{"title":"การแสดงบทบาททางอัตลักษณ์ในการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยของตึกแถวบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์","authors":"พีรยา บุญประสงค์","doi":"10.56261/jars.v19i1.242914","DOIUrl":null,"url":null,"abstract":"โครงการวิจัยการแปรเปลี่ยนของอัตลักษณ์ กรณีศึกษาตึกแถวในกรุงรัตนโกสินทร์ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยมีเป้าหมายในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของถิ่นที่ โดยการทำความเข้าใจกระบวนการก่อรูปของอัตลักษณ์ภายใต้สภาวการณ์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิต กิจกรรม และการให้ความหมายที่มีต่อตึกแถว โครงการวิจัยนี้ดำเนินการโดยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการสร้างทฤษฎี โดยการเก็บข้อมูลทางกายภาพ การสังเกตพฤติกรรมการแสดงออก และการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อทำความเข้าใจทัศนคติของผู้อาศัยในถิ่นที่ในการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ตลอดจนทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์เหตุปัจจัยที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการสร้างสรรค์กิจกรรมการใช้สอยที่เกิดขึ้นในตึกแถว โดยอภิปรายการกระทำและกิจกรรมที่สัมพันธ์กับการแสดงบทบาททางอัตลักษณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการการเปลี่ยนแปลงการใช้สอย จากการวิเคราะห์ขั้นตอนการดำเนินงานของกรณีศึกษาตัวแทน สามารถสรุปได้ว่า การแปรเปลี่ยนอัตลักษณ์ของถิ่นที่ในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์มีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมการใช้สอยของตึกแถวใน 3 แนวทาง คือ การดำรงอยู่ของอัตลักษณ์ การแปรเปลี่ยนของอัตลักษณ์ และการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ ซึ่งแตกต่างกันตามความสามารถของบุคคลและกลุ่มบุคคล ในการดำรงอยู่ ปรับตัว และสร้างสถานภาพของตนในถิ่นที่ของตึกแถว","PeriodicalId":428713,"journal":{"name":"Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)","volume":"11 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0000,"publicationDate":"2021-08-20","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":"0","resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":null,"PeriodicalName":"Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)","FirstCategoryId":"1085","ListUrlMain":"https://doi.org/10.56261/jars.v19i1.242914","RegionNum":0,"RegionCategory":null,"ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":null,"EPubDate":"","PubModel":"","JCR":"","JCRName":"","Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
身份证明在Ratangosin附近建筑的使用变化
本研究的目标是通过对生活方式、活动和对生活方式的定性研究来理解居住环境变化的动态过程,从而解释居住环境的变化。通过收集物理数据、观察行为、表达和深入访谈,了解当地居民对环境变化的态度,并分析和综合导致改变的因素,并创造出社区活动。通过分析案例研究的每个阶段所涉及的身份角色的行为和活动,可以得出结论,在Ratchatenkochen地区,社区的身份变化是存在的,在三种方式中,身份变化是存在的。根据个人和群体的生存能力、适应能力和地位的不同,他们在街区的位置上形成自己的位置。
本文章由计算机程序翻译,如有差异,请以英文原文为准。