จากริมช่องเปิด สำหรับเกณฑ์การประเมิน CS ระยะ 1.0 – 2.0 ม. จากริมช่องเปิด สำหรับเกณฑ์การประเมิน EML ที่ทำคะแนน 1 คะแนน และระยะ 0.5 – 1.0 ม. จากริมช่องเปิด สำหรับเกณฑ์การประเมิน EML ที่ทำคะแนน 3 คะแนน ซึ่งไม่สามารถครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของห้องได้ อย่างไรก็ดี การใช้วิธีการกำหนดทิศทางการนั่งโดยการหันหน้าเข้าหาช่องเปิดจะสามารถช่วยให้ผู้ใช้อาคารส่วนหนึ่งที่นั่งอยู่ในส่วนลึกของอาคารสามารถได้รับแสงธรรมชาติที่มีความเหมาะสมกับนาฬิกาชีวิตได้ จะเห็นได้ว่าจากความแตกต่างของวิธีการและเกณฑ์ประเมินผลของเกณฑ์ CS และ EML ส่งผลให้การเลือกใช้เกณฑ์ในการประเมินมีผลต่อขอบเขตพื้นที่ที่สามารถใช้แสงธรรมชาติได้ นำไปสู่การจัดพื้นที่ใช้งานภายในอาคารที่แตกต่างกันด้วย อย่างไรก็ดีในการประเมินของเกณฑ์ทั้ง 2 มีการกำหนดให้ทุกพื้นที่ต้องมีปริมาณแสงขั้นต่ำตามที่กำหนดจึงจะทำให้ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งการใช้แสงประดิษฐ์ร่วมด้วยจะทำให้มีพื้นที่ที่ผ่านเกณฑ์ และ เกิดความเหมาะสมกับนาฬิกาชีวิตได้มากขึ้น\",\"PeriodicalId\":428713,\"journal\":{\"name\":\"Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)\",\"volume\":\"431 1\",\"pages\":\"0\"},\"PeriodicalIF\":0.0000,\"publicationDate\":\"2021-01-06\",\"publicationTypes\":\"Journal Article\",\"fieldsOfStudy\":null,\"isOpenAccess\":false,\"openAccessPdf\":\"\",\"citationCount\":\"0\",\"resultStr\":null,\"platform\":\"Semanticscholar\",\"paperid\":null,\"PeriodicalName\":\"Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)\",\"FirstCategoryId\":\"1085\",\"ListUrlMain\":\"https://doi.org/10.56261/jars.v18i1.236649\",\"RegionNum\":0,\"RegionCategory\":null,\"ArticlePicture\":[],\"TitleCN\":null,\"AbstractTextCN\":null,\"PMCID\":null,\"EPubDate\":\"\",\"PubModel\":\"\",\"JCR\":\"\",\"JCRName\":\"\",\"Score\":null,\"Total\":0}","platform":"Semanticscholar","paperid":null,"PeriodicalName":"Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)","FirstCategoryId":"1085","ListUrlMain":"https://doi.org/10.56261/jars.v18i1.236649","RegionNum":0,"RegionCategory":null,"ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":null,"EPubDate":"","PubModel":"","JCR":"","JCRName":"","Score":null,"Total":0}
引用次数: 0