{"title":"แนวทางในการออกแบบและจัดการพื้นที่เพื่อส่งเสริมการรับรู้สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา: ชุมชนคลองแดน จังหวัดสงขลา และจังหวัดนครศรีธรรมราช","authors":"พิมพกานต์ ปัจจันตวิวัฒน์, บุญอนันต์ นทกุล","doi":"10.56261/jars.v19i2.247297","DOIUrl":null,"url":null,"abstract":"งานวิจัยนี้ศึกษาและวิเคราะห์การรับรู้สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมในชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์และมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยเลือกชุมชนคลองแดนเป็นกรณีศึกษา และเสนอแนะแนวทางในการออกแบบและจัดการพื้นที่ที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนภายในชุมชนดังกล่าว โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพผ่านการวาดแผนที่จินตภาพที่สะท้อนการรับรู้สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มจำนวน 17 คน ได้แก่ กลุ่มคนในชุมชนคลองแดนและกลุ่มคนนอกชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบกับการถ่ายภาพและการสัมภาษณ์เพื่อหาลักษณะเฉพาะทางกายภาพของสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมนั้น ๆ ต่อมานำผลการวิเคราะห์ในรูปแบบแผนที่ทางวัฒนธรรมกลับไปเปิดวงสนทนากลุ่มระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่เขียนแผนที่จินตภาพข้างต้น ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างสามารถรับรู้และจดจำพื้นที่ในชุมชนซึ่งสะท้อนสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม ที่ผ่านการมีส่วนร่วมกันในชุมชน โดยมีความแตกต่างระหว่างกลุ่มคนในและกลุ่มคนนอกชุมชน 2 ประเด็น คือ (1) การวาดแผนที่จินตภาพ และ (2) การลำดับความสำคัญของพื้นที่ โดยกลุ่มตัวอย่างสามารถรับรู้สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมทั้งจับต้องได้ จับต้องไม่ได้ และสิ่งที่ปรากฏเพียงในอดีต โดยสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมดังกล่าวสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ พื้นที่จุดศูนย์รวมหลัก (nodes) หรือพื้นที่ซึ่งถูกกล่าวถึงมากกว่าร้อยละ 25 ขึ้นไป และพื้นที่จุดศูนย์รวมย่อย (sub nodes) หรือพื้นที่ซึ่งถูกกล่าวถึงน้อยกว่าร้อยละ 25 ขึ้นไปโดยคุณลักษณะกายภาพในพื้นที่ศึกษาสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ทางกายภาพเพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการและออกแบบพื้นที่ที่ส่งเสริมการรับรู้สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนในชุมชนคลองแดน สุดท้ายนี้วิธีการวิเคราะห์และวิจัยการรับรู้สิ่งแวดล้อมทาวัฒนธรรมดังกล่าวอาจนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนและจัดการพื้นที่ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งชุมชนอื่น ๆ ในจังหวัดสงขลา และนครศรีธรรมราช และชุมชนในพื้นที่อื่น ๆ ที่ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยคนในชุมชน \n ","PeriodicalId":428713,"journal":{"name":"Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)","volume":"279 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0000,"publicationDate":"2022-06-23","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":"0","resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":null,"PeriodicalName":"Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)","FirstCategoryId":"1085","ListUrlMain":"https://doi.org/10.56261/jars.v19i2.247297","RegionNum":0,"RegionCategory":null,"ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":null,"EPubDate":"","PubModel":"","JCR":"","JCRName":"","Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
案例研究:丹运河社区、Nakhasakorn省和Nakhon Sriphanraj省的指导方针。
本文以丹运河社区为例,研究和分析了独特和潜在的旅游环境感知,并提出了设计和管理这些社区的旅游景点的建议。研究人员通过绘制反映两组17名样本的文化环境的虚图来收集定性数据。包括丹运河社区和社区以外的人,他们通过摄影和采访来了解文化环境的具体特征。然后,将文化地图的分析结果放回写着虚图的样本之间的群体对话中,研究结果表明,这些样本能够识别和识别反映社区参与的文化环境。有两个问题:(1)虚图绘制和(2)空间优先化,样本可以感知文化环境,无形的,过去只存在的。文化环境可以分为两类:主要的集中区域(Nodes)和次要的集中区域(sub nodes)或次要的集中区域(sub nodes)。最后,这种分析和研究文化感知的方法可以用于规划和管理该地区的旅游推广,包括Nakhon省的其他社区和Nakhon Srivasta市的其他社区,以及那些希望通过社区来促进文化旅游的社区。
本文章由计算机程序翻译,如有差异,请以英文原文为准。